รีเซต

SCGP ผลงานไตรมาส 1/68 โต รุกตลาดอาเซียน ตั้งรับมาตรการภาษี

SCGP ผลงานไตรมาส 1/68 โต รุกตลาดอาเซียน ตั้งรับมาตรการภาษี
TNN ช่อง16
29 เมษายน 2568 ( 17:50 )
10

นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP กล่าวว่า ภาพรวมในไตรมาสแรกของปี 2568 อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาเซียนเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม บรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งได้รับผลดีจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล การเตรียมสินค้าก่อนถึงวันหยุดในไทยและอินโดนีเซีย การฟื้นตัวของการท่องเที่ยว และการส่งออกสินค้าก่อนมาตรการภาษี อย่างไรก็ตามความต้องการบรรจุภัณฑ์บางส่วนในจีนและเวียดนามได้รับผลกระทบจากวันหยุดช่วงเทศกาลปีใหม่ ประกอบกับความต้องการในสินค้าคงทนที่ชะลอตัว จากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่จำกัดมากขึ้น


SCGP มุ่งเน้นการขายภายในประเทศภูมิภาคอาเซียน เพื่อตอบสนองความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น เพิ่มสัดส่วนกลุ่มบรรจุภัณฑ์อุปโภคบริโภค รวมถึงปรับกลยุทธ์การส่งออกกระดาษบรรจุภัณฑ์ไปยังประเทศต่างๆ ในอาเซียน เอเชียใต้ และตะวันออกกลางนอกจากนี้ SCGP สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการลดต้นทุนด้วยการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Machine Learning รวมถึงการจัดการต้นทุนพลังงานและวัตถุดิบกระดาษรีไซเคิล (RCP) ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 1 ปี 2568 มีรายได้จากการขาย 32,209 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3%  เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มี EBITDA เท่ากับ 4,232 ล้านบาท เพิ่มขึ้น  49% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และมีกำไรสำหรับงวดที่ 900 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน


สำหรับภาพรวมอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไตรมาส 2 ปี 2568 คาดว่าอาเซียนมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ความต้องการในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคยังคงเติบโต จากนโยบายกระตุ้นภายในประเทศ โดยคาดว่าการเติบโตของเศรษฐกิจ (GDP) จะเฉลี่ย  2- 7 % ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ โดยที่ยังคงสูงกว่าภูมิภาคอื่น และความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์กลุ่มสินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้นในช่วงก่อนการบังคับใช้มาตรการภาษีนำเข้า สำหรับต้นทุนวัตถุดิบกระดาษรีไซเคิล และค่าขนส่งมีแนวโน้มปรับขึ้นเล็กน้อย จากความต้องการในภูมิภาค ขณะที่ต้นทุนพลังงานมีแนวโน้มทรงตัว และมีความท้าทายจากภาคการส่งออกที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

สำหรับการรับมือจากมาตรการภาษี (Reciprocal Tariff) ของสหรัฐปรับขึ้นนั้น SCGP ได้เตรียมแผนเชิงรุก มุ่งปรับตัวรวดเร็วสร้างความสามารถและความได้เปรียบในการแข่งขันผ่านคุณภาพสินค้าความร่วมมือ สร้างความเป็นเลิศด้านการตลาด (Marketing Excellence) เพื่อส่งมอบสินค้า บริการและโซลูชันที่ตอบโจทย์ลูกค้า นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้เตรียมแผนการใช้ประโยชน์จากฐานการผลิตที่ตั้งอยู่ในหลายประเทศและความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วรวมถึงแผนการส่งออกสินค้าไปยังตลาดใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพสูง อีกทั้งยังมีการบูรณาการห่วงโซ่อุปทาน เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า และการจ้างผลิตเพื่อให้ได้ต้นทุนที่แข่งขันได้ เช่น การผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารในยุโรปตะวันออก 


นอกจากนี้ ยังเดินหน้ากลยุทธ์สร้างการเติบโตด้วยการมุ่งเน้นขยายตลาดในอาเซียน รวมถึงการเพิ่มโอกาสใหม่ในกลุ่มสินค้าบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้บริโภค เพื่อนำเสนอโซลูชันบรรจุภัณฑ์ครบวงจร โดยได้ร่วมลงทุนในบริษัทโฮวะ แพ็คเกจจิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ในสัดส่วนร้อยละ 25 กับ Howa Sangyo Company Limited เพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัวสำหรับอาหารสัตว์เลี้ยงชนิดเปียก ด้วยกำลังการผลิต 6,000 ตันต่อปี คาดว่าจะเริ่มการผลิตในเดือนมิถุนายนปีนี้ และเดินหน้ากลยุทธ์การเติบโตในตลาด Healthcare Supplies ด้วยการผสานความร่วมมือกับ Once Medical Company Limited (Once) นำความเชี่ยวชาญมาผลิตหลอดฉีดยาและเข็มฉีดยาที่บริษัทวีอีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัด (VEM-TH) ในประเทศไทย คาดว่าจะเริ่มการผลิตเชิงพาณิชย์ในเดือนมกราคม ปี 2569 ช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้ากระบอกฉีดยาและเข็มฉีดยาของประเทศไทย และเพิ่มโอกาสการขายผ่านช่องทางของ Deltalab, S.L.ในประเทศสเปนด้วย

บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส ระบุในบทวิเคราะห์ว่า SCGP รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 1/2568 ที่ 900 ล้านบาท หักขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน ( FX loss) 18 ล้านบาท จะเป็นกำไรปกติที่ 918 ล้านบาท ดีกว่าที่คาด 6% และดีกว่า Bloomberg consensus คาด 10% หลักๆ มาจากต้นทุนวัตถุที่ปรับลง แต่กำไรที่ลดลงเทียบปีก่อน เพราะไตรมาส 1/2567 เป็นช่วงที่การบริโภคในอาเซียนยังสดใสมาก

ส่วนรายได้ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย 3% จากไตรมาสก่อน เติบโตจากปริมาณ ไม่ใช่ราคาขาย ภาพรวมการบริโภคในภูมิภาคอาเซียนยังโตได้โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม แม้จะเห็นการระมัดระวังในการจับจ่ายอยู่บ้าง แต่การแข่งขันที่รุนแรงจากจีน ทำให้ไม่สามารถขึ้นราคาขายได้ ,ต้นทุนวัตถุดิบกระดาษรีไซเคิล ราคาพลังงาน ค่าขนส่งที่ปรับลง และการคุม SG&A ที่ดี ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นปรับขึ้นเป็น 18.0% จาก 13.8% ในไตรมาส 4/2567 และกำไรก่อนภาษี( EBITDA) +43% จากไตรมาสก่อน และมี EBITDA margin 13.2% เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4/2567 ที่ 9.5% โดยทิศทางผลประกอบการทยอยฟื้นตัวโดยเฉพาะในครึ่งหลังปี 2568 หลังปรับโครงสร้างการเงินของ Fajar แล้วเสร็จ เรายังคงประมาณการ

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง