รีเซต

WHO เตือนขยะจากโควิด-19 ล้น เพิ่มความเสี่ยงด้านสาธารณสุข

WHO เตือนขยะจากโควิด-19 ล้น เพิ่มความเสี่ยงด้านสาธารณสุข
TNN ช่อง16
2 กุมภาพันธ์ 2565 ( 07:24 )
83
WHO เตือนขยะจากโควิด-19 ล้น เพิ่มความเสี่ยงด้านสาธารณสุข

วันนี้ (2 ก.พ.65) องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ออกแถลงในวันอังคารว่า เข็มฉีดยาที่ถูกทิ้ง ชุดตรวจที่ใช้แล้วและขวดวัคซีนเก่า จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 กองทับถมก่อให้เกิดขยะทางการแพทย์หลายพันตัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพคนและสิ่งแวดล้อม 

โดยวัสดุต่าง ๆ เหล่านี้ ซึ่งบางส่วนอาจติดเชื้อได้ เนื่องจากไวรัสโคโรนาสามารถอยู่รอดบนพื้นผิวได้ อีกทั้งยังอาจเป็นอันตรายต่อบุคลากรทางการแพทย์ ได้รับบาดเจ็บจากเข็มฉีดยา และติดเชื้อโรคได้

นอกจากนี้ ชุมชนที่อยู่ใกล้กับหลุมฝังกลบที่มีการจัดการไม่ดี อาจได้รับผลกระทบจากอากาศที่ปนเปื้อนจากการเผาของขยะ คุณภาพน้ำไม่ดี หรือแม้แต่สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค

ายงานดังกล่าวของ WHO เรียกร้องให้ปฏิรูปการลงทุน ซึ่งรวมทั้งการลดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำให้เกิดการพลาสติกและใช้ชุดป้องกันที่ทำจากวัสดุที่นำกลับมาใช้ได้และวัตถุที่สามารถรีไซเคิลได้

แมกกี มอนต์โกเมอรี เจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมขององค์การอนามัยโลก กล่าวว่า โควิด-19 ได้ทำให้เกิดขยะทางการแพทย์เพิ่มขึ้นอย่างมาก และสร้างความเสี่ยงเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่าจากระดับก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาที่ระบบการกำจัดอุปกรณ์ใช้แล้วทางการแพทย์เหล่านี้ยังไม่มีประสิทธิภาพ

โดยอันตรายที่เกิดจากขยะเหล่านี้ รวมถึงอันตรายต่อสุขภาพของบุคลากร การบาดเจ็บจากเข็มฉีดยา การถูกเผาไหม้ การสัมผัสกับเชื้อไวรัส มลพิษทางอากาศ ตลอดจนอันตรายจากการบริหารจัดการที่กลบฝังขยะแบบไร้ประสิทธิภาพ

WHO ประเมินว่า ตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 2020 จนถึงเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2021 มีการขนส่งชุดพีพีอีไปยังประเทศต่าง ๆ แล้วราว 87,000 ตัน ซึ่งเท่ากับน้ำหนักของวาฬสีน้ำเงินหลายร้อยตัวรวมกัน และส่วนใหญ่จะกลายเป็นขยะ 

นอกจากนี้ ยังมีชุดตรวจอีกประมาณ 140 ล้านชุด ซึ่งจะผลิตขยะพลาสติกได้ถึง 2,600 ตัน และกลายเป็นขยะเคมีมีขนาดเท่ากับสระว่ายน้ำโอลิมปิก 1 ใน 3 ยังมีวัคซีนประมาณ 8,000 ล้านโดสที่ฉีดทั่วโลก ผลิตขยะเพิ่มอีก 144,000 ตัน ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งขวดแก้ว เข็มฉีดยา และกล่องนิรภัย

WHO แนะนำให้ประเทศต่าง ๆ ใช้แนวทางกำจัดขยะทางการแพทย์เหล่านี้อย่างปลอดภัยและไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเพิ่มปริมาณการใช้ถุงมือและหน้ากากแบบที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ตลอดจนเพิ่มการลงทุนในเทคโนโลยีการกำจัดขยะแบบไม่ต้องเผา เป็นต้น.


ภาพจาก Reuters


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง