น้ำท่วม : น้ำทะเลหนุน คืออะไร?
น้ำทะลหนุน ปัญหาของบ้านเรือนประชาชนริมน้ำที่ต้องเจอและได้รับความเดือดร้อน หากการแจ้งเตือนล่าช้า หรือการคาดคะเนของระดับที่อาจเป็นไปได้ว่า "คลาดเคลื่อน" ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ขนย้ายของหนีน้ำท่วมไม่ทัน จนทรัพย์สินได้รับความเสียหาย และต้องเผชิญอยู่ร่วมกับน้องน้ำไปอีก 2-3 วันกว่าระดับน้ำจะลดลง
โดยปรากฎการณ์ "น้ำทะเลหนุน" คืออะไร? วันนี้จะพาไปทำความเข้าใจและสาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้ "กรุงเทพมหานคร" จะจมน้ำ ซึ่งน้ำทะเลหนุน คือ ระดับน้ำในแม่น้ำบริเวณนั้น มักจะอยู่ในอิทธิพลน้ำขึ้นน้ำลง อันเนื่องมาจากระดับน้ำทะเลหนุนตลอดเวลา เมื่อน้ำที่ไหลหลากลงมาตามแม่น้ำคราวใด มีปริมาณมาก และตรงกับฤดูกาล หรือช่วงเวลาที่ระดับน้ำทะเลหนุนสูงเกินกว่าปกติ ก็จะทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมและอุทกภัย แก่พื้นที่ทำการเกษตร และในเขตที่อยู่อาศัยอย่างรุนแรงเสมอมา
คำถามต่อมา สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำทะเลหนุน มีอะไรบ้าง? โดยข้อมูลจากเว็บไซต์ มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนได้ระบุถึงการเกิดน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานครว่า กรุงเทพมหานครตั้งอยู่บนพื้นที่ราบลุ่มตอนปลายแม่น้ำเจ้าพระยา ไม่ไกลจากปากอ่าวไทยเท่าใดนัก ดังนั้น ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณกรุงเทพมหานคร จึงอยู่ในอิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลง อันเนื่องมาจากระดับน้ำทะเลหนุน
สาเหตุที่ทำให้เกิด "น้ำทะเลหนุน"
ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำทะเลหนุน มี 6 ข้อได้แก่
- ฝนซึ่งตกหนักจนระบายน้ำฝนออกจากถนนและบริเวณบ้านเรือนไม่ทัน ทำให้น้ำท่วมขัง
- น้ำจากพื้นที่ด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกไหลเข้าสู่กรุงเทพมหานครตามคลองต่างๆ ทำให้เกิดน้ำบ่าตลิ่งเข้าไปท่วมพื้นที่ในเขตชุมชน ซึ่งมีระดับต่ำ
- น้ำที่ไหลลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยามี ปริมาณมาก ทำให้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่ง มีระดับสูงไหลเข้าไปตามคลองต่างๆ เข้าไปท่วม ในเขตพื้นที่ชุมชน
- น้ำทะเลหนุน เป็นเหตุให้น้ำในแม่น้ำ เจ้าพระยามีระดับสูงขึ้นๆ เพราะไม่สามารถระบายน้ำจำนวนมาก ที่ไหลลงมาตามแม่น้ำ ลงสู่อ่าวไทย ได้สะดวก
- ระบบระบายน้ำซึ่งประกอบด้วยท่อ ระบายน้ำและคลองระบายน้ำในเขตชุมชนต่างๆ ไม่สามารถระบายน้ำฝนจำนวนมาก ออกไปจากพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- แผ่นดินทรุด เป็นเหตุให้พื้นที่บริเวณ ต่างๆ เป็นแอ่งมีระดับต่ำเมื่อฝนตกจึงทำให้ เกิดน้ำท่วมขังนาน เพราะระบายน้ำออกไปได้ ยาก
10 ปี เกิดน้ำท่วมกรุงเทพ น้ำท่วมใหญ่ 4 ครั้ง
ในระยะ 10 กว่าปีที่ผ่านมาได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่ปริมณฑล รวม 4 ครั้งด้วยกัน คือ
- พ.ศ. 2518
- พ.ศ. 2521
- พ.ศ. 2523
- พ.ศ. 2526
การเกิดน้ำทะเลหนุนสูง เป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้ประชาชนทั่วทั้งกรุงเทพมหานครได้รับความเดือดร้อน จากอุทกภัยในแต่ละครั้งเป็นอย่างมาก นับว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยปรากฏแก่กรุงเทพมหานครมาก่อนเลย
น้ำทะเลหนุนสูงกับคนริมน้ำ
ถือว่าเป็นของคู่กันที่คนริมน้ำต้องใช้ชีวิตกับสถานการณ์ในช่วงที่น้ำทะเลหนุนที่เกิดขึ้นทุก ๆ ปี ดังนั้น ต้องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำทะเลหนุน เช็คระดับน้ำทุกปี และคาดการระดับน้ำ เพราะเมื่อเกิดน้ำท่วมจะได้รับมือได้ทัน ไม่ว่าจะเป็นการขับรถลุยน้ำท่วมในช่วงน้ำทะเลหนุนสูง เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ การระมัดระวังสัตว์มีพิษเมื่อน้ำลดลง เป็นต้น
"ภาวะโลกร้อน" ทำเกิดน้ำท่วม
อีกหนึ่งสาเหตุหลัก ๆ ภาวะโลกร้อน หรือภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) คือ การที่ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากผลของภาวะเรือนกระจกหรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อว่า Greenhouse Effect โดยปัญหาโลกร้อนมีต้นเหตุจากการที่มนุษย์อย่างเรา ๆ ได้เพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงต่าง ๆ ,การขนส่ง และการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม จึงทำให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลกได้รับผลกระทบ เกิดน้ำทะเลสูงที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์ด้วย
ดังนั้น เราทุกคนสามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ เช่น การปรับพฤติกรรมการใช้รถยนต์ส่วนตัว ทางเดียวกันไปด้วยกัน หรือเปลี่ยนมาใช้การปั่นจักรยานมากขึ้น เพื่อร่วมช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ภาวะโลกร้อนลดลง น้ำทะเลไม่สูง เกิดน้ำท่วมได้น้อยด้วยเช่นกัน
มาช่วยโลกให้ดีขึ้นกันนะ
ภาพ : @จอนท่าเรือE24YVZ สมาชิกกลุ่ม LINE ข่าวสารเมืองปราการ pic.twitter.com/i1tmhHciYI