รีเซต

เปิดเทคนิค “ขับรถลุยน้ำท่วม” ฝนตก น้ำทะเลหนุนสูง ทำน้ำท่วมกทม. ระดับน้ำแค่ไหนรอด!

เปิดเทคนิค “ขับรถลุยน้ำท่วม” ฝนตก น้ำทะเลหนุนสูง ทำน้ำท่วมกทม. ระดับน้ำแค่ไหนรอด!
Ingonn
25 กันยายน 2566 ( 17:20 )
1.1K
เปิดเทคนิค “ขับรถลุยน้ำท่วม” ฝนตก น้ำทะเลหนุนสูง ทำน้ำท่วมกทม. ระดับน้ำแค่ไหนรอด!

เมื่อระดับน้ำทะเล ขึ้นและลงโดยธรรมชาติ จึงส่งผลกระทบให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณกรุงเทพมหานครมีการขึ้น-ลง โดยมีช่วงน้ำทะเลหนุนสูงสุดในเดือนกันยายน ถึง เดือนธันวาคม ส่วนมากน้ำทะเลจะหนุนในช่วงเช้า นานประมาณ 2-3 ชั่วโมงน้ำจะลดลง แต่ถ้าวันไหนหนุนสูงระดับน้ำท่วมมิดผิวการจราจรทำให้รถสัญจรลำบาก ผู้ขับขี่จึงควรเตรียมตัวให้พร้อม ก่อนตัดสินใจขับรถลุยน้ำ 

 

แต่ก่อนที่จะขับรถลุย “น้ำท่วม” ต้องรู้ก่อนว่า ระดับน้ำแค่ไหนที่รถสามารถ ขับผ่านไปได้โดยไม่ทำให้เครื่องยนต์เสียหาย และลดความเร็วขณะที่ขับสวนกัน ไม่ควรเร่งเครื่อง เว้นระยะห่างจากรถคันหน้าอย่างเหมาะสม และประเมินสถานการณ์ของระดับน้ำว่าจะสามารถลุยต่อได้หรือไม่

 

น้ำท่วมระดับไหน ไม่ควรขับรถลุย

 

ระดับน้ำ 5-10 ซม. ขับผ่านได้ทุกคัน แต่ยังต้องมีสติ ระมัดระวัง ไม่ควรใช้ความเร็วสูง อาจทำให้สูญเสียการควบคุมได้ เพราะถนนลื่น 

 

ระดับน้ำ 10-20 ซม. รถทุกประเภทยังขับผ่านไปได้ รถขนาดเล็กอาจได้ยินเสียงน้ำใต้ท้องรถ ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะยังมีโอกาสที่น้ำจะเข้าไปในตัวรถ 

 

รถอีโคคาร์ต้องระวัง ระดับน้ำ 20-40 ซม. เพราะส่วนใหญ่ถูกออกแบบให้มีความสูงจากระดับพื้น 15-17 ซม. อาจทำให้เกิดปัญหาท่อไอเสียจม แต่ยังสามารถขับลุยน้ำผ่านได้ ส่วนรถกระบะยังผ่านไปได้ 

 

ระดับน้ำ 40-60 ซม. รถเก๋ง รถขนาดเล็กต้องเลี่ยง รถกระบะยังฝ่าไปได้ ปิดแอร์ขณะขับ ป้องกันพัดลมแอร์หน้ารถดูดละอองน้ำเข้าไปในเครื่องยนต์ จะทำให้เครื่องยนต์ดับ ขับขี่ให้ช้าลง ลดการเกิดคลื่นน้ำซัดเข้าหารถ จากรถคันอื่น ๆ เพื่อลดความเสี่ยงที่น้ำจะกระจายเข้าสู่ห้องเครื่องยนต์ 

 

อันตรายต่อรถทุกคัน ระดับน้ำ 60-80 ซม. ไม่ควรขับลุย เพราะน้ำอาจไหลเข้าห้องเครื่องยนต์ ทำให้เครื่องยนต์ดับ หยุดชะงัก ก่อให้เกิดความเสียหายในระบบต่างๆ ได้ ซึ่งการขับลุยน้ำท่วมระดับนี้ต้องใช้ความชำนาญเป็นพิเศษ ที่สำคัญอย่าปะทะคลื่นโดยตรง เพื่อหลีกเลี่ยงเครื่องดับกลางอากาศ 

 

อันตราย ควรใช้เส้นทางอื่น เพราะระดับน้ำสูงเกินกว่า 80 ซม. ท่วมฝากระโปรงรถ ท่วมไฟหน้ามิด อันตรายต่อเครื่องยนต์ ควรปิดระบบไฟต่างๆ เพื่อป้องกันการลัดวงจร 

 

หลังจากขับรถลุยน้ำ อย่าลืมตรวจเช็คการทำงานของระบบเบรก เหยียบเบรกย้ำๆ เพื่อไล่น้ำออก และขับขี่ให้ช้าลง เพื่อความปลอดภัย

 


เทคนิค “ขับรถลุยน้ำท่วม” ช่วงน้ำทะเลหนุนสูง 

1. ประเมินสถานการณ์ระดับน้ำว่าสามารถลุยต่อได้หรือไม่ เช็กระดับน้ำที่ปลอดภัยต่อรถของคุณ ได้ที่ https://bit.ly/3bSkNkC 

 

2. ตัดสินใจลุยแล้ว ต้องมีเทคนิคขับรถลุยน้ำท่วม ปิดแอร์ ใช้เกียร์ต่ำ ขับขี่ให้ช้าลง เพื่อความปลอดภัยของทุกคน  https://bit.ly/3o843eL 

 

3. หลังจากขับรถลุยน้ำ อย่าลืมตรวจเช็กการทำงานของระบบเบรก เหยียบเบรกย้ำๆ เพื่อไล่น้ำออก และหากสภาพพื้นที่เป็นแถวชายทะเล เช่น ปากน้ำสมุทรปราการ พระสมุทรเจดีย์ บางขุนเทียน ซึ่งเป็นน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย รถที่ลุยน้ำเป็นประจำ ช่วงล่างจะเป็นสนิมเร็ว ดังนั้น หลังจากใช้รถลุยน้ำเค็ม ควรฉีดน้ำล้างส่วนที่สัมผัสกับน้ำเค็มทุกครั้ง ช่วยชะลอการเกิดสนิทได้

 

 

สิ่งที่ควรทำ เมื่อต้องขับรถลุยน้ำ

1. ปิดแอร์ เมื่อเจอน้ำท่วมขัง เพราะหากน้ำท่วมถึงตัวพัดลม พัดตีน้ำขึ้นมาโดนบริเวณห้องไฟฟ้าอาจช็อตและทำให้เครื่องยนต์ดับได้

2. รักษาระยะห่างจากรถคันอื่น เพราะระบบเบรกที่แช่น้ำนานๆ ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานต่ำลง 

3. ลดความเร็ว และรักษาความเร็วให้คงที่ ห้ามจอดและไม่ควรอยู่ใกล้รถคันอื่น 

4. ใช้เกียร์ต่ำ เพื่อประคองเครื่องยนต์ไม่ให้ดับ หากเป็นรถยนต์เกียร์ออโต้ให้ใช้เกียร์ L 
รถยนต์เกียร์ธรรมดาให้ใช้เกียร์ 1 หรือ 2 

5. เมื่อขับพ้นน้ำท่วม เหยียบเบรกย้ำๆ เพื่อไล่น้ำออกจากผ้าเบรก 

6. ถึงที่หมาย อย่าเพิ่งดับเครื่องทันที ให้ติดเครื่องยนต์ไว้สักพัก เพื่อไล่น้ำและความชื้นที่ค้างอยู่ตามเครื่องยนต์

 

อย่างไรก็ตาม ก่อนจะขับรถลุยน้ำ ลุยฝน อย่าลืมตรวจสอบความพร้อมของรถก่อนเสมอ ไม่ว่าาจะเป็น ที่ปัดน้ำฝน ยางปัดน้ำฝน สภาพของล้อยาง ไม่มีรอยฉีกขาด บวม ดอกยางไม่สึกหรอ มีความลึกพอสามารถยึดเกาะถนนและรีดน้ำได้ดี และเว้นระยะห่างจากรถคันหน้ามากกว่าปกติ ประมาณ 10-15 เมตร รวมถึงเมื่อรถลื่นไถลไม่ควรเบรกทันที ค่อยๆ ลดความเร็ว หรือใช้เกียร์ต่ำ

 

 

 

 

 

 

ข้อมูลจาก สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบก

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง