รีเซต

เคนยาใช้ AI และเสียงนกร้อง วิเคราะห์สุขภาพของผืนป่า

เคนยาใช้ AI และเสียงนกร้อง วิเคราะห์สุขภาพของผืนป่า
TNN ช่อง16
7 พฤศจิกายน 2567 ( 15:17 )
30

นักวิทยาศาสตร์ในเคนยา ใช้ปัญญาประดิษฐ์และเสียงนกร้อง เพื่อประเมินสุขภาพของป่าไม้ โดยใช้การบันทึกและวิเคราะห์เสียงนกร้องตามป่าต่าง ๆ เพื่อดูว่าพื้นที่ป่าแห่งนี้ สามารถรองรับการอยู่อาศัยของนกได้เพียงพอหรือไม่


โครงการนี้มีชื่อว่า เคนยา เบิร์ด แมป (Kenya Bird Map) เป็นโครงการริเริ่มด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแผนที่การกระจายพันธุ์นกของเคนยาในปัจจุบัน เพื่อช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงถิ่นที่อยู่จากการวิเคราะห์จำนวนนกที่เปลี่ยนแปลงไป


โดยทีมนักวิจัยจากศูนย์วิทยาศาสตร์ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ (DSAIL) ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดดาน กิมาธี (Dedan Kimathi - DeKUT) ได้ใช้การบันทึกเสียงร้องของนก ด้วยอุปกรณ์บันทึกเสียงที่มีไมโครโฟนที่มีความสามารถในการรับเสียงที่ละเอียดอ่อนสูง ออกแบบมาเพื่อฟังเสียงป่าและติดตามความสมบูรณ์ของระบบนิเวศโดยเฉพาะ 


อุปกรณ์ได้รับการตั้งโปรแกรมให้บันทึกเสียงร้องของนก และเสียงป่าไม้ตามธรรมชาติในสองช่วงเวลาด้วยกัน ช่วงแรกคือตั้งแต่เวลา 5.00-10.00 น. และช่วงที่สองคือ 17.00-19.00 น. โดยจะบันทึกเสียงนกร้องที่จัดเก็บไว้ในการ์ดหน่วยความจำภายในตัวเครื่อง


อุปกรณ์นี้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และมีแบตเตอรี่ในตัว โดยสามารถบันทึกเสียงได้หลากหลาย เช่น เสียงนก ใบไม้ที่ส่งเสียงกรอบแกรบ เสียงแมลง เสียงยานพาหนะที่แล่นผ่าน และเครื่องบิน ซึ่งเสียงบันทึกที่ได้จะถูกนำไปป้อนให้กับโมเดล AI ที่สามารถระบุได้ว่าเป็นนกชนิดใด 


ทีมวิจัยหวังว่าจะใช้ข้อมูลนี้ เพื่อระบุชนิดพันธุ์ของนก และติดตามการเปลี่ยนแปลงของนกเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งจะช่วยให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของระบบนิเวศป่าไม้ เพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ผืนป่าได้มากขึ้น


ที่มาข้อมูล APvideohub

ที่มารูปภาพ APvideohub

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง