รีเซต

Blue Origin ยานอวกาศใช้ซ้ำได้ ขึ้นบินอีกครั้งในรอบ 15 เดือน และกลับมาลงจอดได้สำเร็จ !

Blue Origin ยานอวกาศใช้ซ้ำได้ ขึ้นบินอีกครั้งในรอบ 15 เดือน และกลับมาลงจอดได้สำเร็จ !
TNN ช่อง16
22 ธันวาคม 2566 ( 10:06 )
40
Blue Origin ยานอวกาศใช้ซ้ำได้ ขึ้นบินอีกครั้งในรอบ 15 เดือน และกลับมาลงจอดได้สำเร็จ !

บลู ออริจิน (Blue Origin) บริษัทขนส่งอวกาศของเจฟฟ์ เบโซส (Jeff Bezos) เจ้าของแอมะซอน (Amazon) แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) และบริการด้านโครงสร้างดิจิทัลชื่อดัง ได้ทำเที่ยวบินอวกาศอีกครั้งในรอบ 15 เดือน และกลับมาลงจอดอย่างปลอดภัย หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้เกิดอุบัติเหตุระหว่างการขึ้นบิน ซึ่งการขึ้นบินเป็นครั้งแรกในรอบปี 2023 ของ Blue Origin ในรอบนี้มีทั้งเป้าหมายและสัมภาระ (Payload) ที่น่าสนใจ


รายละเอียดเที่ยวบินอวกาศของ Blue Origin

เที่ยวบินครั้งล่าสุดของ Blue Origin เป็นของยานที่ชื่อว่า นิว เชพเพิร์ด (New Sheperd) ยานอวกาศที่ใช้ส่วนของบูสเตอร์ (Booster) ซ้ำได้ (Reusable booster) ที่พุ่งขึ้นสู่ระดับ ซับออบิทัล (Suborbital) หรือระดับความสูงที่เข้าสู่ชั้นอวกาศแต่ไม่ได้มีการโคจรแล้วกลับลงมายังพื้นโลก หรือจะเรียกอีกนัยว่าเสมือนกับการกระโดดสูงไปยังอวกาศก็ได้ โดยนับเป็นเที่ยวบินอวกาศแรกในปี 2023 นี้ และเป็นเที่ยวบินที่ 24 ของตัวยาน ภายใต้รหัสภารกิจ NS-24


ทั้งนี้ New Sheperd ได้พาอุปกรณ์การทดลองทางวิทยาศาสตร์จากหลากหลายหน่วยงาน รวมถึงองค์การบริหารการบินและอวกาศหรือนาซา (NASA) ไปรษณียบัตร (Postcard) และอุปกรณ์อื่น ๆ รวมกว่า 33 ประเภท ขึ้นไปบนระดับ Suborbital ด้วย โดยการขึ้นบินในครั้งนี้ เกิดขึ้นไปเมื่อตอน 23.42 น. ของคืนวันอังคารที่ 19 ธันวาคม ตามเวลาประเทศไทย


หลังจากขึ้นบินสู่ระดับชั้น Suborbital แล้ว ชิ้นส่วนบูสเตอร์ (Booster) หรือส่วนเครื่องยนต์ที่ใช้เร่งยานขึ้นเหนือจากพื้นดินก็กลับมาลงจอดอย่างปลอดภัย ในขณะที่ส่วนของสัมภาระ (Payload) ก็สามารถตกลงมาและกางร่มชูชีพ (Parachute) เพื่อลงพื้นได้อย่างเรียบร้อยเช่นกัน 


เบื้องหลังและเป้าหมายการทำเที่ยวบินอวกาศของ Blue Origin

ความสำเร็จในครั้งนี้มาพร้อมกับการสนับสนุนเงินทุนจาก NASA ที่ได้จ่ายค่าบริการเพื่อส่งอุปกรณ์ทดลองทางวิทยาศาสตร์มากกว่า 12 ชิ้น รวมถีงหน่วยงานวิทยาศาสตร์จากทั่วโลก และ New Sheperd ยังส่งมอบความฝันจากนักเรียนทั่วโลกที่อยากทำงานด้านอวกาศ ผ่านโปสการ์ดกว่า 38,000 ใบ ที่มูลนิธิของ Blue Origin ตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนภารกิจ NS-24 นี้ด้วยเช่นกัน


ทั้งนี้ New Sheperd ของ Blue Origin ยังวางเป้าหมายระยะยาวไว้เป็นยานสำหรับส่งคนขึ้นไปบนอวกาศเพื่อการท่องเที่ยวและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งก็เลี่ยงไม่ได้ว่าจะต้องเผชิญการแข่งขันกับ Virgin Galactic ที่จะทำยานเพื่อส่งคนไปอวกาศในระดับ suborbital เหมือนกันในอนาคตด้วยเช่นกัน


ที่มาข้อมูล Interesting Engineering

ที่มารูปภาพ Blue Origin

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง