รีเซต

สวิสฯ แปลง “จานดาวเทียมยักษ์” เป็นที่วาง “โซลาร์เซลล์” สร้างพลังงาน

สวิสฯ แปลง “จานดาวเทียมยักษ์” เป็นที่วาง “โซลาร์เซลล์” สร้างพลังงาน
TNN ช่อง16
24 ตุลาคม 2566 ( 09:24 )
90

บริษัทในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เสนอแนวคิดการเปลี่ยนพื้นที่ว่างบนจานรับสัญญาณดาวเทียมขนาดใหญ่ที่ล้าสมัย ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับวางแผงโซลาร์เซลล์จำนวนมาก เพื่อใช้สร้างแหล่งพลังงานสีเขียว ตอบสนองต่อความต้องการด้านพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น


ภาพจากรอยเตอร์

สำหรับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนจานดาวเทียมขนาดยักษ์นี้ นับเป็นครั้งที่ 2 ที่บริษัทได้เริ่มกระบวนการไป โดยครั้งนี้เป็นการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนจานดาวเทียม ที่ตั้งอยู่บริเวณเขตวาเลส์ (Valais) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์


ข้อดีของการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนจานดาวเทียมเก่าคือส่วนใหญ่จานเหล่านี้ มักจะติดตั้งอยู่บนพื้นที่ภูเขาสูง ซึ่งก็จะทำให้แผงโซลาร์เซลล์บนจาน มีโอกาสได้รับแสงแดดโดยตรงมากขึ้น อีกทังยังรับแสงแดดโดยตรงได้มากกว่าการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในบริเวณเขตเมือง ซึ่งอาจจะเจอกับปัญหาแสงส่องไม่ทั่วถึงได้


ภาพจากรอยเตอร์

นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ประโยชน์จากการหมุนปรับทิศทางของจานรับสัญญาณดาวเทียมเก่าเหล่านี้ เพื่อให้มันหันแผงโซลาร์เซลล์เข้าหาแสงแดดได้ดี ทำให้มีโอกาสผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนพื้นที่อื่น ๆ อีกด้วย


โดย ซีเคดับเบิลยู กรุ๊ป (CKW Group) บริษัทผู้ให้บริการด้านพลังงานชั้นนำในสวิตเซอร์แลนด์กล่าวว่า จานรับสัญญาณดาวเทียมเหล่านี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 32 เมตร อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตร โดยแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งบนจานรับสัญญาณดาวเทียม 1 ตัว สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าตอบสนองต่อความต้องการพลังงานได้มากถึง 25 ครัวเรือน


ภาพจากรอยเตอร์

ในเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว รัฐบาลสวิสฯ ได้เริ่มโครงการที่กระตุ้นให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคต่าง ๆ หันมาอนุรักษ์พลังงานเพื่อป้องกันการขาดแคลนก๊าซและพลังงาน โดยมีตัวเลขระบุว่าภายในปี 2050 ประเทศสวิสเซอร์แลนด์อาจเจอกับปัญหาขาดแคลนไฟฟ้าประมาณ 50 เทราวัตต์ชั่วโมงต่อปี


ภาพจากรอยเตอร์

ดังนั้นการหันมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ จึงเป็นแนวทางการแก้ปัญหาหนึ่งที่หลายบริษัทและองค์กรต่าง ๆ ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ หันมาให้ความสนใจมากขึ้น เนื่องจากมองว่าอาจมีส่วนช่วยสำคัญในการแก้ปัญหาพลังงานได้ และยังเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียน ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมอีกด้วย


ข้อมูลจาก reuterstechnologytimes

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง