รีเซต

ทีมวิจัยศึกษาวิธีสร้างคอนแทคเลนส์อัจฉริยะใช้ตรวจจับต้อหิน!

ทีมวิจัยศึกษาวิธีสร้างคอนแทคเลนส์อัจฉริยะใช้ตรวจจับต้อหิน!
TNN ช่อง16
4 พฤษภาคม 2564 ( 21:19 )
81

คนเราเวลาใส่คอนแทคเลนส์ก็อาจจะคาดหวังว่าแค่ช่วยทำให้สามารถมองเห็นได้ชัดขึ้นก็พอแล้ว แต่จะเป็นอย่างไรถ้าต่อไปนี้เราสามารถใส่คอนแทคเลนส์ที่ช่วยตรวจสอบความดันลูกตาของเราได้ด้วย?

งานวิจัยชิ้นล่าสุด ได้มีการพัฒนาคอนแทคเลนส์ที่มีเซนเซอร์ฝังไว้เพื่อใช้สำหรับช่วยใช้วัดความดันลูกตา (IOP : intraocular pressure) โดยเฉพาะ โดยพัฒนามาจากงานก่อนหน้าซึ่งตัวที่มีเดิมอยู่นั้นแข็งเกินไป เทอะทะเกินไป และอาจจะทำให้เรามองเห็นไม่ชัดในบางส่วนอีกด้วย โดยผลงานวิจัยชิ้นล่าสุดนี้พึ่งได้รับการทดสอบในอาสาสมัคร โดยเป็นคอนแทคเลนส์ที่นุ่มและโปร่งใสขึ้น ซึ่งสามารถวัดปริมาณความดันลูกตา ได้แบบเรียลไทม์โดยใช้สมาร์ทโฟนเท่านั้น ที่สำคัญคือจากผลการทดสอบกับผู้เข้าร่วมการทดสอบจำนวน 10 คน พบว่าอุปกรณ์ตัวนี้สามารถใช้งานได้โดยไม่ก่อให้เกิดการอักเสบ ซึ่งหากมีการพัฒนาต่อไปอาจมีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่เป็นโรคต้อหินนั่นเอง

สำหรับคอนแทคเลนส์ตัวนี้ สื่อ Interesting engineering รายงานว่าตัวอุปกรณ์ใช้การทำงานผ่านเสาอากาศแบบไร้สาย, เซ็นเซอร์, ตัวเก็บประจุ, โลหะที่ยืดได้ซึ่งเชื่อมต่อกันตัวต้านทานและวงจรรวม เพื่อให้คอนแทคเลนส์สามารถส่งข้อมูลแบบไร้สายได้ เมื่อทดสอบอุปกรณ์ตัวนี้กับกระต่ายก็พบว่ามีสามารถใช้วัดค่าได้เทียบเท่ากับเครื่องตรวจวัดความดันลูกตา และเมื่อนำไปทดสอบกับมนุษย์ 10 คนก็ได้รับการพิสูจน์ว่าปลอดภัย ไม่มีการอักเสบใด ๆ เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังพัฒนาให้สามารถใช้วัดสัญญาณชีพขั้นพื้นฐาน รวมถึงอัตราการเต้นของหัวใจ, อุณหภูมิของร่างกาย, การทำงานด้านไฟฟ้าของหัวใจ ซึ่งตรวจจับมาจากความเข้มข้นของน้ำตาลกลูโคส แลคเตท และแอลกอฮอล์ในของเหลวในร่างกาย เช่น เหงื่อน้ำตา และน้ำลาย ซึ่งจะช่วยในการวินิจฉัยความเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นได้อีกด้วย

ในผลงานศึกษาล่าสุดนี้ ทีมวิจัยจึงได้มุ่งเน้นการพัฒนาอุปกรณ์เพื่อใช้ในการตรวจจับโรคต้อหิน เนื่องจากวิธีการรักษาโรคต้อหินในปัจจุบันจะมุ่งเน้นไปที่การลดความดันลูกตาลง การออกแบบคอนแทคเลนส์อัจฉริยะตัวนี้จึงทำขึ้นโดยหวังว่าจะกลายเป็นหนึ่งในตัวเลือกสำหรับเทคโนโลยีการตรวจจับโรคต้อนหินแบบที่สามารถสวมใส่ได้นั่นเอง 


อย่างไรก็ตาม คอนแทคเลนส์ตัวนี้ก็ยังต้องการการพัฒนาต่อไปก่อนที่จะสามารถนำไปผลิตและใช้งานอย่างแพร่หลายได้ เพราะยังต้องมีการพัฒนาทั้งเรื่องการขยายแผงวงจร การใช้วัสดุที่ปลอดภัยกับดวงจา และการรับสัญญาณจากผู้สวมใส่ที่ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง แต่อย่างไรก็ตามผลงานชิ้นนี้นับว่าเป็นความก้าวหน้าที่น่าจับตามองเลยทีเดียว และอาจเป็นสัญญาณถึงวิธีการใหม่ ๆ ที่จะช่วยในการตรวจสอบ วินิจฉัย และช่วยเหลือในการรักษาโรคต้อหินในปัจจุบัน


ขอบคุณข้อมูลจาก

interestingengineering

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง