ชูกลยุทธ์จัดพอร์ตหลัก-รอง KAssetชี้ทนตลาดผันผวน
#บลจ.กสิกรไทย #ทันหุ้น - บลจ.กสิกรไทยเดินหน้ากลยุทธ์การจัดพอร์ตแบบCore & Satellite Portfolio เพื่อรับมือกับสภาพตลาดที่ผันผวนในปี 2568 จากหลายปัจจัย พอร์ตหลักอย่าง Core Portfolioชูกลุ่มกองทุน K-WealthPLUS Series ที่มีการกระจายลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ ส่วน Satellite Portfolio ไว้สำหรับเปิดรับโอกาส และปรับพอร์ตได้อย่างยืดหยุ่นในช่วงสั้น ตามภาวะตลาด
นายวิน พรหมแพทย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด หรือ บลจ.กสิกรไทย (KAsset) กล่าวว่า ปี 2568 ภาพรวมการลงทุนที่ยังคงมีความผันผวน ทั้งจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ นโยบายการเงินของธนาคารกลาง การปรับลดอัตราดอกเบี้ย รวมถึงการเดินนโยบายต่างๆ ของทรัมป์ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายของเม็ดเงินลงทุน ดังนั้น บลจ. กสิกรไทย ยังคงเน้นให้ลูกค้าจัดพอร์ตแบบกระจายความเสี่ยงตามหลักการ Core & Satellite Portfolio ซึ่งเป็นการสร้างพอร์ตหลัก-พอร์ตรอง ที่ช่วยให้ภาพรวมของพอร์ตลงทุนไม่ผันผวนเกินไป
โดยพอร์ตที่ บลจ.กสิกรไทย แนะนำนั้น ในส่วนของ Core Portfolio หรือพอร์ตหลักแบ่งสัดส่วนลงทุนราว 80% ของเงินลงทุนรวม และ20% จัดเป็นพอร์ตรอง หรือ Satellite Portfolio ที่สามารถปรับสัดส่วนในระยะสั้นได้ให้เหมาะสมกับสภาพตลาดในช่วงเวลานั้นๆ
*ชูกลุ่ม K-WealthPLUS Series
สำหรับ Core Portfolio บลจ.กสิกรไทย ชูกลุ่มกองทุน K-WealthPLUS Series ซึ่งเป็นกลุ่มกองทุนผสมที่มีการจัดพอร์ตการลงทุนแบบสำเร็จรูปในสัดส่วนการลงทุนที่แตกต่างกัน กลยุทธ์การลงทุนที่เน้นกระจายการลงทุน (Asset Allocation) ในหุ้น ตราสารหนี้ และสินทรัพย์ทางเลือก ซึ่งสามารถรับมือกับความผันผวนทางเศรษฐกิจได้ดีกว่าการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งเพียงอย่างเดียว
โดยบลจ.กสิกรไทย คัดมาให้ 3 กองทุน ในกลุ่ม K-WealthPLUS Series คือ กองทุนเปิดเค เวลธ์พลัส บาลานซ์ (K-WPBALANCED), กองทุนเปิดเค เวลธ์พลัส สปีดอัพ (K-WPSPEEDUP) และกองทุนเปิดเค เวลธ์พลัส อัลติเมท (K-WPULTIMATE) ซึ่งผู้ลงทุนเลือกเพียง 1 กองทุน สำหรับจัดเป็น Core Portfolio ตามความเสี่ยงที่รับได้
โดย K-WPBALANCED ลงทุนผสมแบบบาลานซ์ เน้นลงทุนในตราสารหนี้ 55-85% หุ้น 15-45% เหมาะกับนักลงทุนมือใหม่ที่อยากเพิ่มผลตอบแทน ให้พอร์ตมากขึ้น จากการลงทุนหุ้นบางส่วน,K-WPSPEEDUP ลงทุนผสม เน้นสัดส่วนในหุ้นมากขึ้น 50-80% เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการโอกาสรับผลตอบแทนสูงขึ้น แต่ไม่อยากให้พอร์ตเหวี่ยงมากไป และ K-WPULTIMATE ลงทุนผสม เพิ่มสัดส่วนหุ้นได้เต็มแม็กซ์ถึง 100%เหมาะกับนักลงทุนที่รับความผันผวนได้สูง เพื่อโอกาสทำกำไรให้พอร์ตเติบโต
*พอร์ตรองในสัดส่วน 20%
ขณะที่พอร์ตรอง หรือ Satellite Portfolio ที่จัดในสัดส่วน 20% ของเม็ดเงินลงทุนรวม โดยกระจายงทุนใน กองทุนตราสารหนี้ โดยชู กองทุนเปิดเค ตราสารหนี้ พลัส (K-FIXEDPLUS)
และกองทุนหุ้น คัดมา 4 กองทุน ในกากรกระจายลงทุน กองทุนเปิดเค โกลบอล ซีเล็คท์ หุ้นทุน (K-GSELECT),กองทุนเปิดเค Property Infra Flexible (K-PROPI),กองทุนเปิดเค สตาร์ หุ้นทุน (K-STAR) และกองทุนเปิดเค เวียดนาม หุ้นทุน (K-VIETNAM)
สำหรับกองทุน K-FIXEDPLUS ลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐและภาคเอกชน และเงินฝากทั้งในประเทศและต่างประเทศ, ส่วนกองทุน K-GSELECT เน้นลงทุนในกองทุน JPMorgan Global Select Equity ETF(กองทุนหลัก) ซึ่งเป็นกองทุนอีทีเอฟที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ประเทศสหรัฐอเมริกา และมีนโยบายเน้นลงทุนในตราสารทุนของบริษัทในประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลก
กองทุน K-PROPIกองทุนมีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารทั้งในและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และ/หรือกลุ่มกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) เป็นต้น
กองทุน K-STAR เน้นลงทุนในหุ้นไทยพื้นฐานดีที่มีศักยภาพการเติบโตในระยะยาว เพื่อมุ่งหวังสร้างผลตอบแทนที่ดีสม่ำเสมอ พร้อมทั้งจับจังหวะในการปรับเปลี่ยนสัดส่วนน้ำหนักรายกลุ่มอุตสาหกรรม และสัดส่วนการถือครองเงินสด ในสถานการณ์ตลาดที่อำนวยเพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนในระยะสั้น
และกองทุน K-VIETNAM เน้นลงทุนใน ตราสารทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของเวียดนาม และ/หรือที่ดำเนินธุรกิจซึ่งได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม, ตราสารทุนของผู้ประกอบการเวียดนามที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศอื่นและหน่วยลงทุนที่เกี่ยวข้องกับประเทศเวียดนาม และ/หรือ กองทุน ETF ที่เน้นลงทุนในตราสารทุนของเวียดนาม
นายวิน กล่าวว่า การกระจายลงทุน และมีรูปแบบการจัดพอร์ตแบบพอร์ตหลัก พอร์ตรองทำให้ภาพรวมการลงทุนมีความสมูท ไม่ผันผวนสูง ผลตอบแทนที่ได้ในช่วงเวลที่ภาพการลงทุนสดใส อาจจะไม่ได้สูงที่สุด แต่เมื่อภาพลงทุนเป็นขาลงมีปัจจัยลบ ผลตอยบแทนก็ไม่ต่ำที่สุดเช่นกัน ทำให้ภาพการลงทุนเป็นไปอย่างสมูท
สำหรับมุมมองการลงทุนในปี 2568 ในส่วนของหุ้นสหรัฐ แม้จะเติบโตต่อ จากภาพเศรษฐกิจที่ยังแข็งแกร่ง แต่อาจมี Upside ไม่มาก และยังคงผันผวนไปตามนโยบาย ทรัมป์ 2.0 ทั้งเรื่องของกำแพงภาษี เงินเฟ้อที่อาจเพิ่มขึ้นจากนโยบายทรัมป์ ที่ทำให้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยไม่เป็นไปตามที่ตลาดคาด ซึ่งนส่งผลต่อการเคลื่อนบ้ายของเม็ดเงินลงทุนทั่วโลก