รีเซต

Into the past : กองทัพเรือไทย จัดพิธีย่ำพระสุริย์ศรีขึ้นมาเป็นครั้งแรก , วันเกิด เทะซึกะ โอะซะมุ นักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น (3พ.ย.)

Into the past : กองทัพเรือไทย จัดพิธีย่ำพระสุริย์ศรีขึ้นมาเป็นครั้งแรก , วันเกิด เทะซึกะ โอะซะมุ นักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น (3พ.ย.)
TrueID
1 พฤศจิกายน 2563 ( 00:06 )
1.4K
1
Into the past : กองทัพเรือไทย จัดพิธีย่ำพระสุริย์ศรีขึ้นมาเป็นครั้งแรก , วันเกิด เทะซึกะ โอะซะมุ นักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น (3พ.ย.)

Into the past : วันนี้ trueID News จะพาย้อนไปในอดีตของวันนี้ กับเหตุการณ์ที่สำคัญ เรื่องราวสาระน่ารู้ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ จะเป็นอย่างไรไปติดตามกัน

 

 

Into the past : ประเทศไทย

 

พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - กองทัพเรือไทย จัดพิธีย่ำพระสุริย์ศรีขึ้นมาเป็นครั้งแรก ที่หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน อำเภอสัตหีบ ในวโรกาสฉลองพระเกียรติ เรือโทหญิง สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

 

สาธารณสมบัติ

 

พิธีย่ำพระสุริย์ศรี เป็นพิธีการของทหารเรือไทยพิธีหนึ่ง คล้ายกับการสวนสนามเพื่ออำลาชีวิตราชการของผู้บังคับบัญชาระดับสูง เช่น ผู้บัญชาการทหารเรือ, ผู้บัญชาการทหารสูงสุด, ผู้บัญชาการหน่วยนาวิกโยธิน เป็นต้น กระทำในเวลาโพล้เพล้ใกล้ค่ำ มีความสวยงามจากดวงไฟที่ประดับและลำแสงสุดท้ายของพระอาทิตย์ก่อนที่จะลับขอบฟ้า

พิธีย่ำพระสุริย์ศรี มีขึ้นครั้งแรกที่บริเวณที่บริเวณสนามหน้ากองบัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ค่ายกรมหลวงชุมพร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522 ในโอกาสที่หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ฉลองพระเกียรติ เรือโทหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และได้จัดให้มีพิธีเช่นเดียวกันนี้ต่อเนื่องอีกหลายครั้งจนถึงปัจจุบัน.

 

=====

 

 

Into the past : รอบโลก

 

พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) - วันเกิด เทะซึกะ โอะซะมุ นักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น

 

สาธารณสมบัติ

 

เทซูกะ โอซามุ เกิดเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1928 ที่โทโยนากะ จังหวัดโอซากะ โดยจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแพทย์ในเมืองโอซากะเมื่อปี 1946

หลังจากจบการศึกษา โอซามุ ก็ตัดสินใจที่จะทำงานด้านแอนิเมชันและเขียนการ์ตูนซึ่งเป็นงานที่เขารักตั้งแต่ยังเด็ก และเป็นผู้ริเริ่มให้การ์ตูนญี่ปุ่นก้าวไปสู่ยุคใหม่ มีมุมมองที่หลากหลายทิศทาง

ซึ่งแต่เดิมจะมีแค่มุมมองจากด้านหน้าซึ่งเทียบได้กับนิยายภาพ โดยมีการใส่ช่องคำพูด ช่องอธิบายความคิด แทนการบรรยายภาพ โดยงานตีพิมพ์ชิ้นแรกของเขาคือ Shin Takarajima ในปี ค.ศ. 1947 ซึ่งนำไปสู่ศักราชใหม่ของการ์ตูน และมีผลงานมากมายถึง 500 เรื่อง.

 

 

==========

 

 

 

 

 

 

 

Into the past : เรื่องราวในวันวาน 2 พฤศจิกายน

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

 

ข้อมูล : wikipedia , history , on this day

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง