รีเซต

นาซาพบ 'ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ' 17 ดวง อาจมี 'มหาสมุทร' ใต้เปลือกน้ำแข็ง

นาซาพบ 'ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ' 17 ดวง อาจมี 'มหาสมุทร' ใต้เปลือกน้ำแข็ง
Xinhua
17 ธันวาคม 2566 ( 11:07 )
55

(แฟ้มภาพซินหัว : คณะนักวิทยาศาสตร์ประจำสถานีธารน้ำแข็งแห่งหนึ่งในแอนตาร์กติกา ร่วมสังเกตปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง วันที่ 4 ธ.ค. 2021)

ลอสแอนเจลิส, 17 ธ.ค. (ซินหัว) -- การศึกษาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะของนาซา (NASA) พบว่าดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ จำนวน 17 ดวง อาจมีมหาสมุทรที่มีน้ำในรูปแบบของเหลวซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิต อยู่ใต้ชั้นเปลือกน้ำแข็ง

นาซาระบุว่าดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ เป็นโลกที่อยู่นอกระบบสุริยะของเรา น้ำจากมหาสมุทรเหล่านี้อาจปะทุผ่านชั้นเปลือกน้ำแข็งในรูปแบบไกเซอร์ (geysers) หรือปรากฏการณ์น้ำพุร้อนทางธรรมชาติเป็นครั้งคราว

ทีมวิทยาศาสตร์ได้คำนวณปริมาณกิจกรรมของน้ำพุร้อนไกเซอร์บนดาวเคราะห์ดังกล่าวเป็นครั้งแรก พร้อมระบุดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะสองดวงที่อยู่ใกล้เคียงมากพอในระดับที่ทำให้สามารถสังเกตสัญญาณการปะทุเหล่านี้ได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์

ลินเนย์ ควิก ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์การบินอวกาศก็อดดาร์ดของนาซาในเมืองกรีนเบลท์ รัฐแมริแลนด์ เผยว่าการวิเคราะห์ของเราคาดว่าโลกทั้ง 17 ใบนี้อาจมีพื้นผิวที่ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง แต่ได้รับความร้อนภายในเพียงพอจากการสลายตัวของธาตุกัมมันตภาพรังสี และแรงไทดัล (tidal force) ซึ่งทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลงจากดาวฤกษ์แม่ เพื่อรักษามหาสมุทรภายในไว้

ควิกเสริมว่าดาวเคราะห์ทุกดวงในการศึกษาของเราอาจยังแสดงการปะทุของภูเขาไฟน้ำแข็ง (cryovolcanic) ในรูปแบบของกลุ่มควันคล้ายน้ำพุร้อนไกเซอร์ เนื่องมาจากปริมาณความร้อนภายในที่พวกมันสัมผัส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง