รีเซต

สายรัดศีรษะ ลดอาการปวดหัวได้จริงหรือไม่?

สายรัดศีรษะ ลดอาการปวดหัวได้จริงหรือไม่?
TeaC
12 กุมภาพันธ์ 2565 ( 14:49 )
266

ข่าววันนี้ สายรัดศีรษะ ลดอาการปวดได้จริงหรือไม่? ใครที่มีอาการปวดหัว ลองมาศึกษาจะได้รีเช็ตตัวเองว่า อาการที่เจอนั้นเป็นแบบไหน และบ่งบอกถึงอะไรได้บ้าง จะได้สังเกตตัวเอง รู้เท่าทันว่า อาการปวดแบบไหนควรรีบพบแพทย์เพื่อรักษา 

อาการปวดหัว แบบไหน? ต้องหาหมอ

 

ทั้งนี้ นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า อาการปวดหัว สิ่งสำคัญคือ การสังเกตอาการปวดหัวของตัวท่านและคนในครอบครัวเองว่า ลักษณะอาการปวดหัวนั้น มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องรีบไปรับการตรวจรักษามากน้อยเพียงใด โดยอาการที่ถือเป็นสัญญาณเตือนอาการปวดหัวที่ต้องรีบไปรับการตรวจรักษา ได้แก่

  • อาการปวดหัวที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในผู้สูงอายุ หรืออายุเกิน 50 ปี โดยไม่เคยปวดลักษณะนี้มาก่อน

  • อาการปวดที่เกิดขึ้นทันทีทันใดและรุนแรงมาก

    • อาการปวดหัวร่วมกับความผิดปกติทางระบบประสาท อาทิ
    • เห็นภาพซ้อน มองไม่ชัด
    • แขนขาชาหรืออ่อนแรง
    • หน้าเบี้ยว มุมปากตก
    • เดินเซ ทรงตัวไม่ได้
    • พูดลำบาก พูดไม่ชัด
    • ฟังไม่เข้าใจหรือพูดไม่ออก
    • มีอาการชักเกร็ง
    • มีไข้
    • คอแข็ง ก้มเงยคอไม่ได้ เนื่องจากเจ็บหรือปวดมาก ๆ โดยเฉพาะบริเวณท้ายทอย


  • อาการปวดหัวในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือผู้ที่มีประวัติเป็นมะเร็งที่อวัยวะอื่น ๆ

  • มีอาการปวดหัวร่วมกับตาแดง ตามัว หรือมองเห็นภาพแคบลงหรือเปลี่ยนแปลงไป

  • อาการปวดหัวเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งความถี่ และความรุนแรง รับประทานยาแล้วไม่ดีขึ้น

  • อาการปวดหัวเฉพาะที่ ไม่มีการย้ายตำแหน่ง ปวดที่เดิมตลอด

 

ขณะที่ นายแพทย์ธนินทร์  เวชชาภินันท์  ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า ถ้าอาการปวดหัวนั้นเกิดขึ้นจากเหตุและปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ อาทิ

  • ภาวะเครียดจากงานหรือสภาพจิตใจ
  • อุณภูมิร้อนหรือเย็นเกินไป
  • สภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังหรือวุ่นวาย
  • การทำกิจกรรมที่มากหรือหนักเกินไป
  • ปวดหัวจากโรคกลุ่มไมเกรน

 

ซึ่งอาการปวดหัวจากโรคในกลุ่มนี้มักจะไม่ค่อยรุนแรง แต่อาจรบกวนการทำกิจวัตประจำวันเป็นแต่ละครั้งอาจจะหายเร็วหรือช้าแตกต่างกันไป ตำแหน่งมักจะกินพื้นที่ของบริเวณศีรษะค่อนข้างมาก หรือมีการเปลี่ยนย้ายตำแหน่งของอาการปวดไปตามส่วนต่าง ๆ ของศีรษะ บางครั้งซ้าย บางครั้งขวา เป็นต้น

 

หากท่านหรือคนในครอบครัวมีอาการปวดหัวร่วมกับสัญญาณเตือน ควรรีบไปรับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลทันที แต่หากมีอาการปวดโดยปราศจากสัญญาณอันตรายข้างต้น แต่เข้าได้กับอาการปวดที่มีเหตุและปัจจัยกระตุ้นชัดเจน อาจจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงเหตุดังกล่าว และสามารถรับประทานยาแก้ปวด รอสังเกตอาการ หรือบางท่านอาจจะเลือกใช้วิธีการบีบนวดศีรษะ ฝังเข็ม ฟังดนตรีผ่อนคลาย ก็อาจจะช่วยลดหรือบรรเทาอาการได้ในบางสาเหตุของอาการปวด

 

สายรัดศีรษะ ลดอาการปวดหัวได้จริงหรือไม่?

ส่วนกรณีการใช้สายรัดชงศีรษะนั้น  นายแพทย์ธนินทร์ กล่าวต่อว่า อาจจะบรรเทาอาการปวดเล็กน้อยจากการปวดหัวในกลุ่มที่ปวดจากความเครียดได้ คล้ายการบีบนวดศีรษะเบาเทาอาการ โดยไม่ได้อาศัยกลไกในการออกฤทธิ์ใด ๆ แต่ปัจจุบัน มีวิธีการรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรนที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 โดยใช้แผ่นคาดศีรษะที่มีการใช้ไฟฟ้าขนาดน้อย ๆ กระตุ้นเส้นประสาทดังกล่าวเพื่อลดการทำงานที่มากเกินไปหรือผิดปกติ เพื่อบรรเทาอาการปวดหัวจากไมเกรนได้ แต่ยังไม่ได้มีประสิทธิภาพที่ชัดเจนเมื่อเทียบกับการรักษาด้วยวิธีมาตรฐานอื่น ๆ และราคายังค่อนข้างสูง

 

หากจะเลือกใช้วิธีการรักษาใด ควรศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วน เพื่อป้องกันอันตรายหรือภาวะแทรกซ้อนรวมถึงความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับราคา แต่ดีที่สุดคือการเข้ารับการตรวจรักษาและข้อรับคำแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง