รีเซต

Work Form Home ไม่ถูกวิธีอาจเสี่ยงเป็นโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรมไม่รู้ตัว

Work Form Home ไม่ถูกวิธีอาจเสี่ยงเป็นโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรมไม่รู้ตัว
Ingonn
18 พฤษภาคม 2564 ( 15:18 )
58
Work Form Home ไม่ถูกวิธีอาจเสี่ยงเป็นโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรมไม่รู้ตัว

หนุ่มสาวออฟฟิศที่ใช้ชีวิตติดคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานจนเกินไป หากมีอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อย ปวดหลังปวดไหล่ ปวดต้นคอ รวมทั้งอาการผิดปกติของสายตานั่นเป็นสัญญาณบอกว่ากำลังเสี่ยงเป็นคอมพิวเตอร์ซินโดรม (Computer Syndrome)

 

 

วันนี้ TrueID จะพามารู้จักโรคที่มักมากับคอมพิวเตอร์ เมื่อใช้งานคอมพิวเตอร์นานๆ อาจเสี่ยงให้เกิดอาการเหล่านี้ได้โดยไม่รู้ตัว

 

 


ขยันทำงานมากๆ เสี่ยงเสียชีวิต!


องค์การอนามัยโลกชี้ว่า การทำงานหลายชั่วโมงในแต่ละวัน ทำให้มีผู้คนเสียชีวิต จากโรคหลอดเลือดในสมองและโรคหัวใจ หลายแสนคนต่อปี อีกทั้งในภาวะการระบาดของโควิด-19 ทำให้บางคนทำงานมากขึ้น ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตมากขึ้นด้วย

 

งานวิจัยที่ทำร่วมกันระหว่าง WHO และองค์กรแรงงงานนานาชาติ (International Labour Organization) ได้รับการตีพิมพ์โดย Environment International ถึงความสูญเสียที่เชื่อมโยง กับการทำงานเป็นระยะเวลายาวนานในแต่ละวัน

 

ผลวิจัยพบว่าเมื่อปี 2016 มีประชากรโลกมากถึง 745,000 คน เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดในสมองและโรคหัวใจ ล้วนเป็นผลสืบเนื่องจากการทำงานนานเกินไป การทำงานมากกว่า 55 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง 35% และเสี่ยงเสียชีวิตจากโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 17% เมื่อเทียบกับผู้ที่ทำงานราว 35-40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แม้งานวิจัยชิ้นนี้ จะไม่ได้วิจัยในช่วงของการระบาดของโรคโควิด-19 แต่ WHO ชี้ว่า ผลของการทำงานระยะไกล การทำงานจากที่บ้าน หรือ WFH ซึ่งมีชั่วโมงทำงานมากกว่า เฉลี่ยเพิ่มขึ้นราว 10% รวมถึงภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา อาจทำให้ความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคเหล่านี้มีเพิ่มขึ้นด้วย 

 

 


คอมพิวเตอร์ซินโดรม (Computer Syndrome) หรือโรคที่มาจากการใช้คอมพิวเตอร์

 

1.ปวดมือ  เพราะต้องใช้เมาส์ในการขยับมือกดคลิกหรือเลื่อนพิมพ์งานมากๆ  ทำให้เกิดอาการเมื่อยหรือชานิ้วฝ่ามือทำให้กระดูกข้อมือนิ้ว เจ็บปวดและเสื่อมเกิดการอักเสบของพังผืดบริเวณข้อมือ

 

2.ปวดหลัง  เนื่องจากการนั่งในท่าเดิม  เป็นเวลานาน โดยไม่เปลี่ยนท่า กล้ามเนื้อหลังตั้งแต่บ่าสะบัก และกล้ามเนื้อ 2 ข้างของกระดูกสันหลังจะมีการหดเกร็งตัวเพื่อให้อยู่ในท่าเดิมตลอดเวลา

 

3.โรคขาดสารอาหาร  เกิดจากรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่  หรือไม่ถูกต้องตามหลักอาหารไม่ครบ 5 หมู่  หรือไม่ถูกต้องตามหลัก

 

4.โรคกระเพาะอาหาร เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์นาน รับประทานอาหารไม่เป็นเวลาทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารและมีอาการปวดท้อง

 

5.โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เกิดจากการกลั้นปัสสาวะ โดยเฉพาะผู้หญิง

 

6.โรคตาจากจอคอมพิวเตอร์ (Computer Vision Syndrome)  มีอาการปวดตา แสบและเจ็บตาตาพร่า เมื่อยตา และระคายเคืองตา

 

 

ปรับสักนิด ชีวิตหายเสี่ยง


อาการเหล่านี้เป็นอาการชั่วคราว แต่หากเป็นบ่อยๆจะเกิดอันตรายขึ้นได้ ถ้าใครที่รู้ตัวเองว่าเข้าข่ายเป็นคอมพิวเตอร์ซินโดรม ให้ปรับอุปกรณ์การทำงานและคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในแต่ละวัน ดังนี้

 

เก้าอี้  ควรเป็นขนาดที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลสะโพก หัวเข่า ข้อเท้าควรทำมุมอย่างน้อย 90 องศา พนักพิงจะต้องสัมผัสกับแผ่นหลังโดยสมบูรณ์ และที่เท้าแขนสามารถช่วยพยุงแขนขณะใช้คีย์บอร์ดหรือต่ำกว่าระดับสายตา สามารถปรับความสูงได้และควรใช้จอกรองแสงเพื่อป้องกันแสงจ้าและรังสี

 

 

คีย์บอร์ดและเมาส์  ควรวางในระยะห่างและความสูงที่พอเหมาะ ปล่อยแขนตามธรรมชาติและให้ข้อศอกอยู่ใกล้ตัว จะช่วยให้เกิดมุมที่เหมาะสมระหว่างข้อศอกและข้อมือ

 

 

ถาดวางคีย์บอร์ดและเมาส์ ต้องมั่นคงแข็งแรง โดยข้อมืออยู่ในตำแหน่งกลาง สามารถวางที่พักข้อมือได้

 

 

ที่พักข้อมือ ต้องปราศจากขอบที่แข็งหรือคม หน้ากว้างเพียงพอแก่การพยุงข้อมือและฝ่ามือ

 

 

โคมไฟ ให้แสงสว่างพอเพียง เพื่อลดแสงจ้าบนเอกสารหรือบนจอคอมพิวเตอร์

 

 


คอมพิวเตอร์ซินโดรม VS ออฟฟิศซินโดรม ต่างกันไหม

 

ออฟฟิศซินโดรม คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด รวมถึงอาการปวดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและเอ็น มีอาการปวด ชาจากปลายประสาทที่ถูกกดทับ ซึ่งอาการเหล่านี้มักพบได้บ่อยในผู้ที่นั่งทำงานในออฟฟิศ มีสาเหตุมาจากท่าทางการทำงาน ลักษณะท่านั่งทำงาน การวางมือ ศอก บนโต๊ะทำงานที่ไม่ถูกต้อง การบาดเจ็บจากงานซ้ำ ๆ หรือระยะเวลาในการทำงานที่มากเกินไป ทำให้ร่างกายเกิดการล้า เช่น การใช้ข้อมือซ้ำๆ ในการใช้เมาส์ อาจทำให้เกิดการอักเสบของเอ็นบริเวณข้อมือ หรือพังผืดเส้นประสาทบริเวณข้อมือได้ รวมถึงสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น ลักษณะโต๊ะทำงาน หน้าจอคอมพิวเตอร์ แสงสว่างในห้องทำงาน

 

 

อาการของออฟฟิศซินโดรม 


1.อาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด โดยเฉพาะปวดบริเวณคอ บ่า สะบัก ซึ่งบางครั้งอาจส่งผลทำให้เกิดอาการของระบบประสาทอัตโนมัติร่วมด้วย เช่น วูบ เหงื่อออก ตาพร่า หูอื้อ มึนงง ชา เป็นต้น


2.การอักเสบของเส้นเอ็นบริเวณข้อศอก ข้อมือ นิ้วมือ เช่น การอักเสบของเอ็นโค่นนิ้วโป้ง นิ้วล็อค 


3.การกดทับปลายประสาท ทำให้เกิดอาการชา รวมถึงอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ อาจรุนแรงได้ เช่น พังผืดทบเส้นประสาทข้อมือ หรือพังผืดทับเส้นประสาทบริเวณข้อศอก 

 

 


แนวทางการรักษา


1.ออกกำลังกายหรือยืดกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ เช่น  ยืดกล้ามเนื้อระหว่างทำงาน เล่นโยคะ เป็นต้น

 


2.ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม โดยเฉพาะพื้นที่ทำงานของคุณ โดย จอคอมพิวเตอร์แนวตรงกับหน้า และอยู่เหนือกว่าระดับสายตาเล็กน้อย และตั้งห่างเท่ากับความยาวแขน ปรับเก้าอี้ให้เท้าสามารถวางพื้นได้พอดี แป้นพิมพ์ทำมุม 90 องศากับระดับข้อศอก

 

 

3.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน คอยยืดเหยียดกล้ามเนื้อระหว่างทำงาน คอยเปลี่ยนอริยาบถเพื่อให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย หากจำเป็นต้องทำงานที่หน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ ควรพักสายตาอย่างน้อยทุก ๆ 10 นาที

 

4.เข้ารับการทำกายภาพบำบัด ฝังเข็ม หรือนวด เพื่อลดความเสี่ยง และลดอาการออฟฟิศซินโดรม

 

 

 


ข้อมูลจาก กรมอนามัย , TNN WORLD , โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

 

 

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง