รีเซต

รู้ทันโควิด : แบบนี้ไง!ที่เรียกว่า 'อ้วน'

รู้ทันโควิด : แบบนี้ไง!ที่เรียกว่า 'อ้วน'
TeaC
16 พฤษภาคม 2564 ( 14:41 )
574
รู้ทันโควิด : แบบนี้ไง!ที่เรียกว่า 'อ้วน'

 

 

แม่ น้ำหนัก 80 กก. อยู่ในเกณฑ์ ผู้ป่วยโรคอ้วนหรือเปล่า?

น้ำไหนเท่าไหร่? ถึงจะเรียกว่า โรคอ้วน แล้วฉีดวัคซีนโควิดได้

 

 

 

 

 

 

เชื่อว่าเป็นคำถามที่ทุกคนต่างสงสัย วันนี้ TrueID รวบรวมคำตอบมาให้ทุกคนที่ดูและคุณพ่อคุณแม่ หรือคนที่รู้จักมีรูปร่างไม่สมส่วน เพื่อช่วยกันสร้างความเข้าใจในการลงทะเบียนจองวัคซีนโควิด ได้อย่างมั่นใจกัน 

 

 

สำหรับคนอ้วน หากติดเชื้อโควิด-19 อาจเป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาะวะแทรกซ้อนในระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีอาการรุนแรงขึ้นและอาจถึงเสียชีวิตได้

 

 

ซึ่ง โรคอ้วน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ได้ ดังนั้น ก่อนรับวัคซีนต้องสำเรวจคนในครอบครัวสักนิด หรือแม้กระทั่งตัวเราเอง อยู่ในเข้าข่ายเป็น "คนอ้วน" หรือไม่ โดยมีหลักเกณฑ์เบื้องต้น ดังนี้

 

 

  • อ้วนคนที่มีน้ำหนัก 100 กิโลกรัม หรือ คนที่มีดัชนีมวลกาย 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (BMI 35)

 

 

ส่วน การวัดค่าดัชนีมวลกาย หรือที่เรียกว่า  BMI : Body Mass Index  สามารถหาค่าได้โดยการชั่งน้ำหนักตัว หน่วยเป็นกิโลกรัม และวัดส่วนสูง หน่วยเป็นเมตร แล้วนำมาหาดัชมีมวลกาย โดยใช้สูตร ตามด้านล่างนี้

 

 

  • ดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)  ส่วนสูง (เมตร) 2

 

 

ยกตัวอย่าววิธีการวัดให้เข้าใจง่าย ๆ  สมมติถ้าสมาชิกในครอบครัวท หรือตัวเราเอง มีน้ำหนักตัวอยู่ที่ 70 กิโลกรัม และสูง 165 เซนติเมตร (1.65 เมตร)

 

 

การคำนวณจะเป็น ดัชนีมวลกาย (BMI) = 70 หารด้วย 1.65 คูณกันสองครั้ง ได้เท่ากับ  25.71  นับเป็นโรคอ้วนระดับ 1 แต่ยังไม่อันตราย จึงยังไม่ถึงเกณฑ์ ฉีดวัคซีนในรอบแรก

 

 

และหากใครที่ลองคำนวณ สามารถเช็กรายละเอียดเพื่อประเมินตัวเราเอง และสมาชิกในครอบครัวได้ 

 

  • ค่าที่ได้น้อยกว่า 18.5 อยู่ในเกณฑ์ ผอมเกินไป
  • ค่าที่ได้อยู่ระหว่าง 18.5-22.9  อยู่ในเกณฑ์ ที่เหมาะสม (น้ำหนักตัวปกติ)
  • ค่าที่ได้อยู่ระหว่าง 23-24.9 อยู่ในเกณฑ์ น้ำหนักเกิน (ท้วม)

 

 

  • ค่าที่ได้มากกว่า 25-29.9 อยู่ในเกณฑ์ อ้วน (จัดเป็นโรคอ้วนระดับที่ 1)
  • ค่าที่ได้มากกว่า 30 อยู่ในเกณฑ์ อ้วนเกินไป (จัดเป็นความอ้วนระดับอันตราย เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ)  แต่ที่จองฉีดวัคซีนยังต้องเป็นคนที่ได้ค่า BMI มากกว่า 35 ปี

 

 

อย่างไรก็ตาม การสำรวจความพร้อมและการเตรียมความพร้อมร่างกายในการฉีดควัคซีนโควิดเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะสมาชิกในครอบครัวที่อยู่ในกลุ่ม 7 โรคเสี่ยง เช่น โรคอ้วน การรู้เกณฑ์น้ำหนักของตัวเราเอง หรือสมาชิกในครอบครัวนั้น จะช่วยให้รับการฉีดวัคซีนได้อย่างมั่นใจ และหากรู้สึกกังวล หรือยังสงสัย ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ขอคำแนะนำก่อนฉีดวัคซีนโควิดดีที่สุด 

 

 

ข้อมูล : PPTV

ข่าวที่เกี่ยวข้อง