รีเซต

นักวิทย์ฯ สกัด DNA จากสิ่งมีชีวิตในก้อนอำพันได้สำเร็จเป็นครั้งแรก

นักวิทย์ฯ สกัด DNA จากสิ่งมีชีวิตในก้อนอำพันได้สำเร็จเป็นครั้งแรก
TNN ช่อง16
7 ตุลาคม 2563 ( 00:09 )
1.6K
นักวิทย์ฯ สกัด DNA จากสิ่งมีชีวิตในก้อนอำพันได้สำเร็จเป็นครั้งแรก

นักวิทยาศาสตร์หัวใจค้นพบก้อนอำพันภายในมียุงที่เคยอาศัยร่วมโลกกับไดโนเสาร์วันดีคืนดีนักวิทยาศสาตร์เหล่านี้ได้สกัดเอา “เลือดไดโนเสาร์” จากยุงในก้อนอำพัน เพื่อนำไปโคลนนิ่งไดโนเสาร์ให้กลับมามีชีวิตบนโลกปัจจุบันอีกครั้ง...

พล็อตเรื่องเหนือจินตนาการนี้มาจากภาพยนตร์ JurassicPark ซึ่งกลายเป็นแรงบันดาลให้นักวิทยาศาสตร์ยุคปัจจุบันพยายามฟื้นคืนชีพสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ให้กลับมาโลดแล่นได้อีกครั้งหนึ่งแต่มันทำได้จริงหรือ?


ที่มาของภาพ https://jurassicpark.fandom.com/wiki/DNA_in_Amber

แม้ความพยายามในการสกัดเอาเลือดจากยุงในอำพันดูเป็นเรื่องเหนือความคาดหมายแต่มีนักวิทยาศาสตร์ไม่น้อยที่เคยทำการทดลองเพื่อพิสูจน์แนวคิดนี้และไม่เคยทำได้สำเร็จเลยสักครั้ง นั่นเป็นเพราะ DNA หรือสารพันธุกรรมพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตในเลือดเหล่านั้นได้ถูกทำลายไปหมดจนไม่สามารถนำมาใช้การได้อีก

หมายความว่าความพยายามนี้ล้มเหลวใช่หรือไม่? นักวิทยาศาสตร์จากพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติเซงก์เคนเบิร์ก ประเทศเยอรมนีได้นำเสนอว่า หากคุณต้องการจะโคลนนิ่งสิ่งมีชีวิตขึ้นมาสักตัวหนึ่งส่วนประกอบสำคัญคือ DNA สารพันธุกรรมที่สามารถพบได้ทั่วร่างกายและมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิดบนโลกเลือดของไดโนเสาร์ที่ถูกยุงดูดกินก็มีส่วนประกอบของ DNA ด้วยเช่นกันแต่เหตุที่เราไม่สามารถทำการโคลนนิ่งหรือศึกษาข้อมูลจากเลือดไดโนเสาร์ได้นั้นเป็นเพราะ DNA ได้ถูกทำลายหรืออยู่ในสภาพที่ใช้การไม่ได้แล้ว


ที่มาของภาพ https://www.yqqlm.com/2020/07/the-most-embarrassing-thing-on-earthit-turns-amber-when-mating-and-will-be-watched-after-41-million-years/

ก็น่าจะเป็นเช่นนั้นอำพันหรือยางไม้ที่อยู่รอดมาตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์คงมีอายุนานหลายสิบล้านปี โอกาสที่DNAจะอยู่รอดมาได้นั้นเป็นไปได้ยาก อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ยังคงต้องความชัดเจนนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งจึงเริ่มทำการทดลองเพื่อดูว่าจริง ๆ แล้ว DNA ของสิ่งมีชีวิตที่ถูกฝังอยู่ในอำพันจะสามารถนำกลับมาศึกษาได้อีกหรือไม่

นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้เลือกใช้ก้อนอำพันอายุ 2 และ 6 ปี ภายในอำพันมี “มอดรูเข็ม” (Ambrosiabeetle) จำนวนหลายตัว ซึ่งพวกเขาจะนำ DNA ที่ได้จากชิ้นส่วนของแมลงเหล่านี้มาใช้ในการศึกษารหัสพันธุกรรมของแมลง และทดลองเพิ่มจำนวน DNA ด้วยวิธียอดนิยม เรียกว่า Polymerase chain reaction (PCR)


มอดรูเข็มในอำพัน
ที่มาของภาพ
https://www.forbes.com/sites/davidbressan/2020/09/30/for-the-first-time-scientists-successfully-extract-dna-from-insects-embedded-in-tree-resin/#5d9ae9bc1445

ผลการทดลองทำให้ค้นพบว่า สาเหตุหลักที่ทำให้ DNA ถูกทำลายไปตั้งแต่ขั้นตอนการละลายยางไม้ (ก้อนอำพัน) มาจากการใช้แอลกอฮอล์ซึ่งเป็นพิษต่อ DNA แต่เมื่อเปลี่ยนไปใช้สารชนิดอื่นปรากฏว่า DNA ยังคงอยู่ในสภาพสมบูรณ์

อีกปัญหาหนึ่งที่ตามมาคือการเพิ่มจำนวน DNA ด้วยวิธี PCR พบว่าเกิดการเพิ่มจำนวนน้อยกว่าที่ควรจะเป็นซึ่งคาดว่ามาจากสารบางชนิดในอำพันหรือยางไม้ รบกวนกระบวนการ PCR นี้ นักวิทยาศาสตร์จึงพยายามชะล้างยางไม้ออกจากชิ้นส่วนให้สะอาดมากที่สุดปรากฏว่าการเพิ่มจำนวน DNA เป็นไปในทางที่ดีขึ้น และสามารถนำDNA เหล่านี้มาศึกษารหัสพันธุกรรมของแมลงได้ นับเป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์สามารถสกัดDNA จากสิ่งมีชีวิตในอำพันได้


ที่มาของภาพ http://www.sci-news.com/paleontology/science-dinosaur-dna-amber-01383.html

ถึงกระนั้นนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า DNA ในสิ่งมีชีวิตที่ฝังอยู่ในก้อนอำพันจะอยู่ได้นานเท่าไรเพราะการทดลองนี้ศึกษาเพียงแค่อำพันอายุ 2 และ 6 ปีเท่านั้น อีกทั้งนักวิทยาศาสตร์ยังเชื่อว่าน้ำในสิ่งมีชีวิตจะมีบทบาทในการคงสภาพของ DNA ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับชนิดของยางไม้นั้นๆ ด้วย ว่าจะสามารถป้องกันการระเหยของน้ำในร่างกายสิ่งมีชีวิตได้นานขนาดไหน 

ในอนาคตทีมนักวิทยาศาสตร์จะทำการศึกษาเพิ่มเติมโดยค้นหาอำพันที่มีอายุแตกต่างกันไป แล้วติดตามดูว่า DNA ของสิ่งมีชีวิตในอำพันจะอยู่ได้นานที่สุดเป็นเวลากี่ปีก่อนที่จะสลายตัวไปไม่แน่สักวันหนึ่ง เราอาจจะได้เห็นไดโนเสาร์ตัวเป็น ๆจากห้องแลปที่ใดที่หนึ่งบนโลกก็เป็นได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Forbes

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง