รีเซต

สำรวจประวัติ เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ หลังมีนักโทษติดโควิดกว่า 2 พันราย

สำรวจประวัติ เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ หลังมีนักโทษติดโควิดกว่า 2 พันราย
Ingonn
13 พฤษภาคม 2564 ( 12:00 )
816

สร้างความกังวลใจอย่างมาก เมื่อกรมราชทัณฑ์ได้ตรวจเชิงรุก เจ้าหน้าที่และผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถานพบติดเชื้อโควิด-19 กว่า 2 พันราย ทำให้เป็นที่สงสัยว่าภายในเรือนจำที่คนส่วนใหญ่ไม่เคยเข้าไป มีการดูแลและการควบคุมสถานการณ์โควิดอย่างไร ถึงได้มีการติดเชื้อเป็นจำนวนมาก

 

 

 

 


ตัวเลขการติดเชื้อในเรือนจำ


ทัณฑสถานหญิงกลาง มียอดผู้ติดเชื้อรวม 1,040 ราย และเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร มียอดผู้ติดเชื้อรวม 1,795 ราย รวมทั้งสิ้น 2,835 ราย 

 

 

ผู้ต้องขังที่ตรวจพบเชื้อจะได้รับการรักษาโดยการให้ยาฟาวิพิราเวียร์ ทุกรายอยู่ระหว่างการรักษาตัวที่โรงพยาบาลสนาม ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ หากในบางรายมีอาการหนักจะได้มีการย้ายออก เพื่อรับการรักษายังโรงพยาบาลภายนอก 

 

 

ขณะที่ได้มีแดนกักโรคและโรงพยาบาลสนาม โดยมีแพทย์และพยาบาลดูแลอย่างใกล้ชิด และการให้ยารักษาและการดูแลทุกอย่างเป็นไปตามมาตรฐานของสาธารณสุข รวมทั้งมีการวางแผนเพื่อฉีดวัคซีนให้ผู้ต้องขังด้วย อยู่ระหว่างรอการจัดสรรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

 


เรือนจำกรุงเทพมหานครหรือดินแดนสนธยาสำหรับคนที่กระทำความผิดเท่านั้นถึงจะได้เข้าไปพักอาศัยจะมีความเป็นมาอย่างไร และนักโทษอยู่อาศัยกันแบบไหน ไปติดตามกัน

 

 


ผู้ต้องขังในเรือนจำอยู่กันอย่างไร


เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่ควบคุมผู้ต้องขังระหว่างสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องระหว่างพิจารณาคดีทั่วไปไม่มีคดียาเสพติด ระหว่างอุทธรณ์ ระหว่างฎีกา และคดีเด็ดขาดที่กระทำผิดอาญา ควบคุมผู้ต้องขังชายทุกคดี ยกเว้นผู้ต้องขังหญิง ในเขตอำนาจศาลกรุงเทพฯ  ยกเว้นผู้กระทำผิดในเขตมีนบุรี หนองจอก ลาดกระบังและเขตฝั่งธนบุรี สำหรับนักโทษเด็ดขาด มีอำนาจควบคุมเฉพาะผู้ต้องขังที่มีกำหนดโทษไม่เกิน 7 ปี

 

 

ผู้ต้องขังเข้าใหม่ทุกคนจะต้องถูกส่งตัวเข้าสถานแรกรับ (แดน1) อย่างน้อย1 สัปดาห์ เรียกได้ว่าเป็นด่านละลายพฤติกรรม ปรับสภาพจิตใจ โดยจะมีการอบรมเรื่องระเบียบวินัยขณะที่อยู่ในเรือนจำอีกด้วย

 

 

เมื่อผู้ต้องขังเข้าใหม่อยู่ในสถานแรกรับครบหนึ่งสัปดาห์แล้ว  จะต้องทำการจำแนกลักษณะและแยกไปคุมขัง ตามแดนต่างๆ  โดยการจำแนกแต่ละครั้งคณะกรรมการจะต้องตรวจสอบประวัติผู้ต้องขังอย่างละเอียด ทั้งด้านสุขภาพร่างกาย รอยสัก รอยแผลเป็น พฤติกรรมต่างๆ หรือสุขภาพจิต เพื่อจะได้ดำเนินการด้านทัณฑปฏิบัติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาหรือประกอบอาชีพในเรือนจำตามความเหมาะสม

 

 


ผู้ต้องขังห้ามนำสิ่งของอะไรเข้าเรือนจำ


1. สิ่งของต้องห้ามที่ไม่อนุญาตฝากให้แก่ผู้ต้องขัง


2.  ฝิ่น  กัญชา  ยาเสพติด  หรือของมึนเมาอย่างอื่น


3.  สุรา หรือน้ำเมาที่ดื่มได้เมาเหมือนสุรา


4.  เครื่องอุปกรณ์สำหรับเล่นการพนัน


5.  เครื่องอุปกรณ์ในการหลบหนี


6.  สาตราวุธ


7.  ของเน่าเสีย หรือของมีพิษต่อร่างกาย


8.  วัตถุระเบิด  หรือน้ำมันเชื้อเพลิง


9.  สัตว์มีชีวิต

 

 

หากญาติต้องการซื้อของมาฝากผู้ต้องขัง ทางเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ  ได้จัดร้านค้าไว้บริเวณหน้าเรือนจำฯ (หน้าห้องเยี่ยม ญาติ)  เพื่อจำหน่ายสิ่งของต่างๆ ในราคาปกติ และสิ่งของที่ซื้อจากร้านค้าฯ ของเรือนจำฯ  จะใส่ถุง พลาสติกปิดผนึกอย่างดี ทำให้ฝากส่งให้แก่ผู้ต้องขังได้อย่างรวดเร็ว หากท่านนำสิ่งของมาจากที่อื่นๆ ทางเรือนจำฯ จะทำการตรวจค้นสิ่งของนั้นอย่างละเอียด เพื่อป้องกันการซุกซ่อน หรือลักลอบนำสิ่งของต้องห้ามนำเข้าภายในเรือนจำฯ

 

 


ประวัติความเป็นมาก่อนจะเป็นเรือนจำกลางกรุงเทพฯ


เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ก่อสร้างเมื่อ ร.ศ.109 (พ.ศ. 2433) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่า ที่ต้องขังจองจำผู้กระทำความผิดต้องควบคู่ไปกับศาลสถิตยุติธรรม ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ให้จัดซื้อที่ดินตำบลตรอกคำ ทำการก่อสร้าง ทรงส่งพระยาไชยวิชิตสิทธิศาสตรา (นาค ณ ป้อมเพชร) ซึ่งเคยไปรับราชการสถานทูตไทย ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ไปดูรูปแบบที่สิงคโปร์ โดยนำแบบเรือนจำบริกซ์ตัน อันเป็นเรือนจำระดับความมั่นคงสูงสุดมาใช้ การก่อสร้างเสร็จสิ้นสามารถย้ายนักโทษเข้าไปอยู่ได้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ร.ศ. 109 และได้รับการขนานนามว่า "คุกกองมหันต์โทษ" หรือเรียกกันว่า "คุกใหม่" มีอายุเก่าแก่ถึง 103 ปี และได้เปลี่ยนชื่อหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายใช้ชื่อว่า "เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร"

 

 

เมื่อปี พ.ศ. 2534 คณะรัฐมนตรีได้มีนโยบายย้ายเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ออกจากที่เดิมถนนมหาไชย เพื่อปรับปรุง "เรือนจำกลางคลองเปรม" และได้ย้ายผู้ต้องขังจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครมาควบคุมรวมกัน และให้ปรับปรุงพื้นที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครเป็นสวนสาธารณะ ซึ่งเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร มีอายุยาวนานถึง 112 ปี

 

 

ปัจจุบันเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครแห่งใหม่นี้ ตั้งอยู่เลขที่ 33 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 ห่างจากศาลอาญา (รัชดา) ประมาณ 5 กิโลเมตร ห่างจากสถานีตำรวจนครบาลประชาชื่น ประมาณ 3 กิโลเมตร เนี้อที่ภายในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร 28 ไร่ 2 งาน 8 ตารางวา เนื้อที่ภายนอกกำแพงเรือนจำ รวมพื้นที่บริเวณแฟลตที่พักอาศัยประมาณ 148 ไร่เศษ

 

 


ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย ,  Geocities

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง