รีเซต

หมดปัญหาอ่านรีวิวสินค้าไม่ไหว Amazon ทดสอบใช้ AI สรุปให้แล้ว !

หมดปัญหาอ่านรีวิวสินค้าไม่ไหว Amazon ทดสอบใช้ AI สรุปให้แล้ว !
TNN ช่อง16
14 มิถุนายน 2566 ( 01:39 )
126

ซีเอ็นบีซี (CNBC) สื่อยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา รายงานข่าวแอมะซอน (Amazon) แพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์ชื่อดัง กำลังทดสอบการใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือว่าเอไอ (AI) มาสร้างข้อความสรุปรีวิวสินค้าที่ลูกค้าเขียนทิ้งไว้บนบางผลิตภัณฑ์อยู่ในตอนนี้


ลักษณะการใช้ AI สรุปรีวิวสินค้า

การทำงานของเอไอบนหน้าแพลตฟอร์มจะเป็นการเขียนข้อมูลภาพรวมว่าผู้ใช้งานมีความเห็นอย่างไรต่อตัวสินค้า สรุปเป็นรายการว่าผู้ซื้อชอบและไม่ชอบสิ่งใดบ้าง พร้อมทั้งแจ้งกับทุกคนที่อ่านว่า “นี่คือเนื้อหาสังเคราะห์จากเอไอจากรีวิวลูกค้า” (AI-generated from the text of customer reviews) เอาไว้


จากการตรวจสอบของ TNN Tech พบว่า ข้อความดังกล่าวจะแสดงอยู่บนแพลตฟอร์มแอปพลิเคชันของแอมะซอนตามที่เป็นข่าวจริง ยกตัวอย่างเช่น แมจิก มิกซี่ส์ (Magic Mixies) ของเล่นเด็กที่วางขายบนแพลตฟอร์มตามที่รายงานข่าวบนซีเอ็นบีซี จะมีเอไอเขียนสรุปไว้ว่า “ผู้ซื้อให้ความเห็นเชิงบวกกับความสนุก รูปลักษณ์ ความคุ้มค่า ประสิทธิภาพ คุณภาพ การชาร์จไฟ และการรั่วไหล อย่างไรก็ตาม ลูกค้าส่วนใหญ่มีความเห็นในทางลบกับ “สภาพสินค้าโดยรวม” เช่น ลูกค้าบางร้ายจ่ายในราคา 100 เหรียญ ที่พบว่าไม่คุ้มค่าเงิน ในขณะที่คนอื่นก็ประสบกับปัญหาคุณภาพสินค้าและการชาร์จไฟ แม้จะมีความเห็นผสมกันในด้านของความสะดวกในการใช้งาน แต่ภาพรวมก็เป็นสินค้าที่สนุกและเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับเด็ก

ภาพหน้าจอแอปพลิเคชัน Amazon บน iPadOS ของทีมงาน TNN Tech

 


ที่มาการพัฒนา AI สรุปรีวิวสินค้า

ทางแอมะซอนไม่ได้ระบุว่าความสามารถดังกล่าวทำได้อย่างไร โดยผู้ที่พบเห็นการทดสอบนี้คนแรกคือ มาร์ก เวียกทอเร็ค (Mark Wieczorek) ประธานเจ้าหน้าที่เทคนิค (CTO) ของฟอร์เทรส แบรนด์ (Fortress Brand) บริษัทการตลาดที่ทำงานกับแอมะซอน และทางบริษัทได้ออกมายืนยันว่าฟีเชอร์นี้อยู่ระหว่างการทดสอบจริง ๆ


โฆษกของแอมะซอนกล่าวย้ำว่าบริษัทได้ลงทุนมหาศาลเพื่อใช้เอไอสังเคราะห์ (Generative AI) กับธุรกิจในหลากหลายด้าน ซึ่งสอดคล้องกับการที่บริษัทได้ใช้เอไอเพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายโฆษณาและคำแนะนำมาโดยตลอดก่อนหน้านี้ 


การทดสอบฟีเชอร์นี้อาจช่วยแก้ปัญหาของแพลตฟอร์มที่ความคิดเห็นที่ถูกสร้างขึ้นโดยเอไอ ซึ่งมาจากกลุ่มลูกค้าบางส่วนที่ต้องการปั่นป่วนการรีวิว ตลอดจนบางบริษัทที่ต้องการสร้างภาพลักษณ์สินค้าให้เกินจริงได้


ที่มาข้อมูล CNBC

ที่มารูปภาพ Unsplash

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง