รีเซต

8 เรื่องน่ารู้ส่งตรงจากสถานีอวกาศนานาชาติ

8 เรื่องน่ารู้ส่งตรงจากสถานีอวกาศนานาชาติ
TNN ช่อง16
11 เมษายน 2565 ( 11:11 )
93
8 เรื่องน่ารู้ส่งตรงจากสถานีอวกาศนานาชาติ

1. สถานีอวกาศนานาชาติเริ่มการก่อสร้างเมื่อวันที่ 20 พฤษจิกายน 1998 โดยการส่งชิ้นส่วนขึ้นไปและทำการประกอบในวงโคจรต่ำของโลก (Low Earth Orbit หรือ LEO)


2. สถานีอวกาศนานาชาติโคจรด้วยความเร็ว 5ไมล์/วินาที จะโคจรครบรอบทุก ๆ 90 นาที ดังนั้นใน 1 วัน สถานีอวกาศจะโคจรรอบโลกทั้งหมด 16 ครั้ง นักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติจะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นและตก 16 ครั้งในวันเดียว


3. เราสามารถสังเกตเห็นสถานีอวกาศนานาชาติจากพื้นโลกได้ด้วยตาเปล่า เพราะขนาดที่ใหญ่ทำให้มันมีพื้นที่สะท้อนแสงมาก ในตอนกลางคืนจะเห็นมันมีแสงสว่างคล้าย ๆ กับดาวดวงอื่นบนท้องฟ้าแต่โคจรเร็วกว่า


4. ยานอวกาศ 8 ลำ สามารถเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติได้พร้อมกัน เนื่องจากมันมีขนาดที่ใหญ่มากจึงสามารถรองรับการเทียบท่าของยานอวกาศได้มากถึง 8 ลำ ในคราเดียว


5. ปีกแผงโซลาร์เซลของสถานีอวกาศนานาชาติยาวกว่าลำตัวของเครื่องบิน Airbus A380 เพราะระบบปฏิบัติการณ์ต่าง ๆ บนสถานีอวกาศนานาชาติจำเป็นจะต้องใช้ไฟฟ้าตลอด ดังนั้นแผงโซลาร์เซลจึงต้องมีขนาดใหญ่มากพอที่จะผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอสำหรับสถานีอวกาศนานาชาติทั้งสถานี


6. ต้องใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า 50 เครื่องในการควบคุมระบบบนสถานีอวกาศนานาชาติ มีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมดูแลสถานีอวกาศนานาชาติจากภาคพื้นดินร่วมกับนักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติ นาซาจึงมีฝ่ายที่เรียกว่า Ground Station หรือ ภาคพื้นดินสำหรับสถานีอวกาศนานาชาติโดยเฉพาะ ทั้งนี้เป็นไปเพื่อความปลอดภัยของสถานีอวกาศนานาชาติและตัวนักบินอวกาศ


7. Software code หรือ Source code เป็นคำสั่งปฏิบัติการณ์ที่เขียนในภาษาโปรแกรมของสถานีอวกาศนานาชาติมีความยาวมากกว่า 3 ล้านบรรทัด 


8. งานวิจัยเกือบ 3,000 ชิ้นเคยถูกทดลองในห้องปฏิบัติการณ์บนสถานีอวกาศนานาชาติ เกือบทั้งหมดเป็นงานทดลองที่มีสภาวะเกือบไร้แรงโน้มถ่วง หรือ Microgravity เข้ามาเป็นตัวแปร งานทดลองเหล่านี้จึงจำเป็นต้องทำในสภาวะเกือบไร้แรงโน้มถ่วง


ข้อมูลจาก www.nasa.gov

ภาพจาก www.nasa.gov

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง