รีเซต

สรุป NATO ฉบับ 2024 พร้อมสรุปยุทโธปกรณ์ที่มีในชาติสมาชิก ท่ามกลางบทบาทสำคัญในยุโรป

สรุป NATO ฉบับ 2024 พร้อมสรุปยุทโธปกรณ์ที่มีในชาติสมาชิก ท่ามกลางบทบาทสำคัญในยุโรป
TNN ช่อง16
19 มิถุนายน 2567 ( 11:08 )
40

NATO (North Atlantic Treaty Organization) หรือ องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ เป็นหนึ่งในองค์กรทางการทหารที่สำคัญในภูมิภาคยุโรป ท่ามกลางความขัดแย้งจนนำไปสู่ปฏิบัติการทางการทหารของรัสเซียที่มีต่อยูเครน จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า NATO เองก็จำเป็นต้องมีกำลังพลและยุทโธปกรณ์สำหรับสถานการณ์ต่าง ๆ และในบทความนี้ TNN Tech จะสรุปบทบาทและยุทโธปกรณ์ที่ NATO พร้อมชาติสมาชิกมีประจำการ


ประวัติความเป็นมาของ NATO 

NATO เป็นพันธมิตรทางการทหารที่เกิดขึ้นในยุคสงครามเย็นที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นชาติแกนนำ ซึ่งในตอนนั้นก็มีกลุ่มพันธมิตรจากอีกขั้วอย่างวอร์ซอว์ แพกต์ (Warsaw Pact) ที่นำโดยสหภาพโซเวียตในตอนนั้น แต่พอสหภาพโซเวียตล่มสลายไปก็เลยยุบบทบาทนี้ไปด้วย โดยบางส่วนก็มาเป็นสมาชิก NATO แทน


เราอาจเข้าใจว่าทุกชาติในยุโรปเป็นสมาชิก NATO แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะในปัจจุบันบางชาติก็ยังคงเลือกเป็นกลาง หรือบางชาติอย่างสวีเดนก็เพิ่งเป็นสมาชิกในปี 2024 นี้ 


โดยเป้าหมายของ NATO คือการปกป้องชาติสมาชิกด้วยกันเอง โดยการแชร์กำลังทางการทหารร่วมกัน ทำให้ปัจจุบัน NATO มีทหารและบุคลากรประมาณ 3.5 ล้านคน มีงบทางการทหารรวมเกือบ 50 ล้านล้านบาท หรือเกินกว่าครึ่งหนึ่งของงบทางการทหารของทั้งโลกรวมกัน



ตัวอย่างกำลังและยุทโธปกรณ์ทางการทหารในชาติสมาชิก NATO

กำลังทางทหารในชาติสมาชิก NATO นับเป็นขุมกำลังร่วมกัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาวุธจากค่ายตะวันตกที่นำโดยสหรัฐอเมริกา โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มอาวุธต่าง ๆ ดังนี้


1.อาวุธปืนและกระสุน

ด้วยความที่ NATO เป็นเครือข่ายทางการทหารขนาดใหญ่ จึงต้องมีการกำหนดมาตรฐานอาวุธ รวมถึงกระสุนที่ใช้ ยกตัวอย่างเช่น ปืนไรเฟิลจู่โจม (Assault rifle) ที่คุ้นตาอย่างเอ็มโฟร์ (M4) เอชเค 416 (HK416) จะใช้กระสุนขนาดเดียวกันที่เรียกว่า 5.56x45 NATO รวมไปถึงกระสุนปืนใหญ่ประเภทต่าง ๆ


นอกจากนี้ มาตรฐานอาวุธเหล่านี้มีอิทธิพลไปยังประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก NATO เนื่องจากมีการใช้งานเป็นจำนวนมาก แม้แต่ไทยเองก็ใช้งานอาวุธตามมาตรฐานนี้ไปด้วย แต่ใน NATO เองก็ยังมีชาติที่เคยอยู่ใน Warsaw Pact ซึ่งยังคงใช้ปืน Assault rifle ในกลุ่มคาลานิชคอฟ (Kalashnikov) หรือที่นิยมเรียกว่าเอเค (AK) ด้วยเช่นกัน 


2. รถถัง ปืนใหญ่ ระบบต่อต้านอากาศยาน

อาวุธหนักในกลุ่มทหารราบในตัวอย่างรถถัง กับปืนใหญ่ ถ้ารถถังหลัก หรือ Main Battle Tank (MBT) ส่วนใหญ่จะมาจากผู้ผลิตหลักในชาติสมาชิก อย่างเช่น เอ็มวัน เอแบรมส์ (M1 Abrams) จากสหรัฐอเมริกา เลพเพิร์ด ทู (Leopard 2) จากเยอรมนี ชาเลนเจอร์ ทู (Challenger 2) จากอังกฤษ หรือที่ไม่คุ้นชื่อสำหรับคนทั่วไปอย่าง เลแคลร์ก (Leclarc) จากฝรั่งเศส

ส่วนปืนใหญ่ ตัวอย่างที่สำคัญ ได้แก่ ซีซาร์ (CEASAR) ระบบปืนใหญ่จากฝรั่งเศสที่มีประจำการในกองทัพบกของไทย ตลอดจนเอ็มวันโอไนน์ เฮาว์เซอร์ (M109 howitzer) ของสหรัฐอเมริกา


ในขณะที่ระบบต่อต้านอากาศยาน ที่ใช้งานหลัก ๆ ใน NATO จะเป็นเอ็มไอเอ็ม วันโอโฟร์ แพทริออต (MIM-104 Patriot) ของสหรัฐอเมริกา ที่เป็นจรวด SAM (Surface-to Air) หรือแม้แต่ระดับต่อต้านขีปนาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์อย่างระบบ THAAD (Terminal High Altitude Area Defense) 


3. เครื่องบินรบ

เครื่องบินขับไล่แบบ F-16 ได้รับความนิยมมากที่สุดในกลุ่มพันธมิตร เนื่องจากมีความอเนกประสงค์ (multi-role fighter jet) และสมรรถนะสูง รวมถึงยาส กริพเพน (JAS Gripen) เครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ที่มีในกองทัพอากาศสวีเดนและนอกชาติสมาชิกอย่างเช่น บราซิล และไทย และเครื่องบินรบชื่อดังอย่าง F-35 ที่เป็นเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ในยุคที่ 5 


แต่นอกจาก Mulit-role fighter Jet แล้ว ชาติสมาชิก NATO ยังมีเครื่องบินขับไล่สายต่อสู้กับอากาศยาน (Air superiority fighter jet) อย่างเช่น ดาซัลท์ ราฟาเอล (Dassault Rafale) ของฝรั่งเศส และยูโรไฟท์เตอร์ ไต้ฝุ่น (Eurofighter Typhoon) ที่ใช้หลัก ๆ ในกองทัพอากาศของอังกฤษและเยอรมนีด้วย


ในขนะที่บทบาทด้านกองเรือของ NATO จะมุ่งเน้นการป้องกันและการสนับสนุนการรบเป็นหลัก เนื่องจากภูมิศาสตร์การป้องกันประเทศที่ให้ความสำคัญกับกำลังทางอากาศและทางบกมากกว่า อย่างไรก็ตามชาติที่มีกองเรือบรรทุกเครื่องบิน อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส ต่างก็เป็นชาติมหาอำนาจที่สามารถใช้กองเรือบรรทุกเครื่องบินดำเนินกลยุทธ์ทางการทหารให้กับ NATO พร้อมกับกองเรือสนับสนุนจากชาติสมาชิกได้เช่นกัน


ข้อมูลจาก Wikipedia

ภาพจาก NATO


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง