รีเซต

'เตาเผาอิฐโบราณ' ภูมิปัญญาบรรพบุรุษจีน ฟื้นคืนชีพเพราะงานอนุรักษ์

'เตาเผาอิฐโบราณ' ภูมิปัญญาบรรพบุรุษจีน ฟื้นคืนชีพเพราะงานอนุรักษ์
Xinhua
25 ตุลาคม 2564 ( 11:00 )
308
'เตาเผาอิฐโบราณ' ภูมิปัญญาบรรพบุรุษจีน ฟื้นคืนชีพเพราะงานอนุรักษ์

เหรินชิว, 25 ต.ค. (ซินหัว) -- อิฐบล็อกสีน้ำเงิน (cyan brick) ซึ่งเป็นวัสดุก่อสร้างหลักของอาคารโบราณต่างๆ มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนานกว่า 2,000 ปีในประเทศจีน

 

 

ขั้นตอนการทำอิฐชนิดนี้มีความซับซ้อน จึงยากที่จะนำเครื่องจักรมาใช้ในกระบวนการผลิต และต้องใช้เวลานาน 5 หรือ 6 ปีในการตากลมและทำให้ดินแห้ง อีกทั้งกรรมวิธีแบบโบราณนั้นสามารถผลิตอิฐได้เพียง 2,000-3,000 ก้อนเท่านั้น ต่อเตาเผาโบราณหนึ่งเตาในช่วงทศวรรษ 1980 เตาเผาอิฐโบราณแห่งหนึ่งในตำบลชูอั้น เมืองเหรินชิว มณฑลเหอเป่ยทางตอนเหนือของจีน ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิเต้ากวงแห่งราชวงศ์ชิง (1644-1911) ได้กลับมาดำเนินงานผลิตอีกครั้งนอกจากนี้ยังมีโรงงานผลิตอิฐแห่งหนึ่งในตำบลชูอั้น ที่สร้างขึ้นโดยอิงรูปแบบการทำงานของเตาเผาโบราณแห่งนี้ และใช้วิธีการผลิตอิฐแบบดั้งเดิม ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้นั้นมีสีครามและมีลักษณะเหมือนอิฐโบราณผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยโรงงานแห่งนี้ เช่น อิฐสีน้ำเงิน เครื่องเคลือบ อุปกรณ์ตกแต่งสไตล์โบราณ ถูกนำมาใช้ในการปรับปรุงอาคารโบราณ เช่น พระราชวังต้องห้าม หอฟ้าเทียนถาน พระราชวังฤดูร้อน และสุสานหลวงตะวันออกแห่งราชวงศ์ชิง มาเป็นเวลานานกว่า 3 ทศวรรษ

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง