รีเซต

รู้แล้วอย่าหาทำ!  ดราม่าคนท้องดื่มน้ำกระท่อม  ข่าวปลอมที่ไม่ควรเสพ

รู้แล้วอย่าหาทำ!  ดราม่าคนท้องดื่มน้ำกระท่อม  ข่าวปลอมที่ไม่ควรเสพ
PakornR
19 มีนาคม 2564 ( 16:24 )
1.7K

ข่าววันนี้ เมื่อสังคมออนไลน์มีการตั้งคำถาม คนท้องดื่มน้ำกระท่อมได้ไหม ? อีกหนึ่งคำถามที่ชวนให้หลายคนสงสัย

 

ล่าสุด เพจเฟซบุ๊ก Drama-addict   ได้โพสต์ข้อความถึงประเด็นคำถาม คนท้องดื่มน้ำท่อมได้ไหมคะ #ขอถามขอร้องอย่าด่า ว่า

 

คำถามน่าสนใจจากกลุ่มคนท้องกลุ่มนึง

 

ประเด็นนี้อาจจะพบเห็นกันมากขึ้นในอนาคต เมื่อกระท่อมถูกกฏหมาย

 

ซึ่งล่าสุดนี่ก็มีการปลดล๊อคเอากระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดแล้ว

จริง ๆ แล้วกระท่อมเนี่ย สรรพคุณทางยาเสพติดมันเบามาก และมีช่องทางนำไปใช้เป็นยาสมุนไพรเยอะ ซึ่งการปลดล๊อคออกจากการเป็นยาเสพติด ก็เหมาะสม

 

 

แต่ไม่ได้แปลว่า คนท้องจะเอาไปใช้ได้นะจ๊ะ เรามีเคสตัวอย่างที่ ตปท ด้วยนะ ว่าถ้าแม่ใช้กระท่อมแล้วลูกในท้องจะมีผลยังไง อันนี้เป็นตัวอย่างเคสที่ แม่เคยมีประวัติใช้ยาเสพติดมาก่อน แต่หลังจากนั้นเธอก็เข้าบำบัดเลิกยา และเลิกเสพยาได้สำเร็จ 

 

...แต่เธอมีปัญหาเรื่องอาการถอนยาจากช่วงบำบัดเลิกยา เลยไปเอาใบกระท่อมมาต้มเป็นชากิน เพราะเชื่อว่าช่วยลดอาการถอนยาที่เธอกำลังเลิกอยู่ได้ ปรากฏว่าหลังคลอด เด็กก็มีอาการ สั่น แขนขากระตุกไปมา กระสับกระส่าย

 

หลังจากนั้นหมอเลยไปซักประวัติแม่โดยละเอียด ถึงรู้ว่าแม่ต้มชากระท่อมกินมาตลอด หลังจากนั้นหมอก็ทำการรักษาเด็กจนอาการดีขึ้นในหลายวันต่อมา 

 

สรุปคือ การที่แม่ใช้กระท่อม จะมีผลกับลูกในท้องได้ แต่ข้อมูลเรายังค่อนข้างน้อย ขนาดที่ ตปท ยังมีเคสไม่เยอะ และยังไม่รู้ว่ามันจะมีผลเสียกับเด็กในท้องขนาดไหน 

 

ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ ตอนท้อง ห่างไกลจากพวกสารเสพติดให้ไกล จะใช้ยาหรือสมุนไพรอะไร ให้ปรึกษาหมอเสมอครับผม

 

และจากการบังคับใช้กฎหมายเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา อนุญาตให้กัญชา, กัญชง, พืชกระท่อม, พืชฝิ่น และ เห็ดขี้ควาย ไม่จัดเป็นยาเสพติด 

 

ทั้งนี้ เมื่อค้นหาสรรพคุณ วิธีการนำมาใช้ พืชกระท่อม กัญชา และกัญชง เพื่อสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง พบว่า 

 

1. พืชกระท่อม 

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 15 เมตร ใบกระท่อมเป็นใบเดี่ยวเรียงเป็นคู่ตรงข้าม มีดอกสีเหลือง ช่อดอกเป็นแบบช่อกระจุกแน่น ออกตามปลายกิ่ง มี 1-3 ช่อ กลีบเลี้ยงเป็นหลอดสั้น ปลายมี 5 แฉก กลีบดอกเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็น 5 หยัก 

 

ในทางการแพทย์ พืช กระท่อม ถือเป็นยาที่มีสรรพคุณเพียบ โดยข้อมูลจากเพจเฟซบุ๊ก ภูมิภูเบศร ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรและภูมิปัญญาสุขภาพ บางเดชะ อธิบายถึงสรรพคุณของ พืชกระท่อม ไว้อย่างน่าสนใจ ว่า เพราะสามารถเป็นยาในหลายด้าน แต่ต้องระวังในการนำมาใช้ประโยชน์ 

 

สิ่งที่ต้องระวังใช้ พืช กระท่อม : พิษของกระท่อมพบว่าผู้ใช้ใบกระท่อมในปริมาณมากและเป็นเวลานาน จะพบอาการถอนยาเมื่อหยุดใช้ กระท่อม ซึ่งยังเป็นพิษต่อตับ ไต และพบอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตเมื่อใช้ร่วมกับยาอื่นที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท 

 

พืช กระท่อม ส่วนไหนใช้ได้ : ใบอ่อน กระท่อม กินเป็นอาหารได้ รับประทานสด โดยเมื่อเคี้ยวใบกรำท่อมประมาณ 5 - 10 นาที จะมีอาการกระปรี้กระเปร่า แต่บางคนอาจส่งผลให้รู้สึกเมาได้ ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน

 

ขณะที่ สรรพคุณของกระท่อมที่มีฤทธิ์ทางยา เปลือกและใบ สามารถรักษาอาการท้องร่วง ปวดท้อง ลดอาการถ่ายเป็นเลือด 

 

2. กัญชา  (cannabis) 

เป็นพืชในสกุล Cannabis มีลำต้นสูงไม่เกิน 2 เมตร ใบจะเล็กกว่าเล็กน้อย การเรียงตัวของใบจะชิดกันห  โดยเฉพาะใบประดับช่อดอกจะเป็นกลุ่มแน่น มียางเหนียวติดมือ ใบสีเขียวจัด ปล้อง/ข้อไม่ยาว เปลือกไม่เหนียว ลอกยาก แตกกิ่งก้านน้อย ใยเส้นคุณภาพต่ำ ยางดอกมีมาก ออกดอกเมื่อมีอายุเกิน 3 เดือน ใบและช่อดอกมีกลิ่นหอมคล้ายหญ้าแห้ง ปลูกเพื่อเอาใบ และช่อดอก มีปริมาณ THC 1-20

 

สิ่งที่ต้องระวังใช้ กัญชา : ไม่นำเมล็ดมาประกอบอาหาร 

 

กัญชา ส่วนไหนใช้ได้ : ใบและบางส่วนของกัญชานำมารักษาอาการบางอย่าง เช่น อาการปวด เพิ่มความอยากอาหาร ลดการอาเจียน คลายกล้ามเนื้อ และลดอาการชักได้

 

ขณะที่ น้ำมันกัญชา อยู่ในระหว่างการทำวิจัยเพื่อนำมารักษาโรคซึมเศร้า วิตกกังวล 

 

3. กัญชง  (hemp) 

เป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ในการผลิต เส้นใยสำหรับถักทอ ลำต้นสูงใหญ่มากกว่า 2 เมตร ใบใหญ่กว่า มีการเรียงสลับของใบค่อนข้างห่างชัดเจนและไม่มียางเหนียว ติดมือ ใบสีเขียวอมเหลือง ปล้อง/ข้อยาว เปลือกเหนียว ลอกง่าย แตกกิ่งก้านน้อย ใยเส้นดี มีคุณภาพ ยางดอกมีไม่มาก ออกดอกเมื่อมีอายุมากกว่า 4 เดือน  ปลูกเพื่อเอาเส้นใยทำกระดาษ เสื้อผ้า กระเป๋า เชือก ฯลฯ มีปริมาณ THC (สารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท) น้อยกว่า 1 (น้อยกว่า 0.3 ไม่ถือว่าเป็นสารเสพติด)

 

สิ่งที่ต้องระวังใช้ กัญชง : ใบ และช่อดอกเมื่อนำมาสูบจะมีกลิ่นน้อย และอาจทำให้ปวดหัว

 

กัญชง  ส่วนไหนใช้ได้ : เมล็ดมีโปรตีน ที่นำมาใช้แทนผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองได้ เช่น เต้าหู้ โปรตีนเกษตร เนย ชีส น้ำมันสลัด ไอศกรีม นม ฯลฯ และนำมาทำเป็นแป้ง เพื่อทำอาหารได้

 

ขณะที่ น้ำมันกัญชง มีโอเมก้า - 3 ช่วยบำรุงสมอง ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ

 

อย่าลืมว่าแม้พืชกระท่อม กัญชา และกัญชง จะไม่จัดเป็นยาเสพติดแล้ว แต่ผู้ใช้ต้องตรวจสอบข้อมูล แหล่งผลิตที่ได้รับอนุญาต เพราะอาจเสี่ยงผิดกฎหมายได้ 

 

รวมทั้งกรณี คนท้อง หญิงตั้งครรภ์ ไม่ควรใช้สารเสพติดใด ๆ  และในทางการแพทย์ พืชกระท่อม ถือว่าเป็นยา ทางที่ดีรับคำแนะนำจากแพทย์ และต้องรู้เท่าทันในการเสพข้อมูล การบริโภค เพราะอาจเสี่ยงต่อชีวิตตัวเองและเด็กเล็กได้เช่นกัน 

 

 

ข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม, มติชน 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :  

 

 

ภาพประกอบ : เฟซบุ๊ก Drama-addict 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง