รีเซต

มข.โชว์แผ่นรังไหมรับแรงกระสุน M16 ก็เจาะไม่เข้า

มข.โชว์แผ่นรังไหมรับแรงกระสุน M16 ก็เจาะไม่เข้า
TNN ช่อง16
31 สิงหาคม 2563 ( 14:28 )
256

วันนี้( 31 ส.ค.63) มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยผศ.ดร.พนมกร ขวาของ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์และ อ.สุธา ลอยเดือนฉาย ร่วมกันวิจัยแผ่นรังไหมรับแรงกระสุนปืน จากเดิมที่สามารถป้องกันกระสุนปืนสั้นได้ทุกชนิด พัฒนาต่อยอดสู่แผ่นรังไหมรับแรงกระสุนปืนขนาด 5.56 มิลลิเมตร กระสุนปืน M16 อาวุธที่ใช้ทางทหารได้สำเร็จ เพื่อรองรับการปฏิบัติงานขั้นกว่าสำหรับกลุ่มอาวุธสงคราม 

โดยมี 2 รุ่น ได้แก่ รุ่นน้ำหนักประมาณ 2 กิโลกรัม และรุ่นน้ำาหนักประมาณ 1.6 กิโลกรัม ซึ่งเบากว่าแผ่นเหล็กหนาขนาด 9 มิลลิเมตร ที่ใช้ในเสื้อเกราะกันกระสุนทั่วไปในปัจจุบัน 2-3 เท่า

นอกจากน้ำาหนักเบา อีกคุณสมบัติเด่นของแผ่นรังไหมรับแรง คือ การหยุดจับกระสุนไม่ให้เกิดการแฉลบเนื่องจากพบว่า การใช้แผ่นโลหะทำให้กระสุนเกิดการแฉลบซึ่งอาจไปโดนอวัยวะอื่น หรือผู้อื่นที่อยู่ข้างเคียงได้ และหากเปรียบเทียบคุณสมบัติที่ดีกว่าเกราะอ่อนกันกระสุนที่ทำจากเคฟลาร์พบว่า แผ่นรังไหมรับแรงมีราคาถูกกว่าและยังสามารถป้องกันอาวุธมีคม อาทิ มีด ซึ่งไม่สามารถแทงทะลุแผ่นรังไหมได้ แต่สามารถแทงทะลุเกราะอ่อนได้


ผศ.ดร.พนมกร ขวาของ เผยว่า กระบวนการผลิตแผ่นรังไหมรับแรงกระสุนปืนขนาด 5.56 มม. จะมีกระบวนผลิตแตกต่างจากแผ่นรังไหมรับแรงกระสุนปืนสั้น โดยยังใช้รังไหมที่มีความยืดหยุ่น น้ำาหนักเบา ต้านทานแรงกระแทกได้ดีแต่เพิ่มวัสดุที่สามารถรับและกระจายแรงเข้าไป พร้อมทั้งพัฒนาปรับปรุงน้ำายาชนิดพิเศษเพื่อให้วัสดุต่างๆ ยึดเกาะกันมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ได้แผ่นรังไหมที่สามารถรับแรงกระสุนปืนขนาด 5.56 มม. หรือกระสุนปืน M16 ได้ ซึ่งแตกต่างจากแผ่นรังไหมเดิมที่รับได้เฉพาะแรงกระสุนปืนสั้นเท่านั้น แม้ว่าจะนำมาซ้อนกันถึง 4 แผ่น แต่กระสุนปืนขนาด 5.56 มม. ก็สามารถทะลุได้ ต่างจากแผ่นรังไหมรับแรงที่เพิ่งคิดค้นสำเร็จนี้โดยได้จดสิทธิบัตรเป็นทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว


ตอนนี้แผ่นรังไหมรับแรงมี 2 แบบ คือ แผ่นรังไหมรับแรงกระสุนปืนสั้น ซึ่งมี 3 รุ่น ได้แก่ รุ่นน้ำหนัก 0.9 0.75 และ 0.55 กิโลกรัม และแผ่นรังไหมรับแรงกระสุนปืนขนาด 5.56 มิลลิเมตร ซึ่งมี 2 รุ่น ได้แก่ รุ่นน้ำาหนัก 2 และ 1.6 กิโลกรัม เพื่อให้สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ อาทิ ทหาร ตำรวจ ตำรวจตระเวนชายเดน หรือเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เสี่ยงชายแดนภาคใต้สำหรับเจ้าหน้าที่ที่สนใจ สามารถติดต่อได้ที่ 089-8406586 ผศ.ดร. พนมกร ขวาของ อาจารย์ประจ าภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น









เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ข่าวที่เกี่ยวข้อง