รีเซต

อีคอนไทย ชี้ ไทยต้องเผชิญหน้า 3 วิกฤติซ้อน แนะรัฐบาลตั้งรับให้ดี

อีคอนไทย ชี้ ไทยต้องเผชิญหน้า 3 วิกฤติซ้อน แนะรัฐบาลตั้งรับให้ดี
มติชน
7 กุมภาพันธ์ 2565 ( 05:44 )
73

นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) เปิดเผยว่า การดำเนินนโยบายของรัฐบาล เป็นการแก้ไขปัญหาเรื่อง หมู ไก่ ไข่แพง แต่ขณะนี้เรื่องของสินค้าราคาแพงมันได้จุดนั้นไปแล้ว ไม่ใช่จะมาแก้ไขด้วยร้านธงฟ้ารถโมบาย ขายสินค้าราคาประหยัด เพราะเป้ฯการแก้ไขที่ปลายเหตุ และเหมือนจะไม่ช่วยอะไรได้มาก

 

ประเด็น คือ รัฐบาลต้องทำความเข้าใจกับปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะในตอนนี้ ประเทศไทยต้องเผชิญกับ 3 วิกฤตแแทรกซ้อน ได้แก่ เรื่องการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยเฉพาะสายพันธุ์ โอมิครอน ที่ทำให้การแพร่ระบาดนั้นยังไม่จบ ขณะนี้ยอดผู้ติดเชื้อในไทยก็มีจำนวนกว่า 1 หมื่นรายต่อวัน ยิ่งแสดงให้เห็นว่าวิกฤตนี้ยังคงไม่จบ และเวลาก็เดินทางมาถึงเดือนกุมภาพันธ์แล้ว และอีกไม่นานก็จะครบไตรมาสแรกของปีแล้ว สะท้อนว่า สังคมไทยในครึ่งปีแรกก็ต้องเผชิญอยู่กับปัญหานี้ ทำให้เศราบกิจไม่ฟื้นตัวได้อย่างที่คาดไว้ รวมถึงความเชื่อมั่นเองก็ไม่ฟื้นเช่นกัน ซึ่งเป็นกันทั่วโลก ทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยวเข้าประเทศมามากนัก

 

วิกฤติต่อมา คือเรื่องของ เงินเฟ้อ โดยสาเหตุเกิดจากห่วงโซ่อุปทาน (ซัพพลายเชน) สะดุด เนื่องจากโรงงานที่ชะลอหรือชะงักการผชลิตจากปัญหาโควิด และการขาดแคลนเรือ และตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้า และค่าระวางเรือที่สูง แฝงอยู่ในต้นทุนสินค้าและวัตถุดิบที่ไทยต้องนำเข้าเพื่อมาผลิต อาทิ เหล็ก ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น โดยเป็นลักษณะของเงินเฟ้อที่ไม่มีใครรู้ตัวว่าได้เกิดขึ้นแล้ว และไทยก็เผชิญกับปัญหาของแพงและเงินเฟ้อจากการต้นทุนแฝงต่างๆเหล่านี้ ในขณะที่คนไทยไม่มีกำลังซื้อมากมาย ซึ่งเป็นปัญหาที่แก้ยาก เพราะมีความแตกต่างจากเงินเฟ้อที่เกิดจากความต้องการซื้อที่สูงขึ้น

 

และอีกวิกฤติที่สำคัญคือ เรื่องน้ำมันที่เป็นภัยเงียบ จากการที่ติดตามข้อมูลมา พบว่า ราคาน้ำมันในตลาดหลัก ทั้ง ยุโรป อังกฤษ และ ดูไบ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ปัจจุบันอยู่ที่กว่า 90 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลแล้ว และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงปลายปี 2564 น่าจะเพิ่มขึ้น 17-18% และประเทศไทย นำเข้าน้ำมันดิบ มาใช้ทำน้ำมันดีเซลถึง 60% ของทั้งหมด ซึ่งใช้ในการขนส่งและทางการเกษตร รัฐบาลจึงได้มีมาตรการควบคุมราคาขายปลีก ฃน้ำมันดีเซลไว้ที่ ราคาไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร และตรึงราคาแก๊สแอลพีจี

 

นายธนิต กล่าวว่า จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ต้องถามว่ารัฐบาลได้เตรียมการตั้งรับดีหรือยัง เพราะว่าการวิกฤติครั้งนี้ เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดมาเป็น 10 ปี และจะต้องเผชิญกับ 3 วิกฤตพร้อมๆกัน คำถามคือรัฐบาลเตรียมงบที่จะใช้ตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้เพียงพอหรือไม่ ปัจจุบัน รัฐบาลใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงประมาณ 5 พันล้านบาทต่อเดือน ณ ราคา น้ำมันดิบประมาณ 87 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และถ้าราคาน้ำมันดิบกระโดดไป 90-92 เหรียญต่อบาร์เรล รัฐบาลได้ตั้งงบ และเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะนำมาสู้กับราคานี้ไว้เท่าไหร่ เพราะถ้ารัฐบาลปล่อย เพราะไม่มีเงินที่จะเข้าไปอุดส่วนเกินนี้ ราคาน้ำมันดีเซลในวันนี้ก็จะพุ่งขึ้นเป็น 34 บาทต่อลิตร และอาจจะขึ้นต่อเนื่อง 35-37 บาทต่อลิตร ดังนั้น ส่วนเกิน 6-7 บาทนี้รัฐบาลได้เตรียมเงินแล้วหรือยัง

 

“วิกฤติครั้งนี้ไม่ใช่แค่หมูแพง ไก่แพง แบบนั้นมันเป็นปัญหาเล็กน้อย แต่วิกฤติปัจจุบัน รัฐบาลต้องตั้งหลักให้ดี โควิดก็ไม่จบ การท่องเที่ยวก็ไม่กลับมา คนก้ไม่มีเงินใช้จ่าย และเดิมก็มีเงินเฟ้ออยู่แล้วที่ 3% และก็ต้องมาเจอกับปัญหาราาน้ำมันอีก ดังนั้นรัฐบาลต้องเตรียมรับมือกับ 3 วิกฤติที่ซ้อนกันขึ้นมานี้ ซึ่งไม่เหมือนในประวัติศาสตร์ เพราะยังไม่เคยวมีวิกฤตโรคระบาดครั้งใหญ่ที่ซ้อนเข้ามา ทำให้คนไม่มีสตางค์ แต่ของก็กลับราคาแพง ”

และหลังจากที่ต้องเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อ รัฐบาลก็จะต้องเจอกับแรงกดดันในการขอปรับขึ้นค่าแรง ซึ่งการปรับค่าแรงก็จะต้องปรับขึ้นทั้งหมดทุกส่วน และยิ่งไปทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นสูงไปอีก ทำให้ของแพงเป็นทวีคูณ ดังนั้นรัฐบาลต้องเตรียม พร้อมช่วยเหลือคนมีรายได้น้อย ทั้งที่ถือบัตรสวัสดิการ และคนที่อยู่ในระบบประกันสังคม สมมุติว่าตั้งกรอบไว้ที่รายได้ ไม่เกิน 1 แสนบามต่อเดือน ก็ออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเข้าไปในบัตรสวัสดิการ และผ่านระะบบประกันสังคม เพื่อสนับสนุนกำลังซื้อเป็นการชั่วคราว 2-3 เดือน เป็นต้น เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเพื่มค่าแรงทั้งระบบให้ปัญหาเรื่องต้นทุนมันยิ่งเพิ่มขึ้นไป ส่วนมาตรการคนละครึ่งนั้นก็ถือว่าดี แต่มีลักษณะเหวี่ยงแหเกินไป บ้างคนทำงานมีเงินเดือนสูงก็ยังได้สิทธิ ก็อาจจะทำให้ช่วยไม่ตรงจุด

นายธนิต กล่าวว่านอกจากนี้รัฐบาลก็ต้องตั้งคณะทำงาน ที่มีความสามารถ คอยติดตามและคาดการณ์สถานการณ์ เงนเฟ้อ และราคาน้ำมัน เพื่อให้รัฐบาลวางแผนได้ถูกต้องแและแม่นยำ ว่าจะต้องช่วยตรึงราคาน้มันนดีเซล หรือต้องช่วยอุดหนุนกำลังซื้อของคนมีรายได้น้อย ในระยะเลวลาแค่ไหน และจำเป็นต้องใชงบเท่าไรบ้าง

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง