รีเซต

โควิด-19 พ่นพิษ! ชงรัฐจ่ายเงินสมทบ ประกันสังคม 1% ถึงสิ้นปี

โควิด-19 พ่นพิษ! ชงรัฐจ่ายเงินสมทบ ประกันสังคม 1% ถึงสิ้นปี
TNN ช่อง16
23 กรกฎาคม 2563 ( 13:34 )
182
โควิด-19 พ่นพิษ! ชงรัฐจ่ายเงินสมทบ ประกันสังคม 1% ถึงสิ้นปี

วันนี้ (23ก.ค.63) นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ไทยมีประชากรทั้งหมด 66.5 ล้านคน แบ่งออกเป็นผู้มีงานทำ จำนวน 37.3 ล้านคน (ภาคบริการ 47%, ภาคเกษตรกรรม 30% และภาคการผลิต 23%), ผู้ว่างงานจำนวน 0.39 ล้านคน และผู้รอฤดูกาลจำนวน 0.49 ล้านคน (ข้อมูล ณ เดือนมี.ค.) แบ่งเป็นแรงงานที่มีรายได้ประจำ (มาตรา 33) ได้รับความช่วยเหลือจากมาตรการของ ประกันสังคม จำนวน 11 ล้านคน อาชีพอิสระ (มาตรา 39, 40) ได้รับความช่วยเหลือจากมาตรการเยียวยา 5,000 บาท จำนวน 8 ล้านคน เกษตรกร ได้รับการช่วยเหลือจากมาตรการเยียวยา 15,000 บาท จำนวน 17 ล้านคน และข้าราชการ ได้รับเงินเดือนหรือบำนาญเต็มจำนวนตามปกติ จำนวน 2 ล้านคน คาดว่าธุรกิจการขายส่ง-ปลีก การผลิต และโรงแรมจะมีความเสี่ยงการว่างงานสูงที่สุด

สำหรับสถานการณ์การว่างงานและเลิกจ้าง พบว่า มีแรงงานที่ถูกพักงานจากสถานประกอบการที่ใช้มาตรา 75 หยุดกิจการชั่วคราว จำนวน 4,458 แห่ง ส่งผลกระทบต่อลูกจ้าง จำนวน 896,330 คน และมีแรงงานที่ว่างงานจากกรณีลาออก เลิกจ้าง สิ้นสุดสัญญาจ้าง ณ เดือนพ.ค.63 จำนวน 332,060 คน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากโควิด

นอกจากนี้ มีผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 ที่ใช้สิทธิประโยชน์กรณีว่างงานฯ 62% กว่า 1,369,589 คำร้อง คาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นอีกในช่วงเดือนส.ค.ถึงเดือนต.ค. หากมีการขยายมาตรการฯ อีก 800,000 คน ในภาพรวมพบว่าจะมีลูกจ้างในระบบที่ได้รับผลกระทบแล้วกว่า 3,397,979 คน โดย 3 อันดับแรกของกิจการที่ใช้มาตรา 75 คือ ภาคการผลิต, โรงแรมและภัตตาคาร และบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าและบริการทางธุรกิจโดยภาครัฐควรพิจารณาออกมาตรการช่วยเหลือนายจ้างและลูกจ้างเพิ่มเติมเพื่อลดปัญหาการว่างงานและการเลิกจ้าง

ด้านนายสุชาติ จันทรนาคราช รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และประธานคณะอนุกรรมการมาตรการแรงงาน COVID-19 กล่าวว่า ภาคเอกชนขอเสนอมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือและเยียวยา 7 ข้อ

1. ลดเงินสมทบ ประกันสังคม ทั้งฝั่งนายจ้างและลูกจ้างเหลือ 1% โดยให้มีผลจนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 63

2.เพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย จาก 90 วัน เป็น 150 วัน และขยายระยะเวลาการขอรับสิทธิประโยชน์ จากเดิมวันที่ 31 ส.ค.63 เป็นจนถึงวันที่ 31 ธ.ค.63

3.เร่งพิจารณาการอนุมัติให้สามารถปรับการจ้างงานเป็นรายชั่วโมงได้ โดยคิดค่าจ้างในอัตราชั่วโมงละ 40-41 บาทต่อชั่วโมง ระยะเวลาจ้างขั้นต่ำ 4-8 ชั่วโมงต่อวัน

4. ขอให้ภาครัฐเร่งพิจารณาการรับรองการอบรมออนไลน์เป็นส่วนหนึ่งของวิธีการจัดอบรม ตาม พ.ร.บ. ส่งเสรมการพัฒนาฝีมือแรงงานปี45

5.ขอปรับอัตราเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ตาม พ.ร.บ. เงินทดแทนปี 37 เหลือ 0.01%

6. โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ ดอกเบี้ย 0.1% ต่อปี

7. จัดสรรกองทุนเยียวยาผู้ประกอบการเพื่อรักษาเสถียรภาพการจ้าง โดยให้เงินเยียวยาแก่ลูกจ้างผ่านนายจ้าง


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผู้ประกันตน มาตรา33 เฮ! ครม.เคาะจ่ายเยียวยาครั้งเดียว15,000บาท

ประกันสังคม จ่ายว่างงานแล้ว 1 ล้านคน รวม 6,052 ล้านบาท

ประกันสังคม เปิดขั้นตอนอุทธรณ์เงินเยียวยาว่างงานจากโควิด-19


เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com 
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live 
twitter : TNNONLINE 
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE 
Instagram : TNN_ONLINE 
TIKTOK : @TNNONLINE

  

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง