รีเซต

"โอลิมปิก 1992" ต้นกำเนิดตรวจโครโมโซม Y เพื่อยับยั้ง “ผู้ชาย” สวมรอยแข่ง “ผู้หญิง” | Chronicles

"โอลิมปิก 1992" ต้นกำเนิดตรวจโครโมโซม Y เพื่อยับยั้ง “ผู้ชาย” สวมรอยแข่ง “ผู้หญิง” | Chronicles
TNN ช่อง16
6 สิงหาคม 2567 ( 17:36 )
14
"โอลิมปิก 1992" ต้นกำเนิดตรวจโครโมโซม Y เพื่อยับยั้ง “ผู้ชาย” สวมรอยแข่ง “ผู้หญิง” | Chronicles

เป็นประเด็นอย่างต่อเนื่องในโอลิมปิก 2024 กรณี “อิมาน เคลีฟ (Imane Khelif)” นักชกชาวแอลจีเรียที่ถูกวิจารณ์ว่ามีกำลังวังชา กล้ามเนื้อ และมวลกายออกไปทางผู้ชาย ทำให้คู่แข่งขอยอมแพ้ด้วยเวลาเพียง 46 วินาที 


กรณีนี้ ทำให้เกิดการตั้งคำถามมากมาย พร้อมการประกาศกร้าวจาก IBA ว่า เคลิฟ คือ  มีโครโมโซม Y ของผู้ชาย และเคยตรวจเพศไม่ผ่านมาก่อนหน้านั้น 


เรื่องนี้ผู้คนถกเถียงไปต่าง ๆ นานา แต่ในยุคสมัยนี้ที่เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์การกีฬาพัฒนาไปไกลมาก ๆ จนสามารถที่จะตรวจเพศนักกีฬาได้ภายในวันเดียว เหตุใดคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) จึงยินยอมให้เคลีฟแข่งขันได้ ?


เหนือสิ่งอื่นใด กระบวนการ “ตรวจโครโมโซม Y” ในปี 1992 ทำให้เราสามารถ Verify เพศของนักกีฬาในการแข่งขันโอลิมปิกได้ มิเช่นนั้น ประเด็นเรื่องเพศอาจจะสร้างความปวดหัวมากกว่านี้


ย้อนไปในปี 1968 ตอนนั้น กรุงเม็กซิโก ซิตี้ ประเทศเม็กซิโก เป็นเจ้าภาพโอลิมปิก และเริ่มนำการตรวจร่างกายเพื่อทดสอบว่ามีการ “ปลอมเพศ (Imposter)” ของเพศชายเข้ามาแข่งขันในกีฬาประเภทหญิงหรือไม่ เพราะสมัยก่อน ไม่ได้มีการตรวจเพศจริงจัง ขอเพียงบอกว่าตนนั้นเป็นหญิง ก็แข่งขันได้


วิธีการตรวจนั้น อ้างอิงจาก “เอกสารรับรองทางราชการ” ที่ประเทศนั้น ๆ ออกให้นักกีฬา หรือก็คือ IOC ไม่ได้เข้าไปตรวจด้วยตนเอง แต่อาศัยว่ารัฐบาลต้นทางรับรองมาแล้วว่าเป็นเพศใด


เลยเป็นปัญหาว่า รัฐบาลในบางครั้ง ก็ไม่สามารถระบุเพศของบุคคลที่ “ไม่สามารถระบุเพศได้ (Unidentified Sex)” เพราะมีอวัยวะเพศทั้งชายและหญิงในคนเดียวกัน ทำให้ทางออกง่าย ๆ คือการดำเนินการทางเอกสารอย่างหละหลวม ระบุเพศใดเพศหนึ่งไปก่อน เพื่อให้ทะเบียนราษฎร์ผ่าน


จนกระทั่งยุค 1970 - 1980 การเรียกร้องสิทธิของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ กลายเป็นที่ถกเถียงมากขึ้น เพราะมีการเรียกร้องเพศที่ไม่ใช่ตามสูติบัตร แต่อยู่ที่ว่า เราจะเลือกเป็นเพศใด โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่ไม่สามารถระบุเพศได้ ยิ่งสามารถเลือกได้เลยว่าตนนั้นจะเป็นเพศใดแบบไม่ตามทะเบียนราษฎร์


เรื่องนี้ ทำให้รัฐบาลบางครั้งอาศัยช่องตรงนี้ ส่งบุคคลที่กำหนดว่าตนนั้นเป็นผู้หญิง แต่จริง ๆ มีความเป็นชายมากกว่า โดยแสดงออกมาผ่าน “สิ่งที่อยู่ภายใน” เช่นมวลกล้ามเนื้อ ความแข็งแกร่ง หรือพันธุกรรม เข้ามาแข่งขันกับผู้หญิงในโอลิมปิก 


ดังนั้น เมื่อเข้าสู่ปี 1992 ที่มีการจัดโอลิมปิก 2 ที่ (โอลิมปิกฤดูร้อนที่บาร์เซโลนา และฤดูหนาวที่อัลเบิร์ตวิลล์) จึงได้เริ่มนำการ “ตรวจโครโมโซม Y” เข้ามา ด้วยเหตุผลว่า ในเมื่อไม่ค่อยมีบุคคลข้ามเพศที่มีความเป็นหญิงเข้ามาแข่งขันกับผู้ชาย แต่มีบุคคลข้ามเพศที่มีความเป็นชายไปแข่งกับผู้หญิงจำนวนมาก การตรวจโครโมโซมเพศชายจึงน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด


แน่นอนว่า สิ่งนี้ช่วยให้เกิด “ความยุติธรรม (Fairness)” ในการแข่งขันได้ประมาณหนึ่ง เพราะในระดับพันธุกรรมแล้ว เป็นสิ่งที่ติดตนมาตั้งแต่กำเนิด ไม่ว่าจะ Identified ตนเองว่าเป็นเพศใด ๆ ก็ตาม ก็ไม่สามารถหลีกหนีไปได้ 


ทั้งนี้ การตรวจโครโมโซมไม่สามารถตอบโจทย์ “บุคคลแปลงเพศ” ที่ต้องการจะลงแข่งขันตามเพศที่แปลง เพราะถึงจะตัดเครื่องเพศออก โครโมโซมก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงตาม


ดังนั้น ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่การตรวจโครโมโซม แต่อยู่ที่ “การบังคับใช้ (Obligation)” อย่างเป็นมาตรฐานของ IOC เพื่อไม่ให้เกิดข้อสงสัยที่ว่า เหตุใดกรณีนี้ไม่ตรวจ เหตุใดกรณีนี้ละเลย หรือเหตุใด ความยุติธรรมจึงเกิดขึ้นกับบางบุคคลเท่านั้น ?


Chronicles by วิศรุต หล่าสกุล [Hayden Whiz]


แหล่งอ้างอิง



#TNNParis2024 #TNNOnline #ปารีส2024 #โอลิมปิก2024 #Paris2024 #OlympicGames2024 #OlympicGamesParis2024 #ตรวจเพศ #มวยสากลสมัครเล่น #อิมานเคลีฟ #แจ่มจันทร์

—————————

ติดตามคอนเทนต์ดี ๆ จาก TNN

ได้ที่ช่อง YouTube: TNN Originals

ทางนี้ https://bit.ly/TNNOriginals

ข่าวที่เกี่ยวข้อง