รีเซต

ศึกเทคโนโลยีการเตือนภัยล่วงหน้าเปรียบเทียบ Netra Mk-1 ของอินเดีย และ Erieye ของปากีสถาน

ศึกเทคโนโลยีการเตือนภัยล่วงหน้าเปรียบเทียบ Netra Mk-1 ของอินเดีย และ Erieye ของปากีสถาน
TNN ช่อง16
9 พฤษภาคม 2568 ( 17:23 )
6

ในยุคที่การควบคุมอากาศและการเฝ้าระวังทางยุทธศาสตร์กลายเป็นหัวใจสำคัญของการป้องกันประเทศ เครื่องบินเตือนภัยล่วงหน้า (AEW&C - Airborne Early Warning and Control) คือ หนึ่งในระบบที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง 

โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียใต้ที่มีความตึงเครียดทางการทหารระหว่างอินเดียและปากีสถาน ความสามารถในการตรวจจับภัยคุกคามจากระยะไกลและการควบคุมยุทธวิธีทางอากาศจึงกลายเป็นจุดชี้ขาดของความได้เปรียบ ซึ่งบทความนี้จะเปรียบเทียบขีดความสามารถของ Netra Mk-1 ของอินเดีย และ Erieye Saab 2000 ของปากีสถาน


เครื่องบินเตือนภัยล่วงหน้า Netra Mk-1 พัฒนาโดยองค์การวิจัยและพัฒนาเพื่อการป้องกันประเทศของอินเดีย (DRDO) ใช้เรดาร์ AESA ที่อินเดียผลิตขึ้นเอง ซึ่งมีรัศมีการตรวจจับเป้าหมายมากกว่า 250 กิโลเมตร และสามารถติดตามเป้าหมายได้มากกว่า 300 เป้าหมายพร้อมกัน มีพิสัยการบิน 350 กิโลเมตร และปฏิบัติการโดยลูกเรือ 5-6 คน ราคาประมาณ 4,070 ล้านบาท 

ในขณะที่เครื่องบินเตือนภัยล่วงหน้า Saab 2000 พัฒนาโดย Saab Group จากสวีเดน ให้กองทัพอากาศปากีสถานใช้งาน ใช้เรดาร์ AESA เช่นเดียวกัน แต่มีรัศมีการตรวจจับไกลถึง 450 กิโลเมตร รองรับการติดตามเป้าหมาย 300 เป้าหมายพร้อมกัน และมีระยะปฏิบัติการกว้างกว่า คือประมาณ 1,000 กิโลเมตร มีลูกเรือ 5-6 คนเช่นกัน ราคาประมาณ 3,700 ล้านบาท

แม้ว่า Netra Mk-1 จะมีจุดแข็งตรงที่อินเดียสามารถพัฒนาและควบคุมเทคโนโลยีเองได้ ซึ่งสะท้อนถึงการพึ่งพาตนเองด้านการทหาร แต่ขีดความสามารถในภาพรวมยังเป็นรอง Erieye ในหลายด้าน โดยเฉพาะระยะการตรวจจับและพิสัยการปฏิบัติการที่แตกต่างกันเกือบ 3 เท่า ทำให้ Erieye ได้เปรียบในการครอบคลุมพื้นที่กว้าง และอาจเหมาะกับการเฝ้าระวังในสภาพภูมิประเทศเปิดของปากีสถาน 

อย่างไรก็ตาม ความได้เปรียบของ Erieye นั้นต้องแลกมากับการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ในขณะที่ Netra Mk-1 ช่วยส่งเสริมการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศของอินเดีย ซึ่งมีนัยยะสำคัญต่อความมั่นคงระยะยาว

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง