รีเซต

นักวิจัยสหรัฐฯ เสนอแนวคิดใช้ดาวเคราะห์น้อยสร้างเมืองบนอวกาศ

นักวิจัยสหรัฐฯ เสนอแนวคิดใช้ดาวเคราะห์น้อยสร้างเมืองบนอวกาศ
TNN ช่อง16
27 ธันวาคม 2565 ( 08:52 )
130
นักวิจัยสหรัฐฯ เสนอแนวคิดใช้ดาวเคราะห์น้อยสร้างเมืองบนอวกาศ

ทีมนักวิจัยในมหาวิทยาลัยโรเซสเตอร์ สหรัฐอเมริกา เสนอแนวคิดใช้ดาวเคราะห์น้อยในอวกาศเป็นโครงสร้างหลักของเมืองอวกาศที่มีลักษณะคล้ายวงแหวนหมุนได้เพื่อสร้างแรงโน้มถ่วงเทียม แนวคิดใหม่ที่ช่วยทำให้การสร้างเมืองบนอวกาศในอนาคตทำได้ง่ายมากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องขนทรัพยากรทุกอย่างขึ้นจากโลกไปยังอวกาศ


แนวคิดเมืองอวกาศที่มีลักษณะคล้ายวงแหวนหมุนได้ถูกนำเสนอตีพิมพ์ในวารสาร Frontiers in Astronomy and Space เรื่องวิธีสร้างเมืองบนอวกาศเพื่อการอยู่อาศัยอย่างถาวรโดยใช้ต้นทุนและทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากที่สุด


ดาวเคราะห์น้อยหนึ่งในวัตถุที่สามารถพบได้ในระบบสุริยะจักรวาลพวกมันโคจรอยู่รอบ ๆ ดวงอาทิตย์ โดยเฉพาะแถบดาวเคราะห์น้อยระหว่างโลกและดาวอังคาร ซึ่งนักวิจัย อดัม แฟรงก์ ศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์และดาราศาสตร์ หนึ่งในทีมงานผู้เขียนนำเสนอแนวคิดดังกล่าวอธิบายว่า ดาวเคราะห์น้อยอาจมีแรงโน้มถ่วงน้อยเกินกว่าจะใช้อยู่อาศัยหรือสร้างเมืองบนผิวดาวเคราะห์น้อยแต่ทรัพยากรบนดาวเคราะห์ก็มีประโยชน์ในด้านของวัสดุใช้สร้างเมืองบนอวกาศ


โครงสร้างของดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่ไม่ได้จับตัวกันแน่นและสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบโครงสร้างได้ง่าย ๆ ทีมงานจึงเสนอแนวคิดใช้ตาข่ายขนาดใหญ่สร้างจากคาร์บอนไฟเบอร์นาโนทรงกลมคล้ายวงแหวนมาทำการห่อรอบ ๆ ดาวเคราะห์น้อยเอาไว้และทำการหมุนเพื่อสร้างแรงโน้มถ่วงเทียม หลังจากนั้นใช้หุ่นยนต์หรือนักบินอวกาศทำการสกัดให้ชิ้นส่วนดาวเคราะห์น้อยค่อย ๆ หลุดออกจากกันชิ้นส่วนดาวเคราะห์น้อยจะค่อย ๆ หลุดออกไปและติดกับตาข่ายขนาดใหญ่สร้างจากคาร์บอนไฟเบอร์นาโนทรงกลมคล้ายวงแหวน 


เมื่อกระบวนการดังกล่าวดำเนินการต่อเนื่องชิ้นส่วนของดาวเคราะห์น้อยจะกลายเป็นเป็นผนังที่แข็งแกร่งและกันรังสีให้กับเมืองบนอวกาศ ตัวอย่างเช่น ทีมงานเลือกดาวเคราะห์น้อย Bennu ที่มีรัศมี 300 เมตร แต่หากใช้แนวคิดที่ทีมนักวิจัยพัฒนาขึ้นจะสามารถสร้างเมืองบนอวกาศที่มีรัศมี 3 กิโลเมตร เลยทีเดียว 


ภาพอธิบายการกระจายตัวของเศษชิ้นส่วนดาวเคราะห์น้อยไปยังตาขายคาร์บอนไฟเบอร์นาโนทรงกลมคล้ายวงแหวนด้านนอก

 

จุดเด่นของแนวคิดเมืองอวกาศที่มีลักษณะคล้ายวงแหวนหมุนได้ นอกจากสามารถสร้างได้รวดเร็วและไม่จำเป็นต้องขนทรัพยากรขึ้นไปจากโลกทั้งหมด เมืองอวกาศแห่งนี้จะได้รับการปกป้องจากรังสีต่าง ๆ ในอวกาศโดยชิ้นส่วนดาวเคราะห์น้อยที่ติดอยู่บริเวณผนังของเมืองอวกาศ นอกจากนี้บริเวณด้านนอกของเมืองอวกาศยังติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์จำนวนมากเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าป้อนเข้าสู่ระบบ 


อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงการนำเสนอแนวคิดเท่านั้น หากต้องการสร้างเมืองบนอวกาศจริงอาจต้องใช้เวลาพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มเติมอีกหลายสิบปี


ที่มาของข้อมูล Newatlas

ที่มาของรูปภาพ University of Rochester

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง