นักวิทย์เคนยาคิดค้นสารพัดวิธีกำจัด “ตั๊กแตนทะเลทราย”
วันนี้ ( 2 ก.ค. 63 )เป็นเวลาหลายสัปดาห์แล้วที่ฝูงตั๊กแตนทะเลทรายจำนวนมหาศาลบุกเข้าโจมในหลายพื้นที่ของเคนยาและกัดกินพืชผลการเกษตรสร้างความเสียหายอย่างมาก ส่งผลให้ตอนนี้ นักวิทยาศาสตร์ประจำสถาบันอาหารชีววิทยาและนิเวศน์วิทยาแมลง ในกรุงไนโรบี กำลังเร่งค้นคว้าวิจัยเพื่อหาวิธีในการกำจัดตั๊กแตนที่กำลังสร้างความเดือดร้อนรำคาญเหล่านี้
โดยวิธีการที่ง่ายและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สุด คือการจับตั๊กแตนมาเป็นอาหารให้กับทั้งมนุษย์และสัตว์ เพราะตั๊กแตนมีรสชาติหวานมัน อุดมไปด้วยโปรตีน ขณะที่จากการวิจัยเพิ่มเติมพบว่า เชื้อราโรคแมลงชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Metharizium acridum มีคุณสมบัติสามารถฆ่าตั๊กแตนปริมาณมหาศาลได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น เป็นวิธีการที่ได้ผลดีและกำลังได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในหลายประเทศแถบแอฟริกาตะวันออก ที่ได้รับผลกระทบจากฝูงตั๊กแตนเหล่านี้
นอกจากนี้ นักวิจัยยังให้ความสนใจเรื่องของกลิ่นและฟีโรโมนของตั๊กแตนทะเลทราย เพราะจากการค้นคว้าพบว่า ตั๊กแตนในช่วงที่ยังบินไม่ได้จะมีกลิ่นเฉพาะตัวที่ช่วยให้พวกมันรวมตัวเป็นฝูง แต่เมื่อตั๊กแตนเจริญวัยขึ้นและสามารถบินได้ กลิ่นประจำตัวมันก็จะเปลี่ยนไป นักวิจัยจึงกำลังค้นคว้าหาวิธีสกัดกลิ่นจากตั๊กแตนตัวเต็มวัย เพื่อไปปล่อยในฝูงตั๊กแตนที่ยังไม่โตเต็มวัย ซึ่งอาจช่วยให้พวกเขาเกิดความผิดปกติจนอาจกินกันเองหรือไม่มาอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่
ทั้งนี้ กองทัพตั๊กแตนบุกเข้ามาในแอฟริกาตะวันออกและภูมิภาคทะเลแดงเมื่อปลายปีที่แล้ว หลังเกิดการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศอย่างรุนแรงผิดปกติ โดยฝูงตั๊กแตนบินมาจากเยเมน และบุกเข้าไปถึงเคนยา โซมาเลีย และเอธิโอเปีย วิธีปราบตั๊กแตนที่ใช้กันส่วนใหญ่ก่อนหน้านี้ คือการฉีดยาฆ่าแมลง ซึ่งแม้จะสามารถกำจัดฝูงตั๊กแตนได้เมื่อใช้ในปริมาณมาก แต่ก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากทำให้แมลงชนิดอื่นๆ ต้องตายไปแล้ว อีกทั้งยังทำให้ยาฆ่าแมลงตกค้างในพืชผลการเกษตร
เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline