รีเซต

Danuri ยานสำรวจดวงจันทร์ลำแรกของเกาหลีใต้เข้าสู่วงโคจรแล้ว

Danuri ยานสำรวจดวงจันทร์ลำแรกของเกาหลีใต้เข้าสู่วงโคจรแล้ว
TNN ช่อง16
19 ธันวาคม 2565 ( 13:48 )
70

หลังจากการเดินทางในอวกาศนานถึง 4 เดือน ในที่สุดดนูรี (Danuri) ซึ่งเป็นยานสำรวจดวงจันทร์แบบโคจรรอบ (Lunar Orbiter) ก็ได้เริ่มเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์แล้ว เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2022 ที่ผ่านมา ตามรายงานของสถาบันวิจัยอวกาศเกาหลี (Korea Aerospace Research Institute หรือ KARI) โดยเครื่องยนต์ 5 ตัวแรก จะติดเครื่องยนต์และเผาไหม้เชื้อเพลิงไปเรื่อย ๆ จนถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2022 เพื่อปรับสมดุลวงโคจรของยานอวกาศที่ระดับความสูงเฉลี่ย 60 ไมล์ หรือ 100 กิโลเมตร เหนือพื้นผิวดวงจันทร์

ครั้งแรกของเกาหลีใต้ ! 

สำหรับดนูรี เป็นยานสำรวจดวงจันทร์แบบโคจรรอบลำแรกของเกาหลีใต้ ในขณะเดียวกันก็เป็นภารกิจสำรวจอวกาศครั้งแรกของเกาหลีใต้ที่ออกไปไกลเกินวงโคจรของโลก ซึ่งนี้มีมูลค่ามากถึง 180 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 6,300 ล้านบาท 


รายละเอียดสำคัญของยานอวกาศ 

โดยรายละเอียดของยานอวกาศนั้น ดนูรีเป็นยานอวกาศแบบโคจรรอบที่มีน้ำหนัก 1,495 ปอนด์ หรือ 678 กิโลกรัม บรรทุกเพย์โหลดด้านวิทยาศาสตร์แยกกันจำนวน 6 ตัว และเครื่องมือวิทยาศาสตร์หลัก ๆ อีก 5 ตัว อันได้แก่ กล้องถ่ายภาพภูมิประเทศ, กล้องโพลาริเมตริก (Polarimetric Camera) แบบมุมกว้าง, แมกนีโตมิเตอร์ (Magnetometer), สเปกโตรมิเตอร์รังสีแกมมา (Gamma-Ray Spectrometer) และเพย์โหลดทดสอบเทคโนโลยีเครือข่ายใหม่ ที่ได้รับการพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยและองค์กรวิจัยของเกาหลี


ก่อนหน้านี้ดนูรีถูกส่งขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวดฟัลคอน 9 (Falcon) ของบริษัท สเปซเอ็กซ์ (SpaceX) จากสถานีกองทัพอวกาศ (Space Force Station) ณ แหลมคะแนเวอรัล รัฐฟลอริดา หลังจากนั้นยานอวกาศได้เดินทางแบบประหยัดเชื้อเพลิงเป็นระยะเวลานานถึง 134 วัน หรือราว ๆ 4 เดือน คิดเป็นระยะทางรวมถึง 3.3 ล้านไมล์ หรือ 5.4 ล้านกิโลเมตร ก่อนจะเริ่มเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์

ข้อมูลและภาพจาก KARI

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง