รีเซต

เปิดชีวิตจริง "จ่าเพียร" นักสู้แห่งเทือกเขาบูโด 40 ปี แลกชีวิตติดยศนายพล

เปิดชีวิตจริง "จ่าเพียร" นักสู้แห่งเทือกเขาบูโด 40 ปี แลกชีวิตติดยศนายพล
TNN ช่อง16
9 มิถุนายน 2566 ( 17:27 )
86
เปิดชีวิตจริง "จ่าเพียร" นักสู้แห่งเทือกเขาบูโด 40 ปี แลกชีวิตติดยศนายพล

เปิดชีวิตจริง "จ่าเพียร" นักสู้แห่งเทือกเขาบูโด 40 ปี แลกชีวิตติดยศนายพล 



พลตำรวจเอก สมเพียร เอกสมญา เคยดำรงตำแหน่งผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรบันนังสตา จังหวัดยะลา รับราชการตำรวจตั้งแต่เป็น สิบตำรวจตรี จนถึงยศพันตำรวจเอก ได้ฉายาว่า จ่าเพียร นักสู้แห่งเทือกเขาบูโด และ จ่าเพียร ขาเหล็ก จากการปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเวลากว่า 40 ปี เขาได้รับเลื่อนขั้นเป็นพลตำรวจเอกหลังจากเสียชีวิต และเกิดเป็นประเด็นขึ้นมาหลังทราบว่าเขาพยายามขอย้ายแต่ไม่ได้ 




เกิด : 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 จังหวัดสงขลา ประเทศไทย

เสียชีวิต : 12 มีนาคม พ.ศ. 2553 (59 ปี) ที่จังหวัดยะลา ประเทศไทย

สัญชาติ : ไทย

อาชีพ : ตำรวจ

มีชื่อเสียงจาก : เสียชีวิตระหว่างการปราบปรามพวกก่อความไม่สงบในจังหวัดยะลา และการทำเรื่องย้ายที่ไม่สำเร็จ

คู่สมรส : พิมพ์ชนา ภูวพงษ์พิทักษ์

บุตร : ชุมพล เอกสมญา / เสรฐวุฒิ เอกสมญา / อรรถพร เอกสมญา / ส.ต.อ.โรจนินทร์ ภูวพงศ์พิทักษ์



40 ปี อยู่ชายแดนใต้ แต่อยากกลับบ้านช่วงสุดท้ายของชีวิต 


โดยเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2553 พ.ต.อ.สมเพียร  เอกสมญา ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง ผกก.สภ.บันนังสตา ได้เดินทางมาร้องเรียนกับ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาการ ผบ.ตร. และ นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี  ถึงการไม่ได้รับความเป็นธรรมในการแต่งตั้งโยกย้ายที่ผ่านมา  เนื่องจาก พ.ต.อ.สมเพียรฯ ได้ขอย้ายจาก ผกก.บันนังสตา จ.ยะลา มาดำรงตำแหน่ง ผกก.สภ.กันตัง จ.ตรัง โดยให้เหตุผลว่า ขอไปใช้ชีวิตช่วงปีสุดท้ายก่อนเกษียณอายุราชการ หลังจากที่ได้รับใช้ทางราชการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาร่วม 40 ปี สุดท้ายก็ไม่ได้รับการเหลียวแล หรือพิจารณาจากทั้ง พล.ต.อ.ปทีปฯ และ นายอภิสิทธิ์ฯ  ถึงกับทำให้ พ.ต.อ.สมเพียรฯ ต้องหลั่งน้ำตาลูกผู้ชาย ด้วยความคับแค้นใจ


"รับราชการตำรวจมาร่วม 40 ปี และใช้ชีวิตอยู่ใน สภ.บันนังสตา มานานตั้งแต่สมัยชั้นประทวน 

ต่อสู้กับคนร้ายจนรอดตายมาหลายครั้ง ได้รับบาดเจ็บสาหัสก็หลายหน 

ครั้งนี้รู้สึกเหนื่อยล้า และเป็นปีสุดท้ายก่อนจะเกษียณอายุราชการ 


จึงขอโยกย้ายออกนอกพื้นที่ไปอยู่บ้านภรรยาที่ตรัง และผู้บังคับบัญชารับปากจะพิจารณาให้ย้ายไปที่โรงพักดังกล่าว 

แต่พอคำสั่งแต่งตั้งมาปรากฎว่าไม่ได้ย้าย คงอยากจะทำเรื่องขอพระราชทานยศ 

พล.ต.อ.ให้ตนตอนตายแล้วมากกว่า" 


พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา เคยกล่าวไว้


อย่างไรก็ตาม สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ออกมาชี้แจงว่าคณะกรรมการ ก.ตร. ได้เตรียมพิจารณาข้อเรียกร้องของ พล.ต.อ. สมเพียรในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2553 โดยจะพิจารณาเลื่อนตำแหน่งเป็น รอง ผบก. แต่ พล.ต.อ. สมเพียรได้เสียชีวิตเสียก่อน 

 


ปัจจุบัน มีรูปปั้นจ่าเพียร ซึ่งมีการสร้างไว้ภายใน ที่วัดคลองเปล หรือวัดน้ำผุด อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานในคุณงามความดีของจ่าเพียร และบทประพันธ์สดุดีความกล้าหาญของจ่าเพียร ที่สละชีพเพื่อชาติ “วีรชนคนกล้าของแผ่นดิน” มีเนื้อความว่า 


”จากลูกพล สู่นายพล ด้วยผจญความร้อนหน้าว ผ่านศึกทุกครั้งคราว 

บากบั่นสู้ไม่ถอยหนี จากแรงกายสู่แรงใจ ทุ่มเทให้ในหน้าที่ สละเลือดเป็นชาติพลี ขอสดุดี"




จากไปก่อนเกษียณเพียง 1 ปี

เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2553 ในขณะที่ พล.ต.อ.สมเพียร นั่งรถยนต์ พร้อมลูกน้อง 3 นาย ออกไปติดตามหาข่าวความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ หลังทราบข่าวว่า กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ได้ออกมาเคลื่อนไหวในพื้นที่ เพื่อเตรียมก่อเหตุร้ายครั้งใหญ่ เมื่อขับรถยนต์มาถึงบริเวณที่เกิดเหตุ มีคนร้ายไม่ทราบกลุ่ม จำนวน 5-8 คน กดระเบิดที่ฝังไว้ และใช้อาวุธสงครามยิงเข้าใส่ จำนวนหลายชุด แรงระเบิดและคมกระสุนส่งผลให้ พล.ต.อ.สมเพียร ทนพิษบาดแผลไม่ไหวเสียชีวิตที่ รพ.ศูนย์ยะลา สิริอายุ 59 ปี ส่วนลูกน้องคนสนิท 4 นาย บาดเจ็บสาหัส 


ติดยศนายพล ตอนอายุ 59 ปี 


หลังจาก พล.ต.อ.สมเพียร เสียชีวิต ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้พิจารณาตอบแทนให้เลื่อนขั้น 7 ขั้นยศเป็น พลตำรวจเอก ในวันที่ 13 มีนาคม มอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์และมอบเงินสวัสดิการตำรวจที่จะช่วยเหลือแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิตจำนวนเงิน 3 ล้านบาท พร้อมดูแลการศึกษาของทายาทจนจบระดับปริญญาตรี หรือการรับเข้าทำงานราชการตำรวจต่อไป ขณะนั้น พล.ต.อ.สมเพียร มีอายุ 59 ปี  เหลือเพียง 1 ปีก็เกษียณอายุราชการแล้ว 



เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) (หลังเสียชีวิต)

พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)

พ.ศ. 2525 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 5 เหรียญรามมาลาเข็มกล้ากลางสมร (ร.ม.ก.)

พ.ศ. 2556 – เหรียญกล้าหาญ (ร.ก.) (ทายาทเป็นผู้รับแทน)

พ.ศ. 2521 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)

พ.ศ. 2525 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)

พ.ศ. 2529 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)

พ.ศ. 2553 – เหรียญลูกเสือสรรเสริญ ชั้นที่ 1



ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจกลุ่มตัวอย่างประชาชนอายุมากกว่า 18 ปี ใน 17 จังหวัด จำนวน 2,071 ตัวอย่าง รายงานผลว่า สมเพียร เอกสมญา เป็นบุคคลที่น่าชื่นชมที่สุดแห่งปี 2553 คิดเป็นร้อยละ 69.2 ของผู้ตอบแบบสอบถาม



ข้อมูล / ภาพ  จ่าเพียร ตำนานนักรบ นักสู้...แห่งเทือกเขาบูโด / วิกิพีเดีย



ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง