รีเซต

WHO แนะใช้ยารักษาโรคข้ออักเสบ ร่วมกับ ยายาสเตียรอยด์ รักษาโควิด-19

WHO แนะใช้ยารักษาโรคข้ออักเสบ ร่วมกับ ยายาสเตียรอยด์ รักษาโควิด-19
Ingonn
8 กรกฎาคม 2564 ( 13:39 )
424

 

เป็นอีกข่าวดีในการรักษาโควิด-19 หลังจากที่องค์การอนามัยโลก แนะนำให้ใช้ยารักษาโรคข้ออักเสบ “แอคเท็มรา” (Actemra) หรือ “ยาเคฟซารา” (Kevzara)  ร่วมกับ “คอร์ติโคสเตียรอยด์” ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรง ซึ่งมีผลการวิจัยรองรับว่าทดสอบในผู้ป่วยประมาณ 11,000 ราย แสดงให้เห็นว่าความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโควิด-19 ลดลงเมื่อใช้วิธีรักษาดังกล่าว

 

 

วันนี้ TrueID จึงจะมาเปิดผลการวิจัยจาก WHO ที่ค้นพบการรักษาโควิด-19 ด้วยการใช้ยาแบบใหม่ โดยยาที่ใช้เกี่ยวกับยารักษาโรคข้ออักเสบ ซึ่งช่วยลดการเสียชีวิตของผู้ที่ติดเชื้อได้

 

 


แอคเท็มราเป็นชื่อการค้าของ โทซิลิซูแมบ (Tocilizumab) ส่วน เคฟซาราเป็นชื่อทางการค้าของ ซาริลูแมบ (Sarilumab) ยาทั้งสองเป็นยากดภูมิคุ้มกัน ซึ่งใช้ในการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

 


ส่วนยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ คือ ยาสเตียรอยด์ชนิดที่ใช้ภายนอก (topical steroids) มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันและฤทธิ์อื่นๆ เหมือนกับคอร์ติซอล (cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนเปลือกนอก ยาสเตียรอยด์ชนิดที่ใช้ภายนอกนี้มีบทบาทมากในการรักษาโรคผิวหนังที่มีอาการอักเสบและอาการคัน มีรูปแบบต่างๆ ให้เลือกใช้ เช่น ขี้ผึ้ง ครีม โลชั่น โดยยาในรูปแบบครีมใช้กันมากที่สุด

 

 

 

องค์การอนามัยโลก ดำเนินการวิเคราะห์ดังกล่าวร่วมกับมหาวิทยาลัยคิงส์คอลเลจลอนดอน มหาวิทยาลัยบริสตอล มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน และระบบบริการสุขภาพของกายส์แอนด์เซนต์โทมัส เอ็นเอชเอส เฟาน์เดชัน ทรัสต์ ที่ประเมินการรักษาสรุปว่า ความเสี่ยงจากการเสียชีวิตในรอบ 28 วัน ของผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับยารักษาโรคข้ออักเสบตัวใดตัวหนึ่ง ร่วมกับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ความเสี่ยงจากการเสียชีวิตในรอบ 28 วัน ของผู้ป่วยโควิด-19 อยู่ที่ 21% เทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบมาตรฐาน มีความเสี่ยงเสียชีวิตอยู่ที่ 25%

 

 

 

การรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงและอยู่ในภาวะวิกฤตด้วยยาที่ขัดขวาง interleukin-6 (โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองภูมิคุ้มกัน) ช่วยลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตและความจำเป็นในการใช้เครื่องช่วยหายใจของผู้ป่วยโควิด-19 จากการวิเคราะห์พบว่า ความเสี่ยงเสียชีวิตในช่วง 28 วันสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยารักษาโรคข้ออักเสบตัวใดตัวหนึ่ง ร่วมกับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ เช่น เดกซาเมทาโซน (dexamethasone) จะอยู่ที่ 21% เทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบมาตรฐาน มีความเสี่ยงเสียชีวิตอยู่ที่ 25% และจะช่วยให้มีผู้ป่วยติดเชื้อ 4 คน มีชีวิตรอดในผู้ป่วยทุกๆ 100 คน

 

 


นอกจากนั้นยังช่วยลดความเสี่ยงของผู้ป่วยติดเชื้อในการใช้เครื่องช่วยหายใจหรือเสียชีวิตในอัตรา 26% ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบทั่วไปที่มีอัตราใช้เครื่องหายใจหรือเสียชีวิต 33% และจะช่วยให้มีผู้ป่วยติดเชื้อ 7 คน มีชีวิตรอดในผู้ป่วยทุกๆ 100 คน

 

 


โดยองค์การอนามัยโลกสรุปผลการวิเคราะห์จากกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อ 10,930 คน ในจำนวนนี้มีผู้ป่วย 6,499 คน ได้รับยาในกลุ่มดังกล่าว และมีผู้ป่วย 4,481 คน ที่ได้รับการรักษาแบบปกติด้วยการใช้ยาหลอก

 

 

 

ยาเดกซาเมทาโซน ยาในกลุ่มคอร์ดิโคสเตียรอยด์

 

เดกซาเมทาโซนอาจไม่เป็นคอร์ดิโคสเตียรอยด์ตัวเดียวที่สามารถป้องกันการอักเสบเนื่องมาจากโควิด-19 แต่เพียงตัวเดียว เนื่องจากในต่างประเทศได้มีการรับรองยาเดกซาเมทาโซน (dexamethasone) และเริ่มใช้ยาตัวนี้กันอย่างแพร่หลาย อย่างโรงพยาบาลหนึ่งในอเมริการายงานว่าเริ่มการใช้ยาเดกซาเมทาโซนตั้งแต่เดือนเมษายนและมีผลดีมาก เช่นเดียวกับโรงพยาบาลเฮนรี่ฟอร์ด ในเมืองดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน รายงานว่าผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาเมทิลเพรดนิโซโลน (methylprednisolone) มีผลตอบรับที่ดีเช่นกัน

 

 

 

กลุ่มยาคอร์ดิโคสเตียรอยด์ได้ผลดีในการรักษาโควิด-19 เนื่องจากการเลียนแบบฮอร์โมนต้านการอักเสบที่ร่างกายผลิตได้เองตามธรรมชาติ โดยแก่นหลักคือคอร์ติซอล (cortisol) ซึ่งผลิตโดยต่อมหมวกไต (adrenal glands) ที่อยู่บนไตทั้งสองข้าง

 

 

 

กลูโคคอร์ติคอยด์อย่างเดกซาเมทาโซนและเมทิลเพรดนีโซโลน อยู่ในกลุ่มคอร์ติโคเสียรอยด์ที่ยับยั้งไม่ให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานหนักเกินไปและสร้างไซโตไคน์มากเกินไป ซึ่งไซโตไคน์ที่มากเกินไปส่งผลย้อนกลับมาทำลายระบบการทำงานของร่างกาย โดยยานี้ถูกใช้รักษาอาการอักเสบต่าง ๆ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ อาการแพ้ โรคผิวหนังเช่น โรคสะเก็ดเงิน และโรคลำไส้อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง

 

 


อย่างไรก็ดี บางประเทศใช้วิธีการรักษาโดยการสังเกตอย่างใกล้ชิด หากให้ยาเดกซาเมทาโซนเร็วเกินไป อันตรายที่ตามมาจากการให้ยาเดกซาเมทาโซนเร็วเกินไปคือยาจะกดระบบภูมิคุ้มกันระหว่างกำลังต่อสู้ไวรัส

 

 

 

ข้อมูลจาก กรมประชาสัมพันธ์ , medix , คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง