เงินเดือนแค่ไหนต้องเสียภาษี
คนกินเงินเดือนที่เพิ่งจบใหม่นั้นอาจจะยังไม่มีโอกาสในการยื่นภาษี ทำให้หลายคนยังคงไม่เข้าใจว่าการยื่นภาษีต้องทำอย่างไรบ้าง ไม่รู้ว่าควรเสียภาษีหรือยัง หรือว่าวิธีการคิดควรเริ่มต้นยังไง วันนี้ TrueID มีคำตอบไปดูกันเลย
เงินเดือนแค่ไหนต้องเสียภาษี
ก่อนอื่นจะมาอธิบายว่า “เงินได้” กับ “เงินได้สุทธิ” ไม่เหมือนกัน เพราะ "เงินได้" คือ ส่วนของรายได้ทั้งหมดที่เราได้รับตลอดปีที่ผ่านมา เช่น เงินเดือน เงินโบนัส เงินปันผลต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งเรานั้นจะต้องทำการยื่นภาษีในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมของปีถัดไป เช่น เราต้องยื่นแบบแสดงภาษีภายในเดือนมีนาคม 2564 นั่นหมายความว่าเราจะคิดจากรายได้ทั้งหมดในปี 2563 แล้วค่อยนำมาหักค่าใช้จ่ายรวมถึงค่าลดหย่อนทีหลังจึงกลายเป็น “เงินได้สุทธิ”
ตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ใช้ในการคำนวณภาษีกำหนดว่าบุคคลที่มีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี หมายความว่า บุคคลที่มีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 150,001 บาทขึ้นไปนั้นต้องเสียภาษี อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ จากเงินได้สุทธิส่วนที่เกินมา 150,001 บาท ที่มาจากเงินได้ (เงินเดือน+เงินโบนัส+เงินได้อื่น ๆ)
วิธีการคิดภาษีที่ต้องจ่าย
สำหรับการคำนวณภาษีที่เราต้องจ่ายนั้นมีหลักง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากดังนี้
สมมติว่าคุณมีเงินเดือน เดือนละ 26,583.33 บาท x 12 เดือน (ต้องคิดทั้งปี) = 319,000 บาท
สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 100,000 บาท + หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท + หักเงินสะสมกองทุนประกันสังคมรวมทั้งปี 9,000 บาท
จะได้สูตรคำนวนเงินได้สุทธิ ดังนี้
เงินได้ 319,000 บาท – ค่าใช้จ่าย 100,000 บาท – ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท – เงินกองทุนประกันสังคม 9,000 บาท = เงินได้สุทธิ 150,000 บาท
จากนั้นเราก็ไปดูว่ารายได้สุทธิของเราอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีเท่าไหร่
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ใช้ในการคำนวนภาษี
ดังนั้น บุคคลที่มีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท (หรือมีเงินเดือน เดือนละไม่เกิน 26,583.33 บาท) ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี
ข้อมูล : มติชน
รูปภาพโดย mohamed hassan ฟอร์ม PxHere
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :