รีเซต

ไขคำถามข้องใจ เกี่ยวกับการเก็บภาษี e-Service

ไขคำถามข้องใจ เกี่ยวกับการเก็บภาษี e-Service
TrueID
4 พฤศจิกายน 2564 ( 10:31 )
522

การจัดเก็บภาษี e-Service จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป  ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการออนไลน์จากแพลตฟอร์มต่างประเทศต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ให้กรมสรรพากร ยังมีคำถามมาอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับเงื่อนไขการจัดเก็บภาษี e-Service วันนี้ trueID ได้นำคำถามที่มักจะถูกถามเกี่ยวกับภาษีตัวนี้มาให้แล้ว

 

 

 

 

หลักการกฏหมาย e-service

 

กฎหมาย e-Service เกี่ยวกับอะไร

 

 
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53) พ.ศ. 2564 กําหนดให้ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ จากต่างประเทศและอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มต่างประเทศที่มีรายรับ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี จากการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ แก่ผู้ใช้บริการในประเทศไทยซึ่งไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มยื่นแบบแสดงรายการ และนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่กรมสรรพากร โดยคํานวณจากภาษีขาย ไม่ให้หักภาษีซื้อ และห้ามออกใบกํากับภาษี
 
 

มีผลใช้บังคับเมื่อใด

 

ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ และอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มต่างประเทศที่มีรายรับ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี จากการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ แก่ผู้ใช้บริการในประเทศไทยซึ่งไม่ใช่ผู้ประกอบการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเสียภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่กรมสรรพากร ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป

 

 

บริการทางอิเล็กทรอนิกส์หมายถึงอะไรบ้าง

 

บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง บริการซึ่งรวมถึงทรัพย์สิน ที่ไม่มีรูปร่างที่ส่งมอบโดยผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือเครือข่ายทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นใด ซึ่งลักษณะของบริการ เป็นไปโดยอัตโนมัติ โดยบริการดังกล่าวไม่สามารถกระทําได้ หากปราศจากเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การให้บริการดาวน์โหลดเกม เพลง ภาพยนตร์ออนไลน์ การให้บริการพื้นที่โฆษณาบนเว็บไซต์หรือสื่อสังคมออนไลน์

 

กฎหมาย e-Service ใช้บังคับกับกรณีสั่งซื้อสินค้า จากต่างประเทศทางออนไลน์และนําเข้าผ่าน ด่านศุลกากรมายังประเทศไทยหรือไม่

 

กฎหมาย e-Service ไม่ใช้บังคับกับกรณีสั่งซื้อสินค้า จากต่างประเทศทางออนไลน์และนําเข้าผ่านด่านศุลกากร มายังประเทศไทย เนื่องจากในการนําเข้าสินค้าจากต่างประเทศ สินค้าจะต้องผ่านพิธีการศุลกากรและกรมศุลกากรจะจัดเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนําเข้าสินค้านั้นให้แก่กรมสรรพากรอยู่แล้ว

 

การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยจะถือว่าผู้ประกอบการ มีสถานประกอบการถาวร (Permanent Establishment : PE) ในประเทศไทยหรือไม่

 

การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ถือว่าผู้ประกอบการมีสถานประกอบการถาวร (Permanent Establishment: PE) ในประเทศไทย

 

 

 

หน้าที่ของผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ และแพลตฟอร์ม e - Service

 

 

ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อใด

 

ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์และอิเล็กทรอนิกส์ แพลตฟอร์มจากต่างประเทศที่ได้ให้บริการแก่ผู้ใช้บริการที่ไม่ได้ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยต้องยื่นคําร้องขอจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาท ในหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี(กรณีนิติบุคคล) หรือในหนึ่งปีปฏิทิน(กรณีบุคคลธรรมดา)

 

     สําหรับในปี 2564 ซึ่งเป็นปีแรกที่กฎหมายได้บังคับใช้การคํานวณ มูลค่า 1.8 ล้านบาทข้างต้น

 

- กรณีผู้ประกอบการเป็นนิติบุคคล ให้คํานวณจากรายรับค่าบริการ ตั้งแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีที่ไม่สิ้นสุดก่อน วันที่ 1 กันยายน 2564

 

 - กรณีผู้ประกอบการเป็นบุคคลธรรมดาให้คํานวณตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2564 เว้นแต่ ในกรณีที่เริ่มประกอบกิจการระหว่างปี ให้เริ่มนับตั้งแต่วันเริ่มประกอบกิจการ

     

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์และอิเล็กทรอนิกส์ แพลตฟอร์มจากต่างประเทศมีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับมากกว่า 1.8 ล้านบาท

 

 

ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อใด

 

ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (P.P. 30.9) พร้อมกับชําระภาษีเป็นรายเดือน โดยให้ดําเนินการผ่านระบบ SVE บนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ผู้ประกอบการสามารถยื่นแบบฯ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 - 23 ของเดือนภาษีถัดไป

 

ทั้งนี้ ให้ผู้ประกอบการยื่นแบบฯ ทุกเดือนไม่ว่าจะมีรายรับจาก การให้บริการในเดือนภาษีนั้นหรือไม่ก็ตาม

 

กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ยื่นแบบแสดงรายการ ภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว แต่ภายหลังพบว่าได้นําส่งข้อมูลไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้ผู้ประกอบการยื่นแบบฯ เพิ่มเติมได้

 

 

ต้องชําระภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร

 

การชําระภาษีสามารถชําระได้ 2 วิธีการดังต่อไปนี้ด้วยสกุลเงินบาท โดยให้ดําเนินการผ่านระบบ SVE

 

-การโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของกรมสรรพากร

- การชําระด้วยบัตรเครดิต

 

 

ต้องจัดทํารายงานอะไรบ้าง

 

ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องจัดทํารายงานภาษีขาย ตามแบบที่กรมสรSwากรกําหนด การลงรายการในรายงาน ภาษีขายให้ลงภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่ไดให้บริการ และให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเก็บและรักษารายงานภาษีขาย พร้อมทั้งเอกสารประกอบการลงรายงานดังกล่าวเป็นเวลา ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ได้ทํารายงาน

 

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องนําส่งรายงานภาษีขาย ให้กรมสรรพากรหากกรมสรรพากรไม่ได้ต้องรอ

  
 

หากมีการยกเลิกบริการ แต่ผู้ประกอบการ ชําระภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว หรือหากผู้ประกอบการ ชําระภาษีมูลค่าเพิ่มไว้เกินเนื่องจากไม่มีหน้าที่ ต้องชําระหรือคํานวณผิดพลาด ผู้ประกอบการ ต้องดําเนินการอย่างไร

 

ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ในกรณีต่าง ๆ

 

  • เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริการที่ไม่ได้ใช้ในประเทศไทย
  • เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานภาษีขายเดิมหรือชําระภาษี เกินกว่าจํานวนที่ต้องชําระ

 

ผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถยื่นคําร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 3 ปีนับแต่วันที่ได้ชําระภาษี การยื่นคําร้องขอคืนเงินภาษีอากร และต้องแนบเอกสารหลักฐานเพื่อพิสูจน์ว่าได้เสียภาษีเกินไปโดยupload ผ่านระบบ SVE

 

อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่สามารถนําภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ได้ชําระไว้เกินในเดือนก่อนมาลดยอดภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชําระ ในเดือนปัจจุบัน (Offsetting)

 

 

ผู้ประกอบการจะพิจารณาได้อย่างไร ว่าเป็นการใช้บริการในประเทศไทย

 

การพิจารณาว่าผู้ใช้บริการอยู่ในประเทศไทยหรือไม่ สามารถพิจารณาจากข้อมูลที่ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการ ทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มจาก ต่างประเทศ จัดเก็บเป็นปกติทางธุรกิจที่สามารถบ่งชี้ว่า ผู้รับบริการอยู่ในประเทศใดซึ่งอาจเป็นข้อมูลอย่างใด อย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

  • ข้อมูลการชําระเงิน เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต
  • ข้อมูลธนาคารที่ใช้ชําระ ข้อมูลการอยู่อาศัย เช่น ที่อยู่ของสถานที่พักอาศัย (Home Address) ที่อยู่ในการรับใบเสร็จ (Biling Address) เป็นต้น
  • ข้อมูลช่องทางที่ใช้ในการเข้าถึงบริการ เช่น รหัสประเทศ ของหมายเลขโทรศัพท์มือถือ IP Address เป็นต้น

อย่างไรก็ดี หากข้อมูลที่ได้เก็บข้างต้นมีข้อมูลที่บ่งชี้ประเทศที่อยู่ ของผู้ใช้บริการไม่สอดคล้องกัน ผู้ประกอบการอาจพิจารณาที่อยู่ ของผู้ใช้บริการจากข้อมูลข้างต้นที่ไม่ขัดแย้งกันตั้งแต่ 2 ข้อมูลขึ้นไป

 

 

หากผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มจากต่างประเทศ มีหน้าที่ตามกฎหมายของประเทศที่จดทะเบียน จัดตั้ง กําหนดให้ต้องออกใบกํากับภาษีสําหรับ การให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จะสามารถ ดําเนินการได้หรือไม่

 

สามารถทําได้ อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มจากต่างประเทศไม่มีหน้าที่ ออกใบกํากับภาษีตามกฎหมายของประเทศไทย

 

 

 

ผู้ประกอบการที่ให้บริการรับชําระเงินค่าบริการ สําหรับผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการ ทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม จากต่างประเทศมีหน้าที่ต้องนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้แก่ประเทศไทยหรือไม่

 

ไม่ต้อง เนื่องจากการให้บริการรับชําระค่าบริการไม่เป็นบริการ ทางอิเล็กทรอนิกส์

 

 

หากผู้ใช้บริการแจ้งเลขทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่เป็นเท็จต่อผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ และอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มต่างประเทศ โดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการชําระภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์และอิเล็กทรอนิกส์ แพลตฟอร์มต่างประเทศจะมีความผิดหรือไม่

 

ไม่มีความผิด เนื่องจากผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์และอิเล็กทรอนิกส์ แพลตฟอร์มต่างประเทศไมมีหน้าที่ต้องตรวจสอบความถูกต้อง ของการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ใช้บริการ จากเลขทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

อย่างไรก็ดี ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์และอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม ต่างประเทศควรตรวจสอบความถูกต้องของเลขทะเบียนในเบื้องต้น เช่น ความถูกต้องของจํานวนหลักของเลขทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ต้องมี 13 หลัก) ความสมเหตุสมผลของเลขทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ไม่ใช่เลขเรียง (1234)

 

 

 

ข้อมูลสําหรับผู้ใช้บริการ e-Service

 

 

กฎหมาย e-Service จะทําให้ภาระภาษีตกอยู่กับ ผู้ใช้บริการหรือไม่

 

ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่จัดเก็บจากการบริโภคของผู้บริโภคอยู่แล้ว แต่ให้ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการมีหน้าที่นําส่งภาษี

 

สําหรับการปรับราคาค่าบริการ e-Service เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น จะขึ้นอยู่กับกลไกตลาดและความต้องการรักษาความสามารถ ในการแข่งขันของผู้ประกอบการ

 

อย่างไรก็ดี กฎหมาย e-Service มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบการไทยและผู้ประกอบการต่างประเทศ และอํานวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการที่เป็นประชาชนทั่วไป โดยผู้ประกอบการต่างประเทศจะมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ และนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่กรมสรรพากรแทนผู้ใช้บริการ ซึ่งจะทําให้ผู้ใช้บริการที่เป็นประชาชนทั่วไปได้รับความสะดวก โดยไม่ต้องมีหน้าที่ยื่นแบบฯและนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้แก่กรมสรรพากรด้วยตนเอง

 

 

ผู้ใช้บริการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) ยังมีหน้าที่นําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้บริการ ทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศหรือไม่

 

ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ใช้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์  จากต่างประเทศยังมีหน้าที่นําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้บริการดังกล่าว ตามแบบ ภ.พ. 36 ให้แก่กรมสรรพากรโดยผู้ประกอบการจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถนําภาษีมูลค่าเพิ่มที่น้ําสงดังกล่าว ไปใช้เป็นภาษีซื้อในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้

 

 
Next Station > 𝗩𝗘𝗦 Station
ผู้ที่สงสัยระบบ VES สามารถหาคำตอบได้ที่สถานีนี้ 
โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป
 
𝗩𝗘𝗦 หรือ VAT for Electronic Service เป็นระบบที่กรมสรรพากรได้จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ e-Service จากต่างประเทศ ซึ่งสามารถทำธุรกรรมภาษีต่างๆ ในระบบนี้ได้
 
จดทะเบียน
จดทะเบียนผ่านระบบ VES คลิก >> https://bit.ly/VESregistrations
 
ยื่นภาษี
เมื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่า (P.P. 30.9) ผู้ประกอบการต้องยื่นภาษีทุกเดือน ตั้งแต่วันที่ 1 - 23 ของเดือนถัดไป บนระบบ VES ผ่าน >> www.rd.go.th
 
ชำระภาษี
ชำระภาษีภายในวันที่ 1 - 23 ของเดือนที่ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม (P.P. 30.9)
 
การจัดเก็บภาษี e-Service ผ่านระบบ VES ทำให้การจัดเก็บภาษีเป็นไปอย่างโปร่งใส และเป็นธรรม สามารถสร้างรายได้ในการจัดเก็บให้กับประเทศเพิ่มขึ้น อีกทั้งสร้างความเป็นธรรมและความเท่าเทียม ในการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบ e-Service ในประเทศ
 
อ่านเพิ่มเติม>>‎https://bit.ly/3Dp4Ajc
รายละเอียด>>https://bit.ly/3ytndPl

ข่าวที่เกี่ยวข้อง