รีเซต

เตรียมตัวยื่นภาษี ทำความรู้จัก ภ.ง.ด. คืออะไร?

เตรียมตัวยื่นภาษี ทำความรู้จัก ภ.ง.ด. คืออะไร?
TrueID
5 กรกฎาคม 2566 ( 18:25 )
18K
เตรียมตัวยื่นภาษี ทำความรู้จัก ภ.ง.ด. คืออะไร?

ฤดูกาลเตรียมพร้อมสำหรับการเสียภาษีใกล้เข้ามาแล้ว การเสียภาษีถูกระบุไว้เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่มีรายได้ต้องยื่นภาษี ตามกฎหมายระบุให้บุคคลทุกคนต้องยื่นแบบเงินได้พึงประเมิน เว้นแต่ผู้เยาว์ หรือ คนไร้ความสามารถ หรือ เสมือนไร้ความสามารถ  ช่วงนี้เราก็อยู่ในช่วงเตรียมหลักฐานลดหย่อนภาษี ที่ใช้ประกอบกับ ภ.ง.ด. ซึ่งหลายท่านสงสัยว่า ภ.ง.ด. ที่ว่าคืออะไร

ภ.ง.ด. คืออะไร?

สำหรับแบบยื่นภาษีนั้น เราจะเรียกว่า "ภ.ง.ด." ย่อมาจาก ภาษีเงินได้ โดยจะแยกได้หลายประเภท โดย trueID จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับการยื่นแบบฯแต่ละประเภทว่ามีอะไรกันบ้าง

  • "ภ.ง.ด. 90" คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้มีเงินได้กรณีทั่วไป เช่นรายได้จากการมีทรัพย์สินให้เช่า การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ หรือมีกิจการเป็นของตัวเอง ต้องยื่นแบบฯในระหว่างเดือนมกราคม - มีนาคมของทุกปี
  • "ภ.ง.ด. 91" คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงาน ต้องยื่นแบบฯในระหว่างเดือนมกราคม - มีนาคมของทุกปี 
  • "ภ.ง.ด. 93" สำหรับขอชำระภาษีล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลาการยื่นแบบตามปกติ
  • "ภ.ง.ด. 94" เป็นรูปแบบการยื่นแสดงภาษีแบบครึ่งปี สำหรับเงินได้ ที่เกิดขึ้นใน 6 เดือนแรก เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับรายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือน รายได้จากค่าเช่า รายได้ค่านายหน้า รายได้ค่ารับเหมา รายได้จากการค้าขาย เป็นต้น และต้องยื่นแบบฯในระหว่างเดือน กรกฎาคม - 30 กันยายนของทุกปี

ใครบ้างที่ต้องยื่นภาษี?

ผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานประเภทเงินเดือนค่าจ้างที่ได้รับในปีภาษีนั้น (ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม)

  • กรณีไม่มีคู่สมรสต้องมีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
  • กรณีที่มีคู่สมรสไม่ว่าฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่ายต้องมีเงินได้พึงประเมินรวมกัน เกิน 120,000 บาท
  • ผู้มีเงินได้จากการทำธุรกิจการค้าทั่วไปที่มิใช่เกิดจากการจ้างแรงงานที่ได้รับในปีภาษีนั้น (ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม)
  • กรณีไม่มีคู่สมรสต้องมีเงินได้พึงประเมินเกิน 120,000 บาท
  • กรณีมีคู่สมรสไม่ว่าฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่ายต้องมีเงินได้พึงประเมินรวมกันเกิน 220,000 บาท
  • กองมรดกของผู้ตายที่ยังไม่แบ่งเกิน 60,000บาท
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลเกิน 60,000 บาท

 

 

 

ข้อมูล กรมสรรพากร

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง