รีเซต

ทำความเข้าใจ! ภาษี e - Service คืออะไร? ใครต้องจ่ายบ้าง? หลังสรรพากรพร้อมเก็บแล้ว

ทำความเข้าใจ! ภาษี e - Service คืออะไร? ใครต้องจ่ายบ้าง? หลังสรรพากรพร้อมเก็บแล้ว
TeaC
31 สิงหาคม 2564 ( 17:05 )
542
ทำความเข้าใจ! ภาษี e - Service คืออะไร? ใครต้องจ่ายบ้าง? หลังสรรพากรพร้อมเก็บแล้ว

สรรพากรพร้อมเก็บภาษีอีเซอร์วิส หรือภาษี e - Service เริ่ม 1 กันยายน 2564 ซึ่งต้องยอมรับว่าสถานการณ์โรคโควิดระบาดในช่วงที่ผ่านมา ตลาดอี-คอมเมิร์ซในประเทศไทยเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการคาดการณ์จากกลุ่มการเงินเกีรตินาคินภัทรว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า หรือช่วง ค.ศ.2025 อี-คอมเมิร์ซไทยจะเติบโตเพิ่มจาก 3 แสนล้านบาทในปัจจุบัน พุ่งทะยานขึ้นแตะ 7.5 แสนล้านบาท ครองตลาดค้าปลีกมากถึง 16% จากภาพรวมทั้งหมด ประกอบกับกาปัจจัยที่ส่งผลให้เติบโตมากยิ่งขึ้น ได้แก่

 

  • การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้นจากปัจจุบัน 80% ของประชากร
  • การใช้สมาร์ทโฟนและโซเชียลจำนวนมากของเหล่าเจเนอรชั่น Y และ Z
  • การชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์ที่ไม่ได้อยู่แค่หัวเมืองใหญ่เท่านั้น แต่ยังแพร่หลายภูมิภาค

 

ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้บริการธนาคารผ่านสมาร์ทโฟนสูงสุดเป็นอันดับ 1 และการชำระเงินผ่านมือถือสูงสุดเป็นอันดับ 2 ของโลกเลยทีเดียว สะท้อนให้เห็นว่า ผู้คนเปลี่ยนพฤติกรรมในการช้อปออนไลน์ที่มาขึ้นเอย่างมาก และนี่อาจเป็นโอกาสทองของกลุ่มผู้ประกอบการที่ปรับเปลี่ยนธุรกิจ กลยุทธ์ต่าง ๆ ทั้งรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์

 

ดังนั้น ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งผู้ประกอบการที่ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มจากต่างประเทศ เพื่อกำหนดวิธีการดำเนินงานในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ (e-Service) ของกรมสรรพากร ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ทางกฎหมายในวันที่ 1 กันยายน 2564 นั้น

 

 

ภาษี e - Service คืออะไร?

 

 

เป็นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ จัดเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ครอบคลุมผู้ให้บริการดิจิทัลข้ามชาติ ที่มีรายได้จากผู้ให้บริการในประเทศไทยเดิน 1.8 ล้านบาท/ปี ตามประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53) พ.ศ.2564

 

 

ประเทศใดบ้างที่เก็บภาษีแบบนี้?

 


มากกว่า 60 ประเทศ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น โดยทำตามคำแนะนำของ OECD ให้มีการจัดเก็ยบภาษีมูลค่าเพิ่มกับผู้ประกอบการ e-Service

 

 

ธุรกิจไหนบ้าง? ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่ากับกรมสรรพากร

 

สำหรับธุรกิจที่ต้องมาจดทะเบียนและดำเนินการทางภาษี แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มหลัก ประกอบด้วย

 

1. ธุรกิจให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับขายของออนไลน์

2. ธุรกิจให้บริการโฆษณาออนไลน์

3. ธุรกิจให้บริการจองโรงแรม ที่พักและการเดินทาง

4. ธุรกิจให้บริการเป็นตัวกลางระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย

5. ธุรกิจให้บริการสมาชิกดูหนังฟังเพลงออนไลน์ เกม และแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ

 


เริ่มจดทะเบียนเมื่อไหร่?

 

ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบงานภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ (VAT for Electronic Service : VES) บนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร โดยเริ่มลงทะเบียน วันที่ 1 กันยายน 2564 นี้ ผ่านระบบ VES ที่ www.rd.go.th

 

ต้องยื่นและกำหนดชำระภาษีเมื่อไหร่?


ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม และชำระภาษีเป็นรายเดือน ภายในวันที่ 23 ของเดือนถัดไป ผ่านระบบ VES

 

ขั้นตอนการทำธุรกรรมภาษีผ่านระบบ VES สะดวกรวดเร็ว

 

 

ผู้ประกอบการ e-Service จากต่างประเทศ

1. สามารภทำได้ผ่านระบบ VES (VET for Electronic Service) 

 

ผู้ใช้บริการในไทยที่จด VAT อยู่แล้ว


1. สามารถยื่นแบบและชำระภาษี VAT ให้กรมสรรพากร ตามแบบ ภ.พ. 36

2. สามารถนำภาษี VAT ตามใบเสร็จรับเงินดังกล่าวมาหักเป็นภาษีซื้อได้เช่นกัน

 

เช็ครายชื่อผู้ประกอบการ e-Service จากต่างประเทศที่ได้จดทะเบียนแล้ว บนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ที่ http://esrvice.rd.go.th

 

 

บังคับใช้กฎหมายได้หรือไม่?

 

 

- สรรพากรสามารถใช้กลไกในการตรวจสอบและประเมินเรียกเก็บภาษีได้
- การออกหมายเรียกพยานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการตรวจสอบและประเมินเรียกเก็บภาษี เช่น สถาบันการเงินต่าง ๆ 
- สรรพากรเปิดเผยข้อมูลรายชื่อผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ที่เว็บไซต์ กรมสรรพากร

 

ประโยชน์ที่ประเทศจะได้รับ

 

- สร้างความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
- สร้างรายได้เพื่อนำไปพัฒนาประเทศและช่วยให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

 

ข้อมูล : กรมสรรพากร, มติชน

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง