รีเซต

ขั้นตอนการ ต่อภาษีรถ ปี2566 ด้วยตัวเอง และค่าใช้จ่ายในการต่อภาษี

ขั้นตอนการ ต่อภาษีรถ ปี2566 ด้วยตัวเอง และค่าใช้จ่ายในการต่อภาษี
TrueID
27 กุมภาพันธ์ 2566 ( 10:44 )
38.8K
1

การ ต่อภาษีรถ เป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะนักขับทุกท่านหลายครั้งที่เรามักจะเจอกับด่านตรวจ โดยทั่วไปเจ้าหน้าที่จะเพ่งเล็งมาที่ป้าย ภาษีรถ ของเรา หากป้ายภาษีใกล้หมดเราควรดำเนินต่อภาษี เพื่อหลีกเลี่ยงการโดนปรับจากเจ้าหน้าที่ 

 

ขั้นตอนการ ต่อภาษีรถ ด้วยตัวเอง

การต่อภาษีรถยนต์เป็นเรื่องสำคัญที่เราจะมองข้างไปไม่ได้เลย เพราะหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขณะที่ขับขี่รถอยู่ และรถยนต์ที่ขาดการต่อภาษีรถยนต์เกิน 3 ปีจะถูกระงับทะเบียนรถยนต์นั้นๆ ถูกยึดเลขและป้ายทะเบียน ต้องไปทำเรื่องที่ขนส่งเพื่อขอทำทะเบียนใหม่ ซึ่งก็ยุ่งยากไปอีกดังนั้นเราควรไปต่อภาษีไว้ก่อน ขั้นตอนการเสียภาษีรถนั้นมีทั้งการใช้บริการบริษัทฯเอกชนที่รับจ้างดำเนินการ(เสียค่าบริการเพิ่ม) และการต่อภาษีด้วยตนเองซึ่งไม่มีอะไรยากและทำได้เร็วกว่าจ้างบริษัทฯเอกชนให้ต่อภาษีให้ วันนี้ TrueID จะมาแนะนำวิธีการต่อภาษีรถด้วยตนเอง และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการต่อภาษี

 

ต่อภาษีต้องรถยนต์ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง

ขั้นแรกของการต่อภาษีรถยนต์ เราจำเป็นต้องเตรียมเอกสารที่สำคัญในการใช้ต่อการต่อทะเบียนรถยนต์ให้พร้อม โดยเอกสารเหล่ามีด้วยกัน ตามนี้

  1. เล่มทะเบียนรถยนต์ของคุณ หรือ จะเป็นสำเนาการจดทะเบียนรถยนต์ก็ได้
  2. เอกสาร พ.ร.บ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่ยังไม่สิ้นอายุ
  3. ใบตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) เฉพาะรถเก๋ง รถตู้ รถปิคอัพ และรถสองแถวที่จดทะเบียนตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป และรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
  4. ใบติดตั้งแก๊สสำหรับรถที่มีการติดตั้งแก๊ส

*สามารถชำระภาษีรถทั่วประเทศไม่ว่ารถนั้นจะจดทะเบียนไว้ที่จังหวัดใด

 

ตัวอย่าง พ.ร.บ.

 

เมื่อเอกสารครบแล้ว ก็มาดูกันในส่วนของช่องทางการชำระภาษีช่องทางต่างๆ กันบ้าง ซึ่งในปัจจุบันมีให้เลือกมากมายหลากหลายช่องทาง ดังนี้

1. ชำระด้วยตนเองที่กรมการขนส่งทางบก
2. บริการเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru For Tax)
3. ชำระผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสร้านสะดวกซื้อ7-11 (เฉพาะรถที่ยังไม่ต้องตรวจสภาพ)
4. ชำระผ่านแอพพลิเคชั่น (เฉพาะรถที่ยังไม่ต้องตรวจสภาพ)
5. ชำระผ่านธนาคาร ที่ทำการไปรษณีย์ (เฉพาะรถที่ยังไม่ต้องตรวจสภาพ)
6. ชำระผ่านเว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th (เฉพาะรถที่ยังไม่ต้องตรวจสภาพ)

 

สำหรับวันหยุดสามารถต่อภาษีได้ในวันเสาร์-อาทิตย์ โดยเข้าไปต่อภาษีได้ที่

  1. ห้างบิ๊กซี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 13 สาขา เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 09.00 - 17.00 น.
    ลาดพร้าว รามอินทรา รัชดาภิเษก บางปะกอก เพชรเกษม สุขาภิบาล3 อ่อนนุช แจ้งวัฒนะ สำโรง บางบอน สุวินทวงศ์ สมุทรปราการ บางใหญ่ บางนา
  2. ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขารามอินทรา เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 10.00 - 17.00 น.
  3. ศูนย์การค้าพาราไดซ์ พาร์ค ถนนศรีนครินทร์ เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 10.00 - 17.00 น.
  4. ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 11.00 - 18.00 น.

ประเภทรถที่ให้บริการ

  1. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1) หรือ รถเก๋ง
  2. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน แต่ไม่เกิน 12 คน (รย.2) หรือ รถตู้ และรถสองแถว
  3. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) หรือ รถปิคอัพ
  4. รถจักรยานยนต์ (รย.12)

 

ไปต่อภาษีรถยนต์ต้องเตรียมเงินไปเท่าไหร่

ค่าใช้จ่ายสำหรับการไปต่อภาษีรถยนต์ กรมขนส่งจะมีการคิดค่าใช้จ่ายตามขนาดความจุของกระบอกสูบ (ซีซี) โดยเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน จะมีการคิดภาษีดังนี้

 

1.รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ

รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ (รถปกติทั่วไป) คือ  รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ไม่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถกระบะ 4 ประตู รถเก๋ง เป็นต้น โดยการคำนวณภาษีรถจะขึ้นอยู่กับขนาดเครื่อง (cc) โดยรายละเอียดมีดังนี้

  • 600 ซีซีแรก ซีซีละ 0.50 บาท
  • 601 - 1,800 ซีซี ๆ ละ 1.50 บาท
  • เกิน 1,800 ซีซี ๆ ละ 4.00 บาท

ส่วนรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปก็จะมีส่วนลดค่าภาษีดังนี้

  • ปีที่ 6 ลดหย่อนได้ ร้อยละ 10
  • ปีที่ 7 ลดหย่อนได้ ร้อยละ 20
  • ปีที่ 8 ลดหย่อนได้ ร้อยละ 30
  • ปีที่ 9 ลดหย่อนได้ ร้อยละ 40
  • ปีที่ 10 และปีต่อ ๆ ไป ลดหย่อนได้ ร้อยละ 50

ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถยนต์

รถยนต์ ยี่ห้อ Benz รุ่น E500 อายุรถ 4 ปี เครื่องยนต์ 5,462 cc

  • ช่วง 600 cc แรก / cc ละ 0.5 สตางค์ = 600 x 0.5 = 300 บาท
  • ช่วง 601-1800 cc / cc ละ 1.50 บาท = (1,800 – 600) = 1200 x 1.50 = 1,800 บาท
  • ส่วนที่เกินจาก 1800 cc / cc ละ 4 บาท = (5,462 – 1,800) x 4 = 3,662 x 4.00 = 14,648 บาท

รวมค่าภาษีทั้งหมดที่ต้องจ่าย = 300 + 1,800 + 14,648 บาท = 16,748 บาท

*หากเสียภาษีช้าต้องเสียค่าปรับ 1% ต่อเดือน (เศษของวันนับเป็น 1 เดือน)

 

2.รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว

รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว คือ รถบรรทุกส่วนบุคคลที่เกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • น้ำหนักรถ 501- 750 กิโลกรัม – อัตราภาษี 450 บาท
  • น้ำหนักรถ 751 – 1000 กิโลกรัม – อัตราภาษี 600 บาท
  • น้ำหนักรถ 1001 – 1250 กิโลกรัม – อัตราภาษี 750 บาท
  • น้ำหนักรถ 1251 – 1500 กิโลกรัม – อัตราภาษี 900 บาท
  • น้ำหนักรถ 1501 – 1750 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,050 บาท
  • น้ำหนักรถ 1751 – 2000 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,350 บาท
  • น้ำหนักรถ 2001 – 2500 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,650 บาท

 

3.รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือน้ำเงิน

รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือน้ำเงิน คือ รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ แต่จะมีการคิดอัตราภาษีแตกต่างจากแบบรถบรรทุก โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • น้ำหนักรถไม่เกิน 1800 กิโลกรัม – อัตราภาษี 1,300 บาท
  • น้ำหนักรถเกิน 1800 กิโลกรัม – อัตราภาษี  1,600 บาท

 

รถค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี (รถค้างชำระภาษีเกิน 1 ปี ให้ดำเนินการตรวจสภาพรถที่สถานตรวจสภาพรถ เอกชนหรือตรอ. และยื่นชำระภาษีรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขา เท่านั้น)

  • ชำระภาษีรถล่วงหน้าก่อนสิ้นอายุภาษีได้ไม่เกิน 90 วัน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Image by JL G from Pixabay 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง