รีเซต

เลือกตั้งเกาหลีใต้ล้ำไปอีกขั้น ใช้ Deepfake หาเสียงผ่านร่างอวตาร

เลือกตั้งเกาหลีใต้ล้ำไปอีกขั้น ใช้ Deepfake หาเสียงผ่านร่างอวตาร
TNN ช่อง16
15 กุมภาพันธ์ 2565 ( 16:28 )
141
เลือกตั้งเกาหลีใต้ล้ำไปอีกขั้น ใช้ Deepfake หาเสียงผ่านร่างอวตาร

สำนักข่าว SCMP รายงานเกี่ยวกับการเลือกตั้งในเกาหลีใต้ หลังหนึ่งในผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ทำคลิปหาเสียงด้วยเทคโนโลยี Deepfake 


---ให้ “AI Yoon” ช่วยหาเสียง---


ในสำนักงานที่มีผู้คนพลุกพล่านในกรุงโซล พนักงานอายุน้อยและนำสมัย กำลังใช้เทคโนโลยี Deepfake ทำในสิ่งที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ นั่นคือ การทำให้ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ในวัยกลางคน ดูเท่มากกว่าเดิม


ทีมงานได้สร้างร่างอวตารดิจิทัลของ ยุน ซอก-ยอน ผู้สมัครพรรคฝ่ายค้าน และใช้ “AI Yoon” ทำหน้าที่ในการรณรงค์หาเสียง ก่อนการเลือกตั้งในวันที่ 9 มีนาคมนี้


เทคโนโลยี AI เคยใช้ในการเลือกตั้งมาก่อน ตั้งแต่แอนดรูว์ หยาง อดีตผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครนิวยอร์ก ที่รณรงค์หาเสียงใน metaverse ไปจนถึงคลิปวิดีโอปลอม  ของบารัก โอบามา ที่พูดดูถูกโดนัลด์ ทรัมป์


ผู้สร้าง AI Yoon เชื่อว่า ยุนคือผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของโลก ที่ใช้เทคโนโลยี Deepfake ในการหาเสียงอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจในเกาหลีใต้ ประเทศที่มีความเร็วอินเทอร์เน็ตเฉลี่ยเร็วที่สุดในโลก


---ความหรรษาเล็ก  ก่อนการเลือกตั้ง---


ด้วยผมสีดำที่หวีอย่างเรียบร้อยและชุดสูทที่ดูดี ร่างอวตารนี้จึงดูใกล้เคียงกับผู้สมัครลงเลือกตั้งชาวเกาหลีใต้ตัวจริง แต่ใช้ภาษาที่เผ็ดร้อนและมีมที่คนรุ่นใหม่นิยมใช้ เพื่อดึงดูดความสนใจกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งอายุน้อย ซึ่งรับข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางออนไลน์


ตั้งแต่เปิดตัวเมื่อวันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา AI Yoon ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยผู้คนหลายหมื่นระดมส่งคำถาม แต่ไม่ใช่คำถามที่เกี่ยวกับนโยบายทั่วไปเท่าใดนัก


ประธานาธิบดีมุน แจ-อิน และผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี อี แจ-มยอง กำลังจมน้ำ คุณจะช่วยใคร?” ผู้ใช้รายหนึ่งถาม AI Yoon


ขอให้ทั้งคู่โชคดี” ร่างอวตารตอบกลับ


แวบแรกที่เห็น AI Yoon อาจคิดว่าเป็นผู้สมัครตัวจริงได้ นี่จึงเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่า คลิปวิดีโอปลอม  หรือที่รู้จักกันในชื่อ “Deepfake” มาไกลแค่ไหนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา


---ดึงความสนใจคนรุ่นใหม่-กระแสโลกออนไลน์---


ยุน ผู้สมัครตัวจริงต้องบันทึกเสียงมากกว่า 3,000 ประโยค ทั้งในรูปแบบเสียงและวิดีโอ กินเวลา 20 ชั่วโมง เพื่อให้ข้อมูลเพียงพอสำหรับสร้างร่างอวตาร ที่สร้างโดยบริษัทเทคโนโลยี Deepfake ในประเทศ


สิ่งที่ร่างอวตารพูดนั้น เขียนโดยทีมหาเสียงของยุน ไม่ใช่ตัวผู้สมัครเอง อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ได้ผลหลังถ้อยแถลงของ AI Yoon กลายเป็นพาดหัวข่าวในสื่อของเกาหลีใต้ และมีผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ “Wiki Yoon” ถึง 7 ล้านคน


ถ้าออกแถลงการณ์แบบการหาเสียงทั่ว  ไป เราคงไม่ได้กระแสตอบรับแบบนี้” แบค คยอง-ฮุน ผู้อำนวยการทีมสร้าง AI Yoon กล่าว 


ในการตอบคำถามจากประชาชน AI Yoon ยังล้อเลียนประธานาธิบดีมุน และ ลี คู่แข่งของเขา ว่า “มูนดิงดอง” และ “ลีดิงดอง” ที่ล้อมาจากเพลง Ring Ding Dong


ผมอยากถามมุนดิงดองว่า ใครคือศัตรูที่แท้จริงของเกาหลีใต้” AI Yoon กล่าว สะท้อนให้เห็นแนวคิดของทีมหาเสียง ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ประธานาธิบดีมุน มีแนวทางปฏิบัติต่อเกาหลีเหนือที่ประนีประนอมเกินไป


ในทางเทคนิคแล้ว เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ยังคงอยู่ในสงคราม โดยมุนได้พบกับ คิม จองอึน ผู้นำของเกาหลีเหนือ 4 ครั้งนับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่ง ซึ่งเป็นแนวทางที่ผู้สมัครยุนคิดว่า อ่อนโยนเกินไป


---AI สะท้อนแนวคิดผู้สมัคร?---


ร่างอวตารของยุน ยังใช้อารมณ์ขันเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ จากเรื่องอื้อฉาวในอดีต เช่น การกล่าวหาว่า เขารับผลไม้จากบริษัทก่อสร้าง ซึ่งถือเป็นของขวัญที่ไม่ควรรับ ในช่วงที่เขายังเป็นอัยการอาวุโส


ผมไม่ได้ติดหนี้ลูกพลับและเมล่อน แต่ติดหนี้ประชาชนต่างหาก” AI Yoon กล่าว แม้ว่าการหาเสียงในภายหลัง เขาจะถูกบีบให้ยอมรับว่า ตนเองรับของขวัญครั้งนั้นก็ตาม


คิม มยองจู ศาสตราจารย์ด้านความปลอดภัยทางข้อมูล มหาวิทยาลัยสตรีโซล กล่าวกับสื่อท้องถิ่นว่า สคริปต์ที่ใช้ในการหาเสียงของ AI Yoon เป็นภาษาที่ใช้ในเกมออนไลน์


“AI Yoon อ่านสคริปต์ที่รวบรวมโดยผู้สร้าง ซึ่งใช้ถ้อยคำที่ตรงไปตรงมา” คิม กล่าว


ด้าน โก ซัม-ซอก เจ้าหน้าที่อาวุโสของผู้สมัคร ลี คู่แข่งของยุน กล่าวหาผู้สมัครไซเบอร์รายนี้ว่า “ละเมิดมารยาททางการเมือง


แต่การหาเสียงด้วย AI Yoon ยังคงไปได้สวย หลังผลสำรวจการเลือกตั้ง ชี้ว่ายุนมีคะแนนนำหน้าคู่แข่ง ลี แจ-มยอง ในกลุ่มผู้ลงคะแนนช่วงอายุ 20 ปี


---เทคโนโลยีอันตรายที่อีกมุมอาจมีข้อดี---


แบค ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี และสมาชิกทีมอีก 2 คน ที่สร้าง AI Yoon ทั้งหมดมีอายุ 20-30 ปี ซึ่งเป็นหนึ่งในพนักงานที่อายุน้อยที่สุด ในแคมเปญหาเสียงของยุน


AI Yoon มาพร้อมกับการตอบสนองอย่างรวดเร็ว แตกต่างจากวาทศิลป์ที่ซับซ้อน ซึ่งมักพบในการอภิปรายนโยบายสาธารณะ


หน่วยงานการเลือกตั้งของเกาหลีใต้ อนุญาตให้ผู้สมัคร AI สามารถรณรงค์หาเสียงได้ โดยต้องระบุอย่างชัดเจนว่า เป็นเทคโนโลยี Deepfake และไม่เผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จ


อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีนี้มักถูกมองว่าเป็นอันตราย โดยปี 2018 จอร์แดน พีล ได้ทำวิดีโอ Deepfake ของบารัก โอบามา เพื่อเตือนผู้ชมเกี่ยวกับเนื้อหาที่พวกเขาพบบนโลกออนไลน์ แต่แบคคิดว่า AI คือ อนาคตของการรณรงค์หาเสียง


มันง่ายมาก  ที่จะสร้างคอนเทนต์จำนวนมาก ด้วยเทคโนโลยี Deepfake” เขา กล่าว “จะมีการใช้เทคโนโลยีนี้มากขึ้นเรื่อย  ซึ่งเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

—————

แปล-เรียบเรียงพัชรี จันทร์แรม

ภาพ: YouTube / 윤석열

ข่าวที่เกี่ยวข้อง