รีเซต

เปิดค่าใช้จ่าย “ผู้ป่วยโควิดกักตัวที่บ้าน” Home Isolation รัฐช่วยจ่ายกี่บาท

เปิดค่าใช้จ่าย “ผู้ป่วยโควิดกักตัวที่บ้าน” Home Isolation รัฐช่วยจ่ายกี่บาท
Ingonn
12 กรกฎาคม 2564 ( 10:24 )
674
เปิดค่าใช้จ่าย “ผู้ป่วยโควิดกักตัวที่บ้าน” Home Isolation รัฐช่วยจ่ายกี่บาท

 

ในช่วงที่สถานการณ์เตียงโควิดเข้าขั้นวิกฤต ทางกระทรวงสาธารณสุขได้อนุมติให้ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวหรือ ผู้ป่วยที่อาการติดเชื้อโควิดไม่รุนแรง สามารถกักตัวที่บ้านได้ หรือที่เรียกว่า Home Isolation โดยรพ.จะมีที่วัดไข้ วัดค่าออกซิเจนปอดด้วยการออกกำลังกาย เอกซเรย์ปอดในรายที่จำเป็น และมีระบบติดตามให้ ซึ่งการดูแลทั้งหมดประชาชนที่ต้องกักตัว ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

 

 


นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ระบุว่า การสนับสนุนการบริการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ตามระบบการดูแลของกรมการแพทย์และกระทรวงสาธารณสุข สปสช.ได้ออกแบบกลไกเบิกจ่ายตาม เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปตามเป้าหมาย ทั้งการจัดระบบ Home Isolation และ Community Isolation เราได้แยกรายการเบิกจ่ายที่ทำให้เกิดความสะดวก และไม่เป็นภาระโรงพยาบาลที่ต้องทำทั้งหมด เช่น เอกซเรย์ก็แยกจ่ายต่างหาก ในกรณีที่ รพ.ไม่มีรถโมบายยูนิตเข้าไปบริการ ก็สามารถดึงเอกชนร่วมได้ แยกค่าอาหารผู้ป่วย 3 มื้อ เพื่อให้จับมือกับฟู๊ดเดลิเวอรี่ส่งอาหารผู้ป่วย โดยที่โรงพยาบาลไม่ต้องนำอาหารไปส่งเอง เป็นต้น เพื่อให้ รพ.เน้นที่การรักษาดูแลผู้ป่วย

 

 


วันนี้ TrueID จึงจะพามาทุกคนมาดูว่า ในการกักตัว 1 ครั้ง ในระยะเวลา 14 วัน มีค่าใช้จ่ายอะไรเกิดขึ้นบ้าง และเราจะได้อะไรบ้างจากการกักตัว

 

 

 

Home Isolation หรือ (HI)


การแยกกักตัวที่บ้าน สำหรับผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ และจำเป็นต้องแยกกักตัวที่บ้านสามารถติดต่อสถานพยาบาลใกล้บ้านท่าน ผู้ป่วยโควิด-19 อาการเล็กน้อยระหว่างรอเตียง หรือรักษา 10 วันแล้วแยกกักตัวที่บ้านต่อ

 

 

กักตัว 1 ครั้ง ได้การดูแลจากสถานพยาบาลอย่างไรบ้าง


1. ปรอทวัดไข้และเครื่องวัดออกซิเจนในเลือด


2. Telemedicine โดยทีมแพทย์และพยาบาล


3. รับประทานยาตามดุลพินิจของแพทย์


4. อาหารสามมื้อ ติดตาม ประเมินอาการและให้คำปรึกษา


5. หากอาการเปลี่ยนแปลงหรือแย่ลงแจ้งทีมแพทย์และสถานพยาบาล 

 

 

 

เกณฑ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ต้องรักษาแบบ Home Isolation


1. ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ


2. อายุน้อยกว่า 60ปี


3. สุขภาพแข็งแรง

 

4.อยู่คนเดียวหรืออยู่ร่วมไม่เกิน 1คน


5. BMI < 30 kg/m2 หรือ BW < 90 kg

6. ไม่มีโรคร่วม ดังต่อไปนี้


ㆍโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)


ㆍโรคไตเรื้อรัง (CKD Stage 3,4 )


ㆍโรคหัวใจและหลอดเลือด


ㆍโรคหลอดเลือดสมอง


ㆍ เบาหวานที่คุมไม่ได้


7. ยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเองตามดุลยพินิจของแพทย์

 

 

 

การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโควิด-19 เมื่อทำ Home isolation


1. ห้ามคนมาเยี่ยมบ้าน


2. ห้ามเข้าใกล้ทุกคนหรือเว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร


3. แยกห้องพัก ของใช้ส่วนตัว หากแยกไม่ได้ ควรแยกให้ห่างจากผู้อื่นมากที่สุด และควรเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท


4. ห้ามรับประทานอาหารด้วยกัน


5. สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ไม่ได้อยู่คนเดียว


6. ล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอลล์ เจล ทุกครั้งที่จำเป็นจะต้องสัมผัส


7. แยกซักเสื้อผ้า ผ้าขนหนู และเครื่องนอน ด้วยน้ำและสบู่หรือผงซักฟอก ควรใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่นและแยกขยะ

 

 

 

 

ค่าใช้จ่ายเมื่อต้อง Home Isolation


สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) แจ้งแนวทางปฏิบัติการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการ สาธารณสุข กรณีโรคโควิด 19 ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2564 (ฉบับเพิ่มเติม) สำหรับการดูแลรักษาในที่พักระหว่างรอเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล (Home Isolation) และการดูแลรักษาในโรงพยาบาลสนาม สำหรับคนในชุมชน (Community Isolation) ดังนี้

 

 

ขอบเขตบริการและเงื่อนไขการขอรับค่าใช้จ่าย


1. เป็นการให้บริการแก่ผู้ที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ได้รับกรวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยโควิด 19 และแพทย์ผู้ดูแลรักษาพิจารณาแล้ว ว่าผู้ป่วยเข้าเกณฑ์การดูแลรักษาในที่พักระหว่างรอเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล (Home Isolation) หรือการดูแลรักษาในโรงพยาบาลสนาม สำหรับคนในชุมชน (Community Isolation)

 


2. เป็นการจ่ายให้แก่หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่มีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

 


3. หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ให้บริการดูแลผู้ป่วยโควิด 19 ใน Home Isolation และ  Community Isolation ต้องใช้ระบบพิสูจน์ตัวตนเพื่อยืนยันการเข้ารับบริการ โดยขอ Authentication Code ด้วยบัตร Smart card ตามแนวทางดำเนินการที่ สปสช.กำหนด

 


4. สปสช.จะสนับสนุนโดยประสานติดตามอาการผู้ป่วยโควิด 19 ที่เข้าเกณฑ์ให้บริการดูแลรักษาใน Home Isolation และ Community Isolation

 


5. การจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม สำหรับคนในชุมชน (Community Isolation) ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และผ่านความเห็นชอบให้ดำเนินการจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด หรือคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร

 


6. สำหรับการเข้ารับบริการตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป

 


7. กรณีที่หน่วยบริการได้รับการจ่ายหรือการสนับสนุนค่าใช้จ่ายร้ายการใดรายการหนึ่งจากงบประมาณของรัฐ หรือจากหน่วยงานภาครัฐอื่นแล้ว ต้องไม่นำข้อมูลมาเบิกช้ำซ้อนกับ สปสช.อีก

 

 

 

การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข


การจ่ายค่าใช้จ่ายสำหรับ Home Isolation และ Community Isolation สปสช.จ่ายค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดบริการสาธารณสุข โดยนำหลักเกณฑ์การจ่ายประเภทบริการผู้ป่วยใน (IP) มาบังคับใช้ และจ่ายเพิ่มเติม ดังนี้

 


1.ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันการติดเชื้อ

 


2.ค่าดูแลรักษาในที่พักระหว่างรอเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล (Home Isolation) หรือค่าดูแลรักษาในโรงพยาบาลสนาม สำหรับคนในชุมชน (Community Isolation)

 


3.ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนให้แก่ผู้ป่วยเป็นรายบุคคล สำหรับการติดตามอาการและเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

 


4.ค่ายาที่เป็นการรักษาเฉพาะผู้ป่วยโรคโควิด 19

 


5.ค่าพาหนะรับส่งต่อผู้ป่วย

 

 


ค่าใช้จ่ายสำหรับ "ผู้ป่วยรักษาที่บ้าน" home isolation


ใช้อัตราการจ่ายประเภทบริการผู้ป่วยในตาม DRG. และจ่ายเพิ่มเติม การดูแลจะครอบคลุมบริการ ดังนี้ 

 

1. การตรวจ RT-PCR. จ่ายตามจริงไม่เกิน 1,600บาท/ครั้ง และค่าบริการอื่นที่เกี่ยวกับบริการตรวจห้องปฏิบัติการฯ อัตรา 600บาท/ครั้ง และค่าเก็บตัวอย่างส่งตรวจอัตรา 100 บาท/ครั้ง

 


2. ค่าบริการผู้ป่วยเหมาจ่าย 1,000 บาท/วัน ไม่เกิน 14 วัน

 


3. ค่าใช้จ่ายรวมค่าอาหาร 3 มื้อ และติดตามประเมินอาการ การให้คำปรึกษาจ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 1,000 บาทต่อวัน ไม่เกินจำนวน 14 วัน

 


4.ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วย ได้แก่ ปรอทวัดไข้ดิจิตอล เครื่องวัด Oxygen Sat ไม่เกิน 1,100 บาท/ราย และค่าอุปกรณ์ป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่ ค่าชุด PPE. และค่าใช้จ่ายอื่นเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไม่เกินวันละ 740 บาท/ราย 

 


5. ค่ายารักษาโควิด-19 จ่ายตามจริงไม่เกิน 7,200 บาท/ราย และ 5.ค่ารถส่งต่อ จ่ายตามจริงตามระยะทางและค่าทำความสะอาด 3,700 บาท/ครั้ง

 

 

นอกจากนี้ยังมีค่าบริการถ่ายภาพรังสีทรวงอก (chest X-ray) 100 บาท/ครั้ง เพื่อคัดแยกความรุนแรงโรคและภาวะปอดอักเสบก่อนเข้าสู่ระบบดูแลผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีเขียวที่บ้าน และโรงพยาบาลสนามสำหรับคนในชุมชน

 

 

 

อ่านรายละเอียดค่าใช้เพิ่มเติมได้ที่

 

 


ข้อมูลจาก กรมประชาสัมพันธ์ , กรมการแพทย์ , สปสช. , เฟซบุ๊ก ไทยคู่ฟ้า

 

 

 

-------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง