รีเซต

เอาชนะ "ประสบการณ์ที่เป็นพิษ" ตามหลักจิตวิทยา

เอาชนะ "ประสบการณ์ที่เป็นพิษ" ตามหลักจิตวิทยา
TNN ช่อง16
3 เมษายน 2568 ( 12:44 )
3

เพราะเราไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ มนุษย์เป็นสัตว์สังคม แต่คนแต่ละคนก็มีเหตุผลเป็นของตัวเอง จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า ความแตกต่างกันเฉพาะบุคคล ที่อาจเกิดจากพิ้นฐานครอบครัว ภูมิหลัง ประสบการณ์ชีวิต มุมมองต่อสิ่งต่างๆ อาจทำให้มนุษย์กระทบกระทั่งกันถือเป็นเรื่องปกติ หากพูดคุยปรับความเข้าใจกันด้วยเหตุผล ก็จะทำให้สามารถรักษาความสัมพันธ์ที่ดีเอาไว้ได้ แต่ถ้าปัญหาลุกลามรุนแรง ก็อาจทำให้เกิด "ประสบการณ์ที่เป็นพิษ" หรือ Toxic Experience ที่มีผลกระทบต่อจิตใจ แล้วเราจะเอาชนะความรู้สึกลบเหล่านี้ได้อย่างไร?



ประสบการณ์ที่เป็นพิษ คือ อะไร?

iStrong Mental Health อธิบายว่า “ประสบการณ์ที่เป็นพิษ” ซึ่งในทางจิตวิทยา หมายถึง ประสบการณ์เชิงลบที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิต ความรู้สึก หรือพฤติกรรมของเรา โดยประสบการณ์เหล่านี้อาจมีสาเหตุมาจากเหตุการณ์ ความสัมพันธ์ หรือสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดความเครียด ความเจ็บปวด หรือความทุกข์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบในระยะยาว กลายเป็น “แผลใจ” หรือ “Trauma” หากไม่ได้รับการเยียวยาหรือจัดการอย่างเหมาะสม

ประสบการณ์ที่เป็นพิษอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ที่เกิดขึ้นได้บ่อยอาจมาจากหลักๆ 4 ข้อ คือ 

1. ความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ (Toxic Relationships)

หมายถึงความสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดอารมณ์ด้านลบ ซึ่งจะเกิดกับความสัมพันธ์ในรูปแบบใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นคู่สามีภรรยา แฟนคู่รัก ญาติพี่น้อง เพื่อน เพื่อนร่วมงาน หัวหน้า-ลูกน้อง โดยหลายต่อหลายครั้งความสัมพันธ์ที่เป็นพิษทำให้เกิดภาระในจิตใจ บั่นทอนความรู้ และร้ายแรงที่สุดอาจนำไปสู่การสุญเสียความมั่นใจและลดทอนการเห็นคุณค่าในตัวเอง 

2. คนที่เป็นพิษ (Toxic People)

ลักษณะของคนที่เป็นพิษ มักจะแสดงพฤติกรรมเชิงลบต่อคนใกล้ตัว มีนิสัยชอบยึกตัวเองเป็นศูนย์กลาง ควบคุมและคอยบงการผู้อื่นให้ทำตามในสิ่งที่ตัวเองต้องการ ในขณะเดียวกันยังเป้นคนเจ้าอารมณ์ที่ไม่สามารถเลือกใช้คำพูดหรือการกระทำที่ทำให้เกิดความไม่สบายใจกับคนอื่น ส่งผลให้ผู้คนรอบข้างมักรู้สึกแย่ เพราะต้องรับพลังงานลบจากคนๆ นั้นไปด้วย

พฤติกรรมของความเป็นคนที่เป็นพิษ อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ปัญหาสุขภาพจิตบางประการ บาดแผลทางใจวัยเด็ก ปัญหาส่วนที่ฝั่งรากลึก ความเครียดวิตกกังวลรุนแรง จนผลักดันให้แสดงพฤติกรรมเป็นพิษเพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกที่ไม่ดีต่อตัวเอง

3. การสูญเสียและบอบช้ำทางใจ (Loss and Psychological Trauma)

ประสบการณ์ที่เป็นพิษอาจมาจากการสูญเสียที่มีผลกระทบร้ายแรงต่อจิตใจ ทำให้รู้สึกเจ็บปวด บอบช้ำทางใจ สับสน และทุกข์ทรมานใจ เช่น สูญเสียสิ่งที่รัก หรือคนรัก ซึ่งงอาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในมุมมองต่อโลกหรือความสัมพันธ์กับผู้อื่นในทางลบอย่างรุนแรงได้

4. ความผิดหวังและล้มเหลวซ้ำๆ (Repeated Failures or Disappointments)

การผิดหวังซ้ำ ทั้งจากตัวเองและคนรอบตัว รวมถึงความรู้สึกประสบความล้มเหลวบ่อยครั้ง สามารถส่งผลให้เกิดประสบการณ์ที่เป็นพิษ ส่งผลให้กลายเป็นคนที่มีความคิดและความเชื่อเชิงลบต่อสังคม ตัวเอง และคนอื่น อาจทำให้บุคคลนั้นมีความคิดด้อยค่าในตัวเอง สูญเสียความไว้วางใจต่อตัวเอง (self-esteem) และลามไปสู่ความคิดลบที่มีต่อคนอื่น

ประสบการณ์ที่พิษ สามารถเกิดขึ้นกับคนทุกช่วงวัย และก็คงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ด้วยว่า ประสบการณ์ที่เป็นพิษ จะบั่นทอนความรู้สึกของเราอยู่ไม่น้อย 


แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยากล่าวว่า ประสบการณ์ที่เป็นพิษ ในอีกแง่ ก็มีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการ และเติบโตทางจิตใจ สร้างความแข็งแกร่ง และเข้าใจโลกได้อย่างละเอียดลึกซึ้งมากขึ้น ซึ่งจะทำให้บุคคลนั้นสามารถมีจิตใจที่เข้มแข็งและมุมมองชีวิตที่ลึกขึ้น หากสามารถเรียนรู้และเอาชนะประสบการณ์ที่เป็นพิษนั้นได้ 

วิธีการเอาชนะประสบการณ์ที่เป็นพิษ 


1. มุ่งเน้นที่สิ่งที่จำเป็นต้องทำ ไม่ใช่ตัวบุคคล

เริ่มต้นด้วยการพูดถึงความท้าทายที่คุณเผชิญประสบการณ์ที่เป็นพิษ แทนที่จะกล่าวถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งโดยตรง 

ตัวอย่างเช่น หากต้องเจอกับประสบการณ์ที่เป็นพิษในที่ทำงาน ก็ควรมุ่งเน้นพูดถึงผลกระทบเชิงลบต่อประเด็นการทำงานในวงกว้าง เช่น ความท้าทายในการสื่อสารของทีม คุณภาพงาน หรือความสามารถในการส่งมอบงาน 

พยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้งส่วนตัวและใช้อารมณ์เชิงลบกับงานให้มากที่สุด วิธีนี้จะแสดงให้เห็นถึงความสามารถของคุณในการรับมือกับสถานการณ์ที่ท้าทายโดยไม่ดูเป็นคนมองโลกในแง่ลบเกินไป

2. ถอดบทเรียนประสบการณ์ที่เป็นพิษ 

สิ่งหนึ่งที่ช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจได้เร็ว คือ อย่ามองว่าตัวเองสูญเสียอะไรไปจากประสบการณ์เหล่านั้น แต่ให้ถอดบทเรียนว่าคุณได้อะไรมาจากเหตุการณ์นั้น เช่น

ตัวอย่างเช่น คุณอาจพูดว่า "การขาดการสื่อสารที่ชัดเจนบางครั้งทำให้งานติดขัด มันสอนให้ฉันเห็นความสำคัญของความชัดเจนและความกล้าแสดงออกในทีมมากขึ้น"

3. การพูดคุยและการขอความช่วยเหลือ

การพูดคุยและการขอความช่วยเหลือไม่ได้เป็นเพียงการระบายความทุกข์ใจ แต่ยังช่วยให้บุคคลพัฒนาความเข้มแข็งภายในและความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของการฟื้นฟูจิตใจจากประสบการณ์ที่เป็นพิษ (Toxic Experiences) เนื่องจากการพูดคุยและการขอความช่วยเหลือจากผู้ที่ไว้ใจได้ อาจช่วยเปิดมุมมองใหม่ต่อชีวิต นำไปสู่ความเข้าใจตนเอง และการพาตัวเองมาสู่พื้นที่ปลอดภัยในที่สุด 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง