รีเซต

จีนเตรียมสร้างเขื่อนด้วยการพิมพ์สามมิติ เสร็จปี 2024 !

จีนเตรียมสร้างเขื่อนด้วยการพิมพ์สามมิติ เสร็จปี 2024 !
TNN ช่อง16
12 พฤษภาคม 2565 ( 14:42 )
145

จีนประกาศสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังงานน้ำความสูง 590 ฟุต หรือประมาณ 180 เมตร โดยใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ร่วมกับระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) และหุ่นยนต์ก่อสร้าง และจะไม่ใช้แรงงานคน โดยตั้งเป้าว่าจะก่อสร้างให้เสร็จสิ้นพร้อมใช้งานภายในปี 2024 นี้


ภาพจาก SCMP 

เขื่อนหยางฉู่ (Yangqu) ตั้งอยู่บริเวณที่ราบสูงในทิเบต โดยใช้กระบวนการพิมพ์ 3 มิติ พิมพ์ชิ้นส่วนทีละขั้น ๆ ร่วมกับการใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการดูแลการก่อสร้างแบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งวัสดุด้วยรถบรรทุกไร้คนขับ เพื่อส่งวัสดุไปยังส่วนต่าง ๆ ของพื้นที่การก่อสร้าง


จากนั้นจะใช้รถแทรกเตอร์และรถปูผิวไร้คนขับ ในการเกลี่ยดิน สร้างเขื่อนขึ้นทีละชั้น จากนั้นกดอัดแต่ละชั้นด้วยเครื่องกลิ้ง เพื่อให้มันมีความแข็งแรงทนทาน โดยในรายงานจากสื่อ Business Insider ระบุว่าเมื่อการปูพื้นแต่ละชั้นเสร็จสิ้น ก็จะใช้หุ่นยนต์ในการตรวจสอบและส่งข้อมูลกลับไปยังระบบปัญญาประดิษฐ์ต่อไป ดังนั้นกระบวนการก่อสร้างทั้งหมดจึงไม่ต้องมีมนุษย์เข้ามาควบคุมเลยทีเดียว


ภาพจาก SCMP

ข้อดีของการใช้ระบบก่อสร้างเช่นนี้ จะช่วยลดความผิดพลาดจากการทำงานของมนุษย์ลงไปได้ เช่น ช่วยให้การกลิ้งผิวหน้าดินเรียบไม่ออกนอกเส้น และสามารถส่งของไปยังจุดก่อสร้างได้ถูกต้องมากขึ้น ดังนั้นระบบนี้จึงจะช่วยให้กระบวนการก่อสร้างเป็นไปด้วยความลื่นไหล ต่อเนื่องไปได้ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องแรงงานคนด้วย 


และหากการก่อสร้างเสร็จสิ้น ก็จะเป็นเขื่อนที่ให้กำลังผลิตไฟฟ้าได้ถึง 5 พันล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมงต่อปี และก็จะนับว่าเป็นสิ่งปลูกสร้างที่สูงที่สุดในโลกที่สร้างขึ้นโดยใช้กระบวนการพิมพ์ 3 มิติอีกด้วย โดยสถิติปัจจุบันเป็นของอาคารสำนักงาน 2 ชั้นในดูไบ ซึ่งมีความสูง 20 ฟุต หรือราว ๆ 6 เมตร 


ภาพจาก SCMP

ดังนั้นถ้าโครงการนี้ประสบความสำเร็จ ก็จะกลายมาเป็นต้นแบบของโครงการก่อสร้างอื่น ๆ ต่อไป เช่น การก่อสร้างถนน รวมถึงเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานคน ดังเช่นที่จีนกำลังประสบอยู่เนื่องจากเจอปัญหาอัตราเด็กเกิดใหม่ที่ลดลงอย่างมาก ไม่แน่ว่าในอนาคตการก่อสร้างใหญ่ ๆ แบบนี้อาจจะไม่ต้องพึ่งแรงงานมนุษย์อีกต่อไปก็เป็นได้


ขอบคุณข้อมูลจาก

businessinsider

interestingengineering

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง