รีเซต

วิจัยเผย “มาลาเรีย” ไม่ได้เป็นโรคเขตร้อน แต่เกิดไปทั่วตั้งแต่โบราณ

วิจัยเผย “มาลาเรีย” ไม่ได้เป็นโรคเขตร้อน แต่เกิดไปทั่วตั้งแต่โบราณ
TNN ช่อง16
14 มิถุนายน 2567 ( 17:47 )
29

ส่วนใหญ่เรามักคิดว่า “มาลาเรีย” เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากยุงก้นป่องเป็นพาหะ และมักจะเกิดขึ้นในเขตร้อน แต่จริง ๆ แล้ว มีงานศึกษาได้ออกมาเปิดเผยว่า มาลาเรียนั้นเกิดขึ้นไปทั่วโลกมาตั้งแต่โบราณแล้ว


ในงานศึกษา Ancient Plasmodium genomes shed light on the history of human malaria เขียนโดย เมแกน มิเชล PhD Candidate แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริจด์และคณะ ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Nature ได้ทำการวิจัยกลุ่มตัวอย่าง DNA มุษย์อายุเกินกว่า 5,500 ปี จำนวน 36 คน จาก 5 ทวีป และมีข้อสรุปว่า ทั้งหมดนี้มีเชื้อโรค Plasmodium ฝังอยู่ใน DNA ซึ่งเชื้อโรคนี้ มีความคล้ายคลึงกับเชื้อโรคมาลาเรียในปัจจุบันอย่างมาก


“การค้นพบดังกล่าวไม่เพียงแต่ทำให้เข้าใจประวัติศาสตร์ของโรคมาลาเรียเท่านั้น แต่ยังสามารถทำความเข้าใจเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคนี้ได้ดีขึ้นในปัจจุบันอีกด้วย” เคเรน ลันด์มาน อาจารย์ด้านสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอาก์บวร์ก ให้ข้อคิดเห็น


แต่คำถามคือ ประเทศแถบเมืองหนาว มาลาเลียไปแพร่กระจายได้อย่างไร? งานศึกษานี้ให้คำตอบว่า มีการค้นพบหัวกะโหลกอายุ 2,800 ปีแถวเทือกเขาหิมาลัยที่มีการติดเชื้อ P. falciparum ซึ่งมีความใกล้เคียงกับมาลาเรียในปัจจุบัน นั่นหมายความว่า ยุงก้นป่องทนทานสภาพอากาศมากกว่าที่เราคิด


แต่งานศึกษานี้ก็ยังมีข้อจำกัด คือเรื่องของ “กลุ่มตัวอย่าง” ที่ยังสุ่มมาน้อยเกินไป อาจจะได้รับการโต้แย้งว่า “เหมารวม” โดยทีมวิจัยก็ออกมายอมรับว่า เป็นเรื่องที่ต้องขยายผลเพื่อทำการศึกษาเพิ่มเติมในอนาคต


Chronicles by วิศรุต หล่าสกุล


แหล่งอ้างอิง




ข่าวที่เกี่ยวข้อง