รีเซต

“เจ๊หงส์”-“ลุงแดง” แห่งหนานหนิง ลวงชายหลับนอน 1,691 คน สะท้อนอะไรในสังคมจีน?

“เจ๊หงส์”-“ลุงแดง” แห่งหนานหนิง ลวงชายหลับนอน 1,691 คน สะท้อนอะไรในสังคมจีน?
TNN ช่อง16
11 กรกฎาคม 2568 ( 13:26 )
92

ข่าวใหญ่สังคมออนไลน์จีน รวมถึงในไทยด้วย ไม่กี่วันมานี้ หนีไม่พ้น “เจ๊หงส์” หรือ Sister Hong  

ชายวัย 38 ปี แต่งกายเป็นหญิง และพบหลักฐานการหลับนอนกับผู้ชายถึง 1,691 คน ในเวลา 3 ปี 

แต่ประเด็นคือ หลับนอนไม่พอ แต่ลอบบันทึกคลิป และเผยแพร่แลกเงินในแพลตฟอร์มออนไลน์ด้วย

สื่อจีน สื่อไต้หวัน รวมถึงรอยเตอร์ และเซาท์ไชนามอร์นิงโพสต์ รายงานว่า เจ๊หงส์ นามสกุล คือ เจียว ไม่มีการเผยชื่อจริง เป็นชายที่ชอบแต่งหญิง และเคยเรียกตนเองว่า “ซิสเตอร์หงส์” ที่คนไทยใช้คำว่า เจ๊หงส์ 

แต่สื่อจีนต่อมาขอให้เรียกว่า ลุงแดง หรือ อังเคิลเร้ด เพราะใช้ Sister หรือเจ๊ แล้ว มันทำให้ผู้หญิงดูไม่ดี

พฤติการณ์คือ เจียว สร้างตัวตนออนไลน์ ชื่อ ลุงแดง แต่งภาพหนัก ปลอมเสียงเหมือนผู้หญิงที่อ้างว่า หย่าร้างตามหารัก ผ่านแอปหาคู่ 

และเธอก็ทำสำเร็จ หลอกผู้ชายมามีความสัมพันธ์ด้วยนับพันคน

วิธีการสร้างตัวตนออนไลน์ของ ลุงแดง น่าสนใจมาก สื่อ KBIZOOM รายงานว่า เช้ามาตีห้า ลุงแดงจะแต่งหน้า 2 ชั่วโมง ถ่ายวิดีโอส้น ทำอาหาร แต่งสวน พับผ้า เพื่อให้โลกเห็นว่า เป็นผู้หญิงจิตใจดี อบอุ่น 

เมื่อผู้ติดตามหลงเชื่อ และติดต่อกัน ก็ชวนมาอพาร์ตเมนต์ ด้วยเงื่อนไขให้นำของฝากเล็ก ๆ น้อย ๆ มาด้วย 

3 ปี กับเหยื่อ 1,691 ราย ตามคำให้การของเจ้าตัว แต่ไม่แน่ชัดว่า แท้จริงหลับนอนมากแค่ไหน แต่หากคำนวณแล้ว หมายความว่า มีเหยื่อมาอพาร์ตเมนต์และมีสัมพันธ์ด้วย 4-5 คนต่อวันเลยทีเดียว

แต่การจัดการอย่างเป็นระบบ ทำให้เหยื่อรถไฟไม่ชนกันด้วย

ประเด็นคือ ลุงแดง ซ่อนกล้องไว้ และบันทึกภาพการมีเพศสัมพันธ์กับเหยื่อ ก่อนนำไปโพสต์ในกลุ่มออนไลน์ ที่คิดค่าสมาชิก 750 บาท และคนดูมหาศาล นำไปแชร์แพร่หลาย นำมาสู่การแจ้งจับกุม

กรณีฉาวนี้ สะท้อนถึงอะไรบ้าง

สังคมออนไลน์จีน แสดงความเห็นหลากหลาย ทั้ง ชายจีนจนตรอกถึงขนาดนี้เชียวหรือ ของฟรีไม่มีในโลก คนใกล้ตัวเราเคยไปเยี่ยมลุงแดงหรือเปล่านะ และข้อกังวลเรื่องโรคติดต่อด้วย 

แต่ในอีกมุมหนึ่ง การสร้างตัวตนปลอมในโลกออนไลน์ มันง่ายแค่ไหน และสมจริงแค่ไหน นำมาสู่การต้มตุ๋นเช่นนี้ได้จริง 

แต่ที่สำคัญ เมื่อเหยื่อไปถึงที่พักและพบว่าหน้าไม่ตรงปก แต่ยังดำเนินพฤติการณ์ต่อ

บางสื่อและผู้ใช้สังคมออนไลน์มองว่า มันอาจสะท้อนความเหงาของผู้ชายชาวจีน การเสพติดตัวตนในโลกโซเชียล

และมันอาจสะท้อนแรงกดดันทางสังคม ที่ผู้ชายจีนมีมากกว่าผู้หญิงเกือบ 40 ล้านคน หมายความว่า ผู้ชายจีนไม่น้อยที่ไม่เคยแต่งงานเลย ซึ่งในทางจิตวิทยา การที่ผู้ชายไม่สามารถทำตามความคาดหวังสังคม อย่างการแต่งงานนั้น ก็ถูกมองถึงความไร้ความสามารถ นำมาสู่ความเครียด และมองตนเองเป็นตราบาปสังคมได้

หาก ลุงแดง พูดจริงว่า หลอกผู้ชายมาได้ 1,691 ราย ปัจจัยทางสังคม ค่านิยม และประชากรศาสตร์เหล่านี้ ก็อาจมีผลเกี่ยวเนื่องไม่มากก็น้อย

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง