รีเซต

ขั้นตอนรับ “เงินเยียวยา” กรณีเสียชีวิต-เจ็บป่วย-พิการ หรือ "แพ้วัคซีนโควิด-19" หลังฉีด

ขั้นตอนรับ “เงินเยียวยา” กรณีเสียชีวิต-เจ็บป่วย-พิการ หรือ "แพ้วัคซีนโควิด-19" หลังฉีด
Ingonn
13 กันยายน 2564 ( 10:55 )
1.4K
ขั้นตอนรับ “เงินเยียวยา” กรณีเสียชีวิต-เจ็บป่วย-พิการ หรือ "แพ้วัคซีนโควิด-19" หลังฉีด

การฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับคนไทยในตอนนี้ แต่หากผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปแล้วเกิดได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะจากวัคซีนโดยหรือไม่ สปสช. เปิดช่องทางให้ขอรับ “เงินเยียวยา” หรือ “เงินช่วยเหลือ” กรณีเกิดอาการไม่พึงประสงค์ ตั้งแต่เจ็บป่วยเล็กน้อยจนถึงขั้นเสียชีวิตให้ยื่นขอรับเงินเยียวยาได้เลย โดยไม่พิสูจน์ถูกผิดว่าสาเหตุเกิดจากวัคซีนหรือไม่

 

 

 

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ระบุว่า เมื่อใดที่ไปฉีดวัคซีนแล้วเกิดอาการข้างเคียงหรือแม้กระทั่งเสียชีวิตแต่แพทย์จะระบุสาเหตุการเสียชีวิตจากเรื่องอื่น แต่ถ้าสงสัยว่าจะเกี่ยวกับวัคซีน ก็สามารถยื่นเรื่องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นเข้ามาได้เลย ไม่ต้องรอผลการชันสูตร โดย สปสช.จะมีคณะอนุกรรมการทั้ง 13 เขตทั่วประเทศดำเนินการพิจารณาเรื่องเงินเยียวยาให้และจ่ายเงินภายใน 5 วันหลังมีมติ และแม้ว่าต่อมาจะพิสูจน์ได้ว่าการเสียชีวิตหรือเจ็บป่วยไม่ได้มาจากวัคซีน ก็จะไม่มีการเรียกเงินคืนแต่อย่างใด

 

 

 

สปสช.จ่ายเฉพาะ ‘วัคซีนฟรี’ เท่านั้น


1.ประชาชนที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 ของรัฐ หรือวัคซีนที่โรงพยาบาลเอกชนจัดหามาให้บริการโดยไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย หากเกิดความเสียหายขึ้น ประชาชนสามารถยื่นคำร้องให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ 

 


2.วัคซีนโควิด-19 ทางเลือกที่ทางโรงพยาบาลเอกชนเป็นผู้จัดหา และมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้รับบริการนั้น หากเกิดความเสียหายขึ้นจะไม่ครอบคลุมตามเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นของ สปสช. ดังนั้นผู้รับบริการต้องไปเรียกร้องกับทางโรงพยาบาลเอกชนแทน

 

 

3.กรณีของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เมื่อพิจารณาจากประกาศราชวิทยาลัยฯ ที่ต้องการให้ประชาชนฉีดวัคซีนโควิด-19 ฟรีโดยไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายจากประชาชนนั้น หน่วยงานหรือองค์กรใดที่จัดซื้อวัคซีนโควิด-19 จากราชวิทยาลัยฯ ก็จะต้องฉีดให้กับผู้รับบริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หากผู้รับบริการเกิดปัญหาจากการได้รับวัคซีนโควิด-19 นั่นหมายความว่าจะได้รับเงินช่วยเหลือจากทาง สปสช. ตามเกณฑ์ แต่ถ้ามีหน่วยงานใดซื้อวัคซีน ซิโนฟาร์มจากราชวิทยาลัยฯ แล้วไปเรียกเก็บค่าใช้บริการ – ค่าใช้จ่ายจากประชาชน ตรงนี้ทาง สปสช. ก็จะไม่เกี่ยวข้อง

 

 


“สปสช. ยึดหลักว่าประชาชนที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ไม่ควรต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น แต่ถ้าประชาชนต้องเสียค่าใช้จ่ายเมื่อไหร่ หน่วยงาน องค์กร หรือสถานพยาบาลที่ผู้รับบริการไปฉีดวัคซีนโควิด-19 ต้องรับผิดชอบ”

 

 


อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนที่ขอเงินช่วยเหลือได้


1.เสียชีวิต หรือทุพพลภาพอย่างถาวร

 


2.เจ็บป่วยเรื้อรังตลอดชีวิต มีผลรุนแรงต่อการดำรงชีวิต

 


3.สูญเสียอวัยวะหรือพิการ มีผลต่อการดำเนินชีวิต

 


4.บาดเจ็บ หรือ เจ็บป่วยต่อเนื่องจากการได้รับวัคซีน

 

 

 

ใครสามารถยื่นคำร้องขอเงินช่วยเหลือได้บ้าง


1.ผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหาย หรือทายาท

 


2.กรณีไม่มีทายาท ผู้อุปการะที่ให้ความช่วยเหลือ เกื้อกูล หรือดูแลผู้รับบริการอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานพอสมควร หรือหน่วยบริการที่ให้บริการสามารถยื่นคำร้องแทนได้

 

 


หลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือ “อาการไม่พึงประสงค์หรือแพ้วัคซีนโควิด”

 


1.กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรจะได้รับการช่วยเหลือไม่เกิน 400,000 บาท 

 


2.กรณีสูญเสียอวัยวะหรือพิการช่วยเหลือไม่เกิน 240,000 บาท 

 


3.กรณีเกิดภาวะเจ็บป่วยที่ต้องรับการรักษาไม่เกิน 1 แสนบาท

 

 

 

สถานที่ยื่นคำร้องกรณี “อาการไม่พึงประสงค์หรือแพ้วัคซีนโควิด”


1.โรงพยาบาลที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 

 


2.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) 

 


3.สำนักงาน สปสช.สาขาเขตพื้นที่ทั้ง 13 เขต 

 

 


ระยะเวลายื่นคำร้อง


สามารถยื่นคำร้องได้ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ทราบความเสียหาย 

 

 


เอกสารและหลักฐานประกอบการยื่นคำร้อง


1.สำเนาบัตรประชาชน

 


2.สำเนาใบมรณบัตรของผู้รับบริการ กรณีที่เสียชีวิต

 


3.ความเห็นแพทย์ผู้ให้การรักษาและการหยุดพักงาน

 


4.สำเนาเอกสารผลการสอบสวนโรคของกระทรวงสาธารณสุข (ถ้ามี)

 

 

 


แบบคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีน


https://www.nhso.go.th/storage/files/841/001/nhso_VaccinCovid19.pdf

 

 

 

กระบวนพิจารณาเอกสารยื่นคำร้อง “เงินช่วยเหลือ”


1.ยื่นคำร้อง

 


2.คณะอนุกรรมการฯ ภายใต้ สปสช. พิจารณาคำร้อง

 


3.ลงมติว่าเห็นชอบที่จะจ่ายเงินช่วยเหลือหรือไม่จำนวนเท่าใด

 


4.ในกรณีที่จ่าย สปสช.จะโอนเงินเข้าบัญชีภายใน 5 วัน หลังจากที่คณะอนุกรรมการฯ มีมติ

 

 


สอบถามเพิ่มเติม สายด่วน สปสช. โทร. 1330

 

 

 

 

 

 

ข้อมูลจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง