นาซาพบ “หลุมดำ” ในกาแลกซีไกลโพ้น ดูดดาวเคราะห์ร้ายแตกเป็นเสี่ยง
ภาพประกอบข่าว
วันนี้ ( 8 ก.ย. 66 )การสำรวจของยาน Neil Gehrel Swift Observatoty ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ นาซ่า ซึ่งปล่อยเมื่อปี 2004 ทำให้บรรดานักวิทยาศาสตร์ พบหลุมดำในกาแลกซีอันไกลโพ้น ที่กำลังกลืนกินดาวคล้ายดวงอาทิตย์ การค้นพบครั้งนี้ เป็นการประกาศยุคใหม่ของ Swift ที่ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอ็กซ์เรย์ เทเลสโครบ ( XRT )
ฟิล อีแวนส์ นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์แห่งมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ในสหราชอาณาจักร บอกว่า ฮาร์ดแวร์ , ซอฟต์แวร์ของ Swift บวกกับทักษะของทีมวิจัยนานาชาติ สามารถดัดแปลงให้เข้ากับดาราศาสตร์ฟิสิกส์ นอกจากนี้ นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ ยังเรียกการศึกษาเกี่ยวกับดาวเคราะห์ร้ายและหลุมดำที่หิวกระหายว่า SwiftJ023017.0+283603 และตีพิมพ์ลงในวารสาร เนเจอร์ แอสโทรโน เมื่อวันที่ 7 กันยายน
เมื่อมีดาวพลัดหลงเข้าไปใกล้ชิดหลุมดำสัตว์ประหลาด แรงดึงดูดมหาศาลสร้างคลื่นที่รุนแรงมากทำลายดวงดาว จากนั้นดูดกลืนดาวเคราะห์ร้ายเข้าไปในหลุมดำ นักดาราศาสตร์ให้ความสนใจในกระบวนการทำลายดาวของหลุมดำ เพราะทุกครั้งที่มีดาวโคจรเคลื่อนตัวผ่านใกล้หลุมดำ ดาวจะโป่งพองอย่างมองเห็นได้ชัด แต่ดาวเหล่านี้ จะรอดพ้นเงื้อมมือของหลุมดำ ยกเว้นดาวที่สูญเสียก๊าซเป็นจำนวนมาก และในที่สุดดาวจะแตกออกเป็นเสี่ยงๆ
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ปี 2022 เอ็กซ์เรย์ เทเลสโครบ ( XRT ) พบ Swift J0230 เป็นครั้งแรก ในกาแลกซีที่ห่างจากโลกราว 500 ล้านปีแสงในกลุ่มดาวสามเหลี่ยมเดิมที Swift ถูกออกแบบมาให้ศึกษาการระเบิดของรังสีแกมมา และติดตามแสงระยิบระยับในรังสีเอกซ์และแสงยูวีที่มองเห็นได้ ก่อนค้นพบ Swift J0230
ภาพจาก : AFP