รีเซต

ความเป็นมาของ 'วันไข้เลือดออกอาเซียน' ( ASEAN Dengue Day) 15 มิถุนายน 2564

ความเป็นมาของ 'วันไข้เลือดออกอาเซียน' ( ASEAN Dengue Day) 15 มิถุนายน 2564
TrueID
14 มิถุนายน 2564 ( 21:06 )
563
ความเป็นมาของ 'วันไข้เลือดออกอาเซียน' ( ASEAN Dengue Day) 15 มิถุนายน 2564

   ปัญหาของโรคไข้เลือดออกไม่ได้มีเฉพาะประเทศไทย ประเทศในภูมิภาคเขตร้อนชื้น เช่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็มีปัญหาเช่นกัน ดังนั้น ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บูรไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา 

 

   จึงมีมติร่วมกันกำหนดให้ทุกวันที่ 15 มิถุนายน ของทุกปี เป็น “วันไข้เลือดออกอาเซียน” ( ASEAN Dengue Day) เพื่อร่วมมือรณรงค์ไปด้วยกัน ในปี 2556 กำหนดประเด็นหลักในการรณรงค์ว่า “อาเซียนร่วมใจปลอดภัยไข้เลือดออก” (ASEAN Unity for Dengue-Free Community) เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีพฤติกรรมพึงประสงค์ คือ การเก็บ มุ่งเน้นวิธีการป้องกันด้วยวิธีทางกายภาพที่ทำได้ด้วยตนเองโดยการดูแลสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และการกำจัดลูกน้ำยุงลายในภาชนะทุกสัปดาห์เพื่อตัดวงจรการเกิดยุงลาย 

 

   โรคไข้เลือดออก ถือว่าเป็นปัญหาสาธารณสุข ในกลุ่มประเทศอาเซียน แต่ละปีพบผู้ป่วยไม่ต่ำกว่าปีละ 200,000 ราย จากผลสำรวจครึ่งปีแรก มีรายงานผู้ป่วยใน 7 ประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว มาเลเชีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม รวม 69,213 ราย เสียชีวิต 57 ราย และด้วยสภาพภูมิประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น เหมาะสำหรับการแพร่พันธุ์ยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก ดังนั้น ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ จึงได้มีมติร่วมกัน กำหนดให้วันที่ 15 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันไข้เลือดออกอาเซียน 

 

 
   สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในกลุ่มประเทศอาเซียน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 13 มิถุนายน 2555  พบว่า ประเทศที่มีรายงานผู้ป่วยมากที่สุด คือ ฟิลิปปินส์ พบผู้ป่วย 28,163 ราย รองลงมาคือประเทศไทย พบผู้ป่วย 14,045 ราย เสียชีวิต 9 ราย มาเลเชีย พบผู้ป่วย 10,352 ราย เสียชีวิต 20 ราย เวียดนาม พบผู้ป่วย 10,296  ราย เสียชีวิต 7 ราย กัมพูชา พบผู้ป่วย 4,050  ราย เสียชีวิต 18 ราย สิงคโปร์ พบผู้ป่วย 1,529 ราย  และ ลาว พบผู้ป่วย 778 ราย เสียชีวิต 3 ราย ส่วนใหญ่เกิดในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี 

 


   กรมควบคุมโรค ได้รับการแจ้งเตือนจากองค์การอนามัยโลก ว่าปี 2556 สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในกลุ่มประเทศอาเซียน น่าเป็นห่วงที่สุดในโลกพอๆ กับภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก ดังนั้นทุกประเทศในอาเซียนจึงร่วมจัดงานวันไข้เลือดออกอาเซียน

 

    ประชาชนชาวไทยและอาเซียนที่ถูกโรคไข้เลือดออกคุกคามอย่างหนัก  โดยเฉพาะช่วง 3 เดือนนี้ (มิถุนายน – สิงหาคม)   ซึ่งเป็นฤดูกาลระบาดของโรคดังกล่าว ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยและประเทศในอาเซียนเท่านั้น  ที่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกมากขึ้นประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ก็มีผู้ป่วยโรคนี้เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน  โดยอาจมีสาเหตุอันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน ทำให้ยุงพาหะของโรคไข้เลือดออกสามารถแพร่พันธุ์ได้มากขึ้น  

 

   ในที่ที่มีอุณหภูมิอุ่นขึ้น องค์การอนามัยโลกจึงได้เตือนประชากรโลก ให้ทราบว่า ขณะนี้ 40 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก  เสี่ยงต่อการป่วยจากโรคไข้เลือดออกก่อนปี  2513 (ค.ศ.1970) มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกเพียง 9 ประเทศ ขณะนี้มีการระบาดมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก  ในภูมิภาคแอฟริกา อเมริกา เมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้  แปซิฟิกตะวันตก  โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิกตะวันตกมีสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกน่าเป็นห่วงมาก  ส่วนประเทศไทยปีนี้สถานการณ์การระบาดของโรคเป็น 3 เท่าของปีที่ผ่านมา  

 

   การจัดงาน “วันไข้เลือดออกอาเซียน”  (ASEAN Dengue Day) เนื่องมาจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทุกประเทศ มีปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน  ดังนั้นในการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนครั้งที่  22 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2553 (ค.ศ.2010)  ณ ประเทศสิงคโปร์  ได้มีข้อตกลงร่วมกัน  ให้วันที่ 15 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันไข้เลือดออกอาเซียน 

 

   ประชาชนสามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยตนเองโดยการปฏิบัติ   5 ป+1ข  ได้แก่  1.ป.ปิด ปิดภาชนะขังน้ำให้มิดชิด ป้องกันยุงลายลงไปวางไข่  2.ป.เปลี่ยน เปลี่ยนน้ำในแจกัน ถังเก็บน้ำทุก 7 วัน  เพื่อตัดวงจรลูกน้ำที่จะกลายเป็นยุง  3.ป.ปล่อย ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะใส่น้ำถาวร  เช่น ปลาหางนกยูง ปลากัด ปลากระดี่  4.ป.ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ปลอดโปร่ง โล่งสะอาด ลมพัดผ่าน ไม่เป็นที่เกาะพักของยุงลาย 5.ป.ปฏิบัติ  ปฏิบัติเป็นประจำจนเป็นนิสัย 1ข.ขัดไข่ยุงลาย 

 

 

 

 

 

ข้อมูล: healthserv , กรมควบคุมโรค

ภาพโดย Oberholster Venita จาก Pixabay 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง