รีเซต

Into the past : เปิด อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อย่างเป็นทางการ , คลารา บาร์ตัน ก่อตั้งสภากาชาดอเมริกัน (21พ.ค.)

Into the past : เปิด อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อย่างเป็นทางการ , คลารา บาร์ตัน ก่อตั้งสภากาชาดอเมริกัน (21พ.ค.)
TrueID
21 พฤษภาคม 2564 ( 07:20 )
97

Into the past : วันนี้ trueID News จะพาย้อนไปในอดีตของวันนี้ กับเหตุการณ์ที่สำคัญ เรื่องราวสาระน่ารู้ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ จะเป็นอย่างไรไปติดตามกัน

 

Into the past : ประเทศไทย



พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานเปิด อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อย่างเป็นทางการ

 

CC BY-SA 4.0

 

เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ปี พ.ศ. 2531 ได้มีพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธาน มีงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งซึ่งเป็นงานใหญ่ประจำปี ในวันที่ 2 - 4 เมษายน

 

=====

 

Into the past : รอบโลก

 

พ.ศ. 2424 (ค.ศ. 1881) - คลารา บาร์ตัน ก่อตั้งสภากาชาดอเมริกัน

 

สาธารณสมบัติ

 

ลาริสสา ฮาร์โลว์ บาร์ตัน หรือ คลารา บาร์ตัน เป็นนักบุกเบิก พยาบาล ครู และนักมนุษยธรรมนิยมชาวอเมริกัน

คลารา บาร์ตันได้รับฉายาว่า "จอมทรหด" เป็นผู้ก่อตั้งสภากาชาดอเมริกัน เกิดที่เมืองออกซ์ฟอร์ด รัฐแมสสาชูเสทท์ เริ่มงานเป็นครูระหว่าง พ.ศ. 2379-2397 ตั้งแต่ยังมีอายุเพียง 17 ปีและในระหว่างสงครามกลางเมือง (พ.ศ. 2404-2408) คลารา บาร์ตันได้ช่วยจัดส่งเวชภัณฑ์และปลอบขวัญทหารที่ได้รับการบาดเจ็บในสงคราม และในระหว่างสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย (Franco-Prussian War พ.ศ. 2413-14) ในยุโรป คลารา บาร์ตันได้เข้าร่วมงานกับสภากาชาดสากลและต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2424 ได้จัดตั้งสาขาของสภากาชาดสากลขึ้นในสหรัฐฯ ดำรงตำแหน่งนายิกาสภากาชาดแห่งสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2424-2447) นอกจากนี้ ด้วยการรณรงค์ของเธอ เป็นผลให้สหรัฐฯ ตกลงลงนามในอนุสัญญาเจนีวาเมื่อ พ.ศ. 2425 ปัจจุบันสภากาชาดอเมริกันเป็นองค์กรมนุษยธรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง

 

==========

 

รวมสิทธิส่งเสริมคุณภาพชีวิต เกาะติดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทันเรื่องราวกระแสสังคม

สัมผัสประสบการณ์ข่าวได้ที่ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี (ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!)

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

ข้อมูล : wikipedia , history , on this day , bbc

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง