นอนกรน ทำร้ายแบคทีเรียในลำไส้

เพจ Tensia ให้ความรู้เรื่องสุขภาพพูดถึง อันตรายของการนอนกรน ไม่จบแค่เสียงเท่านั้น แต่ยังเปลี่ยนแบคทีเรียในลำไส้ด้วย โดยระบุว่า
ปัญหาของนอนกรนคือ ช่วงที่กรนจะเป็นช่วงที่ทางเดินหายใจตีบมาก จนกระทั่งหยุดหายใจไปพักนึง ก่อนจะกลับมาอีกครั้ง วนไปทั้งคืน ทำให้อวัยวะต่างๆ สัมผัสกับภาวะขาดออกซิเจนเป็นพักๆ ตลอด (Cyclic hypoxia) รวมถึงลำไส้ และสิ่งที่อยู่ในโพรงลำไส้ด้วย
นั่นคือเหล่าน้องๆ แบคทีเรีย
ปกติแล้วแบคทีเรียในลำไส้จะมีสองกลุ่ม
1. กลุ่มดี (Bacteroidetes)
แบคทีเรียกลุ่มนี้ สร้างกรดไขมันสายสั้น, สร้างสารกลุ่ม tryptophan ดูแลผนังลำไส้และลดการอักเสบ
2. กลุ่มร้าย (Firmicutes)
แบคทีเรียตัวร้ายสร้าง LPS, TMAO ซึ่งกระตุ้นการอักเสบอ่อนๆ ทั้งร่างกาย
ผลจากการที่สัมผัสช่วงออกซิเจนตลอดการนอน จะเหนี่ยวนำให้กลุ่มร้าย เติบโตมากขึ้น เหตุผลเพราะว่ากลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน ทำให้เข้าทางเลย ออกซิเจนต่ำเลยไปลดตัวดีๆ ลงนั่นเอง
ผลนี้จะสะสมไปเรื่อยๆ หลายปีผ่านไป แบคทีเรียในไส้เรา เปลี่ยนกลุ่มหมดแล้ว
กลุ่มร้ายเริ่มครองพื้นที่หลัก แล้วผลิตสารก่ออักเสบเข้าสู่ร่างกายตลอด
สภาพที่อักเสบอ่อนๆ ตลอดเวลา (Chronic low-grade inflammation) จะเหนี่ยวนำให้เกิดโรคเรื้อรังมากมาย เช่น ดื้ออินซูลิน/เบาหวาน, ความดันสูงม ไขมันแทรกผนังหลอดเลือด, โรคหัวใจ/สมองขาดเลือด
ที่สำคัญคือคนที่นอนกรน บางคนมีภาวะอ้วนร่วมด้วย ซึ่งยิ่งเสริมการอักเสบให้รุนแรงขึ้น
ดังนั้น อย่าลืมสังเกตตัวเอง ทำได้เอง ดังนี้
- นอนครบ ชม. ดี แต่รู้สึกมึน ไม่สดชื่น เหมือนนอนไม่พอ
- ตื่นกลางดึกบ่อย บางทีก็ตื่นมาปัสสาวะบ่อยขึ้น (>2ครั้งขึ้นไป)
- นอนหลับๆ ตื่นๆ แบบไม่ทราบสาเหตุ
- เอาชัวร์สุดในแอปมือถือเลย ไม่ก็บันทึกเสียงตอนนอนไปเลย
ถ้ามีอาการเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์