รีเซต

เปิดข้อมูล โครงการ"รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย" ลงทะเบียนผ่าน"ทางรัฐ" เริ่มสิงหาคม 2568

เปิดข้อมูล โครงการ"รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย" ลงทะเบียนผ่าน"ทางรัฐ" เริ่มสิงหาคม 2568
TNN ช่อง16
12 กรกฎาคม 2568 ( 08:00 )
12

โครงการ "รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย"


รัฐบาลประกาศเดินหน้าโครงการ "รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย" ครอบคลุม 8 สายทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล เริ่มลงทะเบียนเดือน สิงหาคม 2568 และจะเริ่มใช้จริง 1 ตุลาคม 2568  ทั้งนี้ประชาชนที่ต้องการใช้สิทธิ์จะต้องลงทะเบียนผ่าน “ทางรัฐ” ภายในเดือนสิงหาคมนี้ และชำระค่าโดยสารผ่านบัตร EMV Contactless หรือ Rabbit Card เท่านั้น (ในอนาคตอาจจะรองรับระบบ QR Code) โดยรัฐบาลได้ตั้งงบชดเชย 5,512 ล้านบาท หวังช่วยลดภาระค่าครองชีพและกระตุ้นการใช้ขนส่งสาธารณะ 


เช็กรายละเอียดที่นี่ "ลงทะเบียนรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย"

เงื่อนไข :

- เป็นคนไทย มีเลขประจำตัวประชาชนไทย 13 หลัก

- ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ”  พร้อมยืนยันตัวตน 


ขั้นตอน :

- เริ่มเปิดลงทะเบียนเดือน สิงหาคม 2568

- กรอกหมายเลขบัตรประชาชน

- กรอกข้อมูลบัตรที่จะใช้ชำระค่าโดยสาร (เช่น บัตรเครดิต/เดบิต Rabbit Card) 

- บัตรที่ได้รับการยืนยันการลงทะเบียนจะได้สิทธิโดยอัตโนมัติ

- เริ่มใช้สิทธิ์วันที่ 1 ตุลาคม 2568

- ผู้โดยสารไม่มีบัตรที่รองรับหรือลงทะเบียนไม่ทันตามกำหนด จะต้องชำระค่าโดยสารในอัตราปกติ

- ในอนาคตจะมีการเปิดระบบสแกน QR Code ในมือถือแทนการใช้บัตร


ระยะเวลา : กรอบระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2569 



สายรถไฟฟ้าที่รองรับ  : บัตร Rabbit Card 

สายสีเขียว

สายสีทอง

สายที่ชมพู

สายสีเหลือง


สายรถไฟฟ้าที่รองรับ : บัตรเครดิต/เดบิต 

 Mastercard Visa Europay (EMV)

สายสีน้ำเงิน

สายสีม่วง

สายสีชมพู

สายสีแดง

สายแอร์พอร์ตลิงค์

สายสีเหลือง


รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย คือ สายไหนบ้าง ? 

เส้นทางรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล จำนวน 13 เส้นทาง ระยะทางรวม 279.84 กิโลเมตร 194 สถานี เริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2568


รถไฟฟ้าสายสีเขียว (สุขุมวิท)

เส้นทางหมอชิต – สมุทรปราการ ระยะทาง 37.10 ก.ม. จำนวน 31 สถานี

เส้นทางหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต ระยะทาง 18.70 ก.ม. จำนวน 16 สถานี


รถไฟฟ้าสายสีเขียว (สีลม)

เส้นทางสนามกีฬาแห่งชาติ – บางหว้า ระยะทาง 14 ก.ม. จำนวน 13 สถานี


รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

เส้นทางบางซื่อ – หัวลำโพง ระยะทาง 20 ก.ม. จำนวน 18 สถานี

เส้นทางหัวลำโพง – บางแค (หลักสอง) ระยะทาง 14 ก.ม. จำนวน 11 สถานี

เส้นทางบางซื่อ – ท่าพระ ระยะทาง 13 ก.ม. จำนวน 9 สถานี


รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม

เส้นทาง กรุงเทพอภิวัฒน์ – รังสิต ระยะทาง 26.30 ก.ม. จำนวน 10 สถานี


รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน

เส้นทาง กรุงเทพอภิวัฒน์ –ตลิ่งชัน ระยะทาง 15.26 ก.ม. จำนวน 5 สถานี


รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์

เส้นทางพญาไท – สุวรรณภูมิ ระยะทาง 28.70 ก.ม. จำนวน 8 สถานี


รถไฟฟ้าสายสีม่วง

เส้นทางบางใหญ่ – เตาปูน ระยะทาง 23 ก.ม. จำนวน 16 สถานี


รถไฟฟ้าสายสีเหลือง

เส้นทางลาดพร้าว – สำโรง ระยะทาง 30.40 ก.ม. จำนวน 30 สถานี


รถไฟฟ้าสายสีชมพู

เส้นทางแคราย – มีนบุรี ระยะทาง 34.50 ก.ม. จำนวน 30 สถานี


รถไฟฟ้าสายสีทอง

เส้นทางกรุงธนบุรี – คลองสาน ระยะทาง 1.88 ก.ม. จำนวน 3 สถานี


*ทั้งนี้อ้างอิงจาก ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี  วันที่ 8 กรกฏาคม 2568 มีมติเห็นชอบ มาตรการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย มีกรอบระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2569 หรือตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นการขยายมาตรการจากปัจจุบันที่ใช้ได้กับรถไฟฟ้า 2 สาย คือสายสีแดงและสีม่วง คาดใช้งบชดเชยส่วนต่างรายได้ รวม 5,512 ล้านบาท 


*อย่างไรก็ตามแม้ ครม.จะเห็นชอบแล้ว แต่มาตรการนี้ยัง ต้องรอกฎหมาย 3 ฉบับผ่านสภา ได้แก่

พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย – เพื่อให้ รฟม. นำเงินสะสมเข้า “กองทุนตั๋วร่วม”

พ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม – ตั้งกองทุนตั๋วร่วมแบบยั่งยืน

พ.ร.บ.การขนส่งทางราง – ให้กรมการขนส่งทางรางควบคุมมาตรฐาน-ความปลอดภัย


หากกฎหมายทั้ง 3 ฉบับ ไม่ผ่านภายในปลายเดือน กรกฎาคม 2568 โครงการอาจดำเนินการได้แค่ 5 สาย คือ

สายสีแดง (ใช้งบชดเชยโดยตรง)

สายสีม่วง, สีน้ำเงิน, สีชมพู, สีเหลือง (ใช้เงินสะสม รฟม.)

ส่วน สีเขียว, สีทอง และ ARL อาจยังไม่สามารถดำเนินการได้

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง