รีเซต

เลือกตั้งผู้ว่า 2565 : ไม่เลือกตั้ง เสียสิทธิ อะไรบ้าง? สิ่งที่ต้องรู้หากไม่ไปเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.-ส.ก. ในวันที่ 22 พฤษภาคม

เลือกตั้งผู้ว่า 2565 : ไม่เลือกตั้ง เสียสิทธิ อะไรบ้าง? สิ่งที่ต้องรู้หากไม่ไปเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.-ส.ก. ในวันที่ 22 พฤษภาคม
Ingonn
22 พฤษภาคม 2565 ( 07:39 )
2.4K
เลือกตั้งผู้ว่า 2565 : ไม่เลือกตั้ง เสียสิทธิ อะไรบ้าง? สิ่งที่ต้องรู้หากไม่ไปเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.-ส.ก. ในวันที่ 22 พฤษภาคม

หลายคนอาจกำลังสงสัยว่า "ไม่ไปเลือกตั้งได้ไหม" หรือ "ไม่เลือกตั้งผิดกฎหมายไหม" หรือ "ไม่เลือกตั้ง เสียสิทธิ อะไรบ้าง" ซึ่งในวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565 เป็นวันเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) และ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ที่ประชาชนต้องออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 2565 หากเพิกเฉยในการออกเสียงเลือกตั้ง จะถูกจำกัดสิทธิทางการเมืองถึง 2 ปี แต่มีเหตุจำเป็นให้แจ้งสิทธิไม่ไปเลือกตั้ง

 

หากไม่ไปเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ในวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 8 โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็น จะถูกจำกัดสิทธิทางการเมืองถึง 2 ปี แต่หากมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ให้ไปแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ แต่ต้องเป็นเหตุจำเป็นอันสมควรเท่านั้น เพราะหากแจ้งเหตุแล้วแต่เหตุนั้นไม่เป็นอันสมควรก็จะถูกจำกัดสิทธิได้เช่นกัน

 

 

ไม่ไปเลือกตั้งได้ไหม? เช็ก ไม่เลือกตั้ง เสียสิทธิ อะไรบ้าง? 

  1. ไม่สามารถสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา

  2. ไม่สามารถสมัครรับเลือกตั้งเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฏหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่

  3. ไม่สามารถเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามกฎหมาย ว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

  4. ไม่สามารถดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองตามกฏหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการรัฐสภา

  5. ไม่สามารถดำรงตำแหน่ง รองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการ ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษา ผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือ คณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ตามกฎหมาย ว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรัฐสภา

  6. ไม่สามารถดำรงตำแหน่งเลขานุการประธานสภาท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาท้องถิ่นและ เลขานุการรองประธานสภาท้องถิ่น ตามด้วยกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

 

 

 

 

 

 

ข้อมูล กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์

 

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง