เกาะติดสถานการณ์ 'รัสเซีย-ยูเครน' (2 มิ.ย. 2565)

ข่าววันนี้ สถานการณ์วิกฤต "รัสเซียยูเครน" ล่าสุด The Moscow Times รายงานอ้างกระทรวงต่างประเทศรัสเซียออกแถลงการณ์ของ ‘เซอร์เก ลาฟรอฟ’ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียที่ให้สัมภาษณ์กับ TF1 สื่อฝรั่งเศส ซึ่งถามถึงกระแสข่าวที่ว่าผู้นำรัสเซียกำลังป่วยจริงหรือไม่ อ่าน : เกาะติดสถานการณ์ 'รัสเซีย-ยูเครน' (30 พ.ค.2565)
เกาะติดสถานการณ์ 'รัสเซีย-ยูเครน' (31 พ.ค.2565)
ผู้นำรัสเซียต้องการความช่วยเหลือจากจีนและอินเดีย หลังยุโรปคว่ำบาตรน้ำมันของรัสเซีย
ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย อาจต้องการความช่วยเหลือจากจีนและอินเดีย เนื่องจากสหภาพยุโรป หรือ EU คว่ำบาตรและห้ามนำเข้าน้ำมันของรัสเซีย
โดยบรรดาผู้นำ EU เห็นพ้องกันที่จะคว่ำบาตรน้ำมันดิบบางส่วนจากรัสเซีย ซึ่งอาจสร้างความเสียหายให้แก่ปูติน โดยทำให้รัสเซียสูญเสียรายได้จากการส่งออกน้ำมันปีละ 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 343,300 ล้านบาท ดังนั้นรัสเซียจึงจำเป็นต้องหาตลาดใหม่แทนยุโรป เพื่อส่งออกน้ำมันดิบอูราล ซึ่งเป็นน้ำมันที่ได้รับความนิยมในยุโรป
แต่ผู้ซื้อในเอเชียมีอย่างจำกัด เพราะเกรดน้ำมันรัสเซียไม่สามารถกลั่นได้อย่างง่าย ๆ ในหลายประเทศ เช่น ศรีลังกาและอินโดนีเซียไม่มีความชำนาญ จึงไม่สามารถจัดการกับน้ำมันที่กรดซัลฟูริกสูง อีกทั้งผู้ที่สามารถกลั่นน้ำมันชนิดที่ยุโรปนำเข้าได้นั้น มีเพียงไม่กี่รายในเอเชีย
โดยจีนและอินเดียมีโรงกลั่นน้ำมันที่สามารถแปรรูปน้ำมันอูราล ขณะที่ นครเซี่ยงไฮ้ยุติการล็อกดาวน์จากโควิดแล้ว ดังนั้นโรงกลั่นน้ำมันของภาคเอกชนและรัฐบาลในจีน อาจซื้อน้ำมันจากรัสเซียเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม จีนและอินเดียน่าจะซื้อน้ำมันจากรัสเซียได้จำกัด เพราะที่ผ่านมา สองประเทศซื้อน้ำมันรัสเซียในจำนวนที่มากอยู่แล้ว
กองกำลังนิวเคลียร์ของรัสเซียจัดการซ้อมรบครั้งใหญ่ ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน
สำนักข่าว Interfax รายงานอ้างถ้อยแถลงของกระทรวงกลาโหมรัสเซียที่ระบุเมื่อวานนี้ (1 มิถุนายน) ว่า กองกำลังนิวเคลียร์ ได้ดำเนินการซ้อมรบในเมืองอิวาโนโว ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงมอสโก โดยทหารรัสเซียราว 1,000 นาย เข้าร่วมการซ้อมรบที่เข้มข้น และมีการใช้ยวดยานกว่า 100 คัน รวมถึงยานบรรทุกขีปนาวุธวิถีโค้งข้ามทวีป ”ยาร์ส”
“ยาร์ส” คือขีปนาวุธข้ามทวีปของรัสเซีย ที่ได้รับการปรับปรุงจากเวอร์ชั่น โตโปล-เอ็ม หรือที่รู้จักกันดีในหมู่ประเทศตะวันตก คือ SS-29 โดย “ยาร์ส” ได้รับการพัฒนาให้สามารถเคลื่อนย้ายบนถนน โดยเป็นระบบที่ยิงจากฐานใต้ดิน ได้รับการทดสอบครั้งแรกเมื่อปี 2007 และเข้าสู่กองกำลังขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ของรัสเซียเมื่อปี 2010 จากนั้นปี 2016 กองกำลังดังกล่าวได้ประจำการขีปนาวุธ ”ยาร์ส” แบบเคลื่อนที่ 63 ลูก และอีก 10 ลูกยิงจากฐานใต้ดิน
ทั้งนี้ “ยาร์ส” เป็นขีปนาวุธที่ใช้เชื้อเพลิงแข็ง คล้ายคลึงกับขีปนาวุธโตโปล-เอ็ม รุ่นเก่า และมีพิสัยระยะไกลถึง 12,000 กิโลเมตร ข้อแตกต่างหลักจากขีปนาวุธรุ่นก่อนคือ ยาร์ส เป็นขีปนาวุธที่สามารถกลับสู่ชั้นบรรยากาศแบบแยกเป้าโจมตีได้หลายหัวรบ และยังติดหัวรบนิวเคลียร์ได้ไม่ต่ำกว่า 6 หัวรบ
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
กดเลย >> community แห่งความบันเทิง
ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี